แนวทางการจัดการปัญหาการพนันในบุญงานศพโดยผู้สูงอายุและชุมชน พื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • อานนท์ ตั้งพิทักษ์ไกร มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
  • สุรศักดิ์ จันทา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

แนวทางการจัดการปัญหา, การพนันในบุญงานศพ, ผู้สูงอายุ, ชุมชน

บทคัดย่อ

                บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทและสภาพปัญหาการเล่นพนัน ในบุญงานศพ และเพื่อเสนอแนวทางการจัดการปัญหาการพนันที่เหมาะสมในบุญงานศพ โดยผู้สูงอายุและชุมชน งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยกำหนดกลุ่มเป้าหมายในการศึกษาแบบเจาะจง ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม การจัดเวทีสนทนากลุ่มย่อย และการประชุมนำเสนอแนวทางการจัดการปัญหาการเล่นพนันในบุญงานศพ และใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาความ และสร้างข้อสรุปผล ผลการวิจัยพบว่า 1) บริบทและสภาพปัญหาการเล่นพนันในบุญงานศพ พื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ เป็นประเพณีนิยมที่ปฏิบัติกันมานาน หากไม่มีการเล่นการพนันในบุญงานศพ จะไม่มีบุคคลมาช่วยงานหรือคนที่มาร่วมงานศพก็จะน้อย ในบางชุมชนบางพื้นที่มีการใช้มาตรการทางกฎหมาย ข้อบังคับ ข้อตกลงที่เป็นกติกาชุมชนเข้ามาช่วยลด การแพร่กระจายของการเล่นการพนันในบุญงานศพ ซึ่งผลที่ได้จากการใช้มาตรการและวิธีการดังกล่าว ช่วยลดปัญหาการเล่นพนันได้ในระยะสั้น 2) แนวทางการจัดการปัญหาการพนันที่เหมาะสมในบุญงานศพของผู้สูงอายุและชุมชน พื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ ได้แก่ การถ่ายทอดองค์ความรู้ ภูมิปัญญา หรือ คติธรรมของผู้สูงอายุ การควบคุมของครอบครัวและชุมชน การสร้างกฎกติกาชุมชนที่ได้ตกลงร่วมกัน การทำข้อตกลงกับหน่วยงาน หรือธรรมนูญหมู่บ้าน การรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ การสร้างเครือข่าย การเฝ้าระวังปัญหาการพนันในท้องถิ่นและมีการปฏิรูปกฎหมายการพนันเพื่อนำสู่การปฏิบัติในท้องถิ่นให้เกิดความชัดเจน

References

กมลรัตน์ ชื่นช้อย. (2561). การขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพตำบลหนองแวง. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 11(2),1-4.

คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2558). ทิศทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

ประไพพิมพ์ สุธีวสินนนท์ และประสพชัย พสุนนท์. (2559). กลยุทธ์การเลือกตัวอย่างสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ. วารสารปาริชาติ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 29(2), 31-48.

รัตนะ ปัญญาภา และคณะ. (2562). รูปแบบการจัดงานศพเชิงสร้างสรรค์ของชาวพุทธในชุมชนชนบทตามทัศนะของผู้นำชุมชนในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 7(2), 287-288.

วิเศษ สุจินพรหม. (2557). พนันพื้นบ้าน : การรุกคืบของธุรกิจการพนันสู่วิถีชุมชน. ใน รายงานการวิจัย. ศูนย์ศึกษาปัญหาพนัน.

สดใส สร่างโศรก และนนท์ พลางวัน. (2555). การศึกษาเรื่องสถานการณ์ พฤติกรรม และผลกระทบการพนันในประเทศไทย กรณีศึกษาการพนันในประเพณีบุญบั้งไฟ. ใน รายงานวิจัย. ศูนย์ศึกษาปัญหาพนัน.

อธิปไตย จาดฮามรด. (2562). บทบาทของผู้สูงอายุในการพัฒนาชุมชน: กรณีศึกษาชุมชนศรีฐาน ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. ใน เอกสารการประชุมสัมมนาวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ วิชาการล้านนาเพื่อการศึกษาและพัฒนายุค 4.0 ครั้งที่ 1. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

อภิชาติ ใจอารีย์. (2559). กระบวนการมีส่วนร่วมแบบพหุภาคีเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการเล่นพนันของเด็กและเยาวชนชุมชนหนองโรง อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี. ใน รายงานวิจัย. ศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน.

อุบล สวัสดิ์ผล และคณะ. (2561). การพนันในมุมมองของเด็กและเยาวชนในพื้นที่ชุมชนท้องถิ่นชายแดนไทย - กัมพูชา กรณีศึกษาบ้านไพรพัฒนา ตำบลไพรพัฒนา อำเภอภูสิงห์. ใน รายงานวิจัย. ศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน.

Durkheim, E. (1951). Suicide: a study in sociology. New York: The Free Press.

Orford, J. (2011). An Unsafe Bet : The Dangerous Rise of Gambling and the Debate We Should be Having. Malden: MA : Wiley-Blackwell.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

04/26/2021

How to Cite

ตั้งพิทักษ์ไกร อ. ., & จันทา ส. . (2021). แนวทางการจัดการปัญหาการพนันในบุญงานศพโดยผู้สูงอายุและชุมชน พื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(4), 13–22. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/view/247082

ฉบับ

บท

บทความวิจัย