ประสิทธิภาพการบริหารความเสี่ยงในการก่อสร้างอาคารสูง จังหวัดชลบุรี
คำสำคัญ:
ประสิทธิภาพ, การบริหารความเสี่ยง, การก่อสร้างอาคารสูงบทคัดย่อ
บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยด้านเศษฐกิจและการเมือง การจัดการด้านข้อกฎหมาย การบริหารจัดการองค์กร การปฏิบัติการโครงการก่อสร้างอาคารสูง และประสิทธิภาพการบริหารจัดการความเสี่ยงของการก่อสร้างอาคารสูง 2) ศึกษาอิทธิพลของปัจจัยด้านเศรษฐกิจและการการเมือง การจัดการด้านกฎหมาย การบริหารจัดการองค์กร การปฏิบัติการโครงการก่อสร้างอาคารสูง และประสิทธิภาพการบริหารความเสี่ยงในการก่อสร้างอาคารสูง และ 3) แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารความเสี่ยงในการก่อสร้างอาคารสูง เป็นงานวิจัยแบบผสานวิธี ได้แก่ เชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารโรงแรมและคอนโดมิเนียมในจังหวัดชลบุรี ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ ใช้เทคนิค LISREL วิเคราะห์สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุดและสูงสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเบ้ และความโด่ง และเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก โดยสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้บริหารจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จำนวน 9 คน โดยนำมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและสรุปเป็นภาพรวม ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับปัจจัยความเสี่ยงของการก่อสร้างอาคารสูง ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจและการเมืองด้านการจัดการด้านกฎหมาย ด้านการบริหารจัดการองค์กร ด้านการปฏิบัติการโครงการก่อสร้าง และด้านประสิทธิภาพการบริหารความเสี่ยงในการก่อสร้างอาคารสูง โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) อิทธิพลของปัจจัยความเสี่ยงในการก่อสร้างอาคารสูงคือ ด้านเศรษฐกิจและการเมืองมีความสัมพันธ์โดยตรงกับการจัดการด้านกฎหมาย 0.72 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิต 0.01 และ 3) แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารความเสี่ยงในการก่อสร้างอาคารสูง รูปแบบมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 ได้ค่าไคว์ - สแควร์ 40.50 ค่าองศาอิสระ 30 ค่าความน่าจะเป็น 0.034
References
เกษตรสันต์ จันทรา และคณะ. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อต้นทุนในการประกอบธุรกิจรับเหมาก่อสร้างประเภทบ้านพักอาศัยในจังหวัดชลบุรี. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ราชมงคลธัญบุรี, 10(2), 63-73.
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2561). การบริหารสินทรัพย์และหนี้สิน. เรียกใช้เมื่อ 25 ธันวาคม 2562 จาก https://www.bot.or.th/Thai/FinancialInstitutions/PruReg_HB/RiskMgt_Manual/Documents/AssetsLiabilityManagement.pdf
บริษัท แอพพลิแคด จำกัด (มหาชน). (2562). วงจรการบริหารโครงการ (Project Management Life Cycle). เรียกใช้เมื่อ 25 ธันวาคม 2562 จาก https://www.applicadthai.com/articles/วงจรโครงการ-project-management-life-cycle
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาการพิมพ์.
บุญศิริ สุวรรณัง. (2559). ปัจจัยความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อโครงการก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขนาดใหญ่ในมุมมองของเจ้าของโครงการ. ใน วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมการจัดการงานก่อสร้างและงานโครงสร้างพื้นฐาน. มหาวิทยาลัยบูรพา.
ภาวิน ชินะโชต และคณะ. (2562). ระบบสารสนเทศในงานด้านทรัพยากรมนุษย์. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร, 10(1), 180-191.
ภูมิชาย พันธุ์ไพโรจน์. (2561). การกลายรูปและการสร้างใหม่ของที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย: กรณีศึกษาโครงการพัฒนาเมืองใหม่บางพลี จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิจัยและสาระสถาปัตยกรรม/ผังเมือง, 15(1), 113-126.
วิไลเลขา วิวัฒน์วานิชกุล และวุฒิพงศ์ เมืองน้อย. (2563). การศึกษาอุปสรรคการบริหารด้านการเงินในโครงการก่อสร้าง. ใน การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ จังหวัดชลบุรี ครั้งที่ 25 วันที่ 15-17 กรกฎาคม 2563. คณะกรรมการสาขาวิศวกรรมโยธา วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์.
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตการพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. (2561). รายงานสรุปผู้บริหารแผนภาพรวมเพื่อการพัฒนาเขตการพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2560-2565. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตการพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก.
อินท์ชลิตา สุวรรณรังสิมา และวิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2560). ความสัมพันธ์ของเครือข่ายในกลุ่มธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง จังหวัดชลบุรี. Veridian E - Journal Silpakorn University, 10(2), 2820-2840.
เอกกมล เอี่ยมศรี. (2556). การบริหารความเสี่ยงโครงการก่อสร้าง. เรียกใช้เมื่อ 26 มกราคม 2563 จาก https://eiamsri.wordpress.com/category/project-risk-management
Builk. (2020). ฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจด้วยระบบบริหารงานก่อสร้างที่มีคุณภาพ. เรียกใช้เมื่อ 27 มกราคม 2563 จาก https://www.builk.com/th/ระบบบริหารงานก่อสร้าง/
Contruction Management. (2019). การบริหารงานก่อสร้าง. เรียกใช้เมื่อ 9 พฤศจิกายน 2562 จาก http://www.elca.ssru.ac.th/savaluk_ch/pluginfile.php/35/mod_folder/content/0/%E0%B8%81%E0%B8%
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York: Harper Collins Publishers.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Trebs. (2020). กฎหมายอสังหาริมทรัพย์. เรียกใช้เมื่อ 19 มกราคม 2563 จาก https://www.trebs.ac.th/th/news_detail.php?nid=111