การศึกษาสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ความเป็นผู้ประกอบการ และปัจจัยกำหนด ที่มีผลต่อความได้เปรียบในการแข่งขัน ของเครือข่ายวิสาหกิจอุตสาหกรรมเซรามิกส์ ลำปาง

ผู้แต่ง

  • มลทิพย์ บำรุงกิจ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
  • นพดล พันธุ์พานิช มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

คำสำคัญ:

สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ, ความเป็นผู้ประกอบการ, นวัตกรรม, เครือข่ายธุรกิจ, ความได้เปรียบในการแข่งขัน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ความเป็นผู้ประกอบการ เครือข่ายธุรกิจ นวัตกรรม และความได้เปรียบในการแข่งขันของเครือข่ายวิสาหกิจอุตสาหกรรมเซรามิกส์ ลำปาง 2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบเชิงสมมติฐานกับข้อมูล เชิงประจักษ์ของปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผลต่อความได้เปรียบในการแข่งขัน ของเครือข่ายวิสาหกิจอุตสาหกรรมเซรามิกส์ ลำปาง โดยระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน เครื่องมือการวิจัยเชิงปริมาณคือ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เจ้าของกิจการหรือตัวแทน หัวหน้างานฝ่ายการผลิต และฝ่ายการตลาด จาก 159 โรงงาน โดยวิธีการจัดชั้นภูมิ กลุ่มละ 159 คน จากนั้นเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง รวมทั้งสิ้น 477 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสมการโครงสร้างด้วยเทคนิค SEM เครื่องมือการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ            แบบสัมภาษณ์มีโครงสร้าง โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 4 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ความเป็นประกอบการ เครือข่ายธุรกิจและนวัตกรรม มีผลต่อความได้เปรียบในการแข่งขัน    โดยปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมทางธุรกิจมีอิทธิพลทางตรงต่อปัจจัยด้านเครือข่ายธุรกิจ และ      มีอิทธิพลร่วมกับปัจจัยด้านนวัตกรรม ส่งผ่านไปยังปัจจัยด้านความได้เปรียบในการแข่งขัน ปัจจัยด้านความเป็นผู้ประกอบการ เครือข่ายธุรกิจ และนวัตกรรมมีอิทธิพลทางตรงต่อความได้เปรียบในการแข่งขันของวิสาหกิจอุตสาหกรรมเซรามิกส์ ลำปาง 2) โมเดลสมการโครงสร้างตามสมมติฐาน มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ดังนั้น รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรโมเดลสมการโครงสร้างตามทฤษฎี มีลักษณะเหมือนกับรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเชิงประจักษ์ ซึ่งสามารถใช้ทฤษฎีอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรในปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจริงของวิสาหกิจอุตสาหกรรมเซรามิกส์ ลำปาง อีกทั้งรูปแบบและค่าพารามิเตอร์ไม่มีความแปรเปลี่ยนเมื่อศึกษากลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกัน

References

ฑัตษภร ศรีสุข. (2558). การศึกษาความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมเครื่องสำอางไทยภายใต้กรอบอาเซียน. ใน ดุษฏีนิพนธ์บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

นพดล พันธุ์พานิช. (2561). กระบวนการเชิงกลยุทธ์ของธุรกิจระบบอัตโนมัติที่อำนวยความสะดวกแก่ผู้สูงอายุของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สำหรับการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมผู้สูงอายุในประเทศไทย. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(3). 170-185.

บุญชนิต วิงวอน. (2560). อิทธิพลเชิงโครงสร้างของสภาพแวดล้อมธุรกิจ ภาวะผู้ประกอบการ และปัจจัยกำหนดที่มีผลต่อการดำเนินงานของธุรกิจครอบครัว ในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย. ใน ดุษฏีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ. มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง.

พนิดา สัตโยภาส. (2560). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างภาวะการประกอบการ ความสามารถทางการตลาด นวัตกรรม และกลยุทธ์ธุรกิจ ที่ส่งผลต่อความได้เปรียบในการแข่งขันของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. ใน ดุษฏีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ. มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง.

มลทิพย์ บำรุงกิจ และคณะ. (2563). การศึกษาบุพปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความได้เปรียบในการแข่งขันของวิสาหกิจอุตสาหกรรมเซรามิกส์ ลำปาง. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง.

ยุทธชัย ฮารีบิน และคณะ. (2559). ความสามารถด้านเครือข่ายและความสามารถเชิงนวัตกรรมของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. วารสารนักบริหาร, 36(2), 79-88.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2560). ประเมินแผนการส่งเสริม SMEs ฉบับที่ 4 (พ.ศ.2560-2564). กรุงเทพมหานคร: สำนักนโยบายและแผน สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม.

อาชวิน ใจแก้ว. (2561). การบูรณาการศักยภาพการผลิตเชิงกลยุทธ์ที่มีผลต่อความได้เปรียบในการแข่งขันของคลัสเตอร์วิสาหกิจกลุ่มล้านนา ในประเทศไทย. ใน ดุษฏีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ. มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง.

Comrey, A. L., & Lee, H. B. (1992). A first Course in Factor Analysis. New Jerser: Erlbaum.

Likert R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. New York: Wiley & Son.

Morris, M. H. & Kuratko, D. F. (2002). Corporate Entrepreneurship. Florida: Harcourt College Publishers.

Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2(2), 49–60.

Zahra, S. A., & Gravis, D. M. (2000). International corporate entrepreneurship and firm performance: The moderating effect of international environmental hostility. Journal of Business Venturing, 15(5), 469-492.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

02/21/2021

How to Cite

บำรุงกิจ ม. ., & พันธุ์พานิช น. . (2021). การศึกษาสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ความเป็นผู้ประกอบการ และปัจจัยกำหนด ที่มีผลต่อความได้เปรียบในการแข่งขัน ของเครือข่ายวิสาหกิจอุตสาหกรรมเซรามิกส์ ลำปาง. วารสารมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(2), 375–393. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/view/247468