การพัฒนาบทบาทของนายอำเภอในทศวรรษหน้า

ผู้แต่ง

  • วัชรเดช เกียรติชานน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

การพัฒนา, บทบาท, นายอำเภอ, ทศวรรษหน้า

บทคัดย่อ

บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบทบาทนายอำเภอตามกรอบกฎหมายที่กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยกำหนดและกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ มอบหมาย       2) เพื่อศึกษาบทบาทนายอำเภอตามที่ประชาชนคาดหวังและบทบาทที่เป็นจริงตามการรับรู้ของนายอำเภอและประชาชน 3) เพื่อสร้างแนวทางการพัฒนาบทบาทนายอำเภอในทศวรรษหน้า ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ กลุ่มผู้แทนองค์กรภาครัฐ กลุ่มผู้แทนผู้นำท้องถิ่น กลุ่มผู้แทนภาคประชาชนและกลุ่มผู้แทนองค์กรเอกชน จำนวน 78 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบวิเคราะห์เนื้อหาเอกสาร แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบจัดประชุมเวทีสาธารณะ แบบสนทนากลุ่ม และแบบสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัย พบว่า 1) บทบาทตามที่กฎหมายกำหนด นายอำเภอต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่     พ.ศ. 2457 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมถึงปัจจุบัน (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2553 ตามกฎหมายในความรับผิดชอบของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย 2) บทบาทนายอำเภอตามที่ประชาชนคาดหวังและบทบาทที่เป็นจริงตามการรับรู้ของนายอำเภอ นายอำเภอของประชาชนต้องปฏิบัติงานด้วยความทุ่มเท    สร้างความเชื่อมั่นเป็นที่ยอมรับของประชาชนในพื้นที่ ได้แก่ งานทางด้านความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม การเมือง งานด้านขนบธรรมเนียมประเพณี เน้นประชาชนเป็นศูนย์กลางในการปฏิบัติงาน 3) แนวทางการพัฒนาบทบาทนายอำเภอ สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางการพัฒนาบทบาทนายอำเภอในทศวรรษหน้า ประกอบด้วย 3.1) บริบทของประเทศด้าน สภาพแวดล้อม พื้นที่ เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว นายอำเภอต้องพัฒนาตนเองให้รู้เท่าทันบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง นำมาซึ่งการบริหารที่มีประสิทธิภาพ 3.2) บูรณาการบทบาทของนายอำเภอ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ฉุกเฉิน       ภัยพิบัติ โรคระบาด โดยกำหนดเป็นกฎหมายให้บทบาทมีความเป็นเอกภาพในการบริหารสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

References

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย . (2560). คู่มือเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติราชการของนายอำเภอ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์อาสารักษาดินแดน.

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย . (2560). แผนยุทธศาสตร์กรมการปกครอง พ.ศ. 2560- 2564. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์อาสารักษาดินแดน.

กองวิชาการและแผนงาน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2560). บทบาทของนายอำเภอกับการบริหารจัดการงานพื้นที่เชิงบูรณาการ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์อาสารักษาดินแดน.

คฑาวุธ วรรณกูล. (2558). การเปลี่ยนแปลงอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอตั้งแต่ พ.ศ. 2457-2557. ใน วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัญฑิต สาขาการเมืองการปกครอง. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ชมพิชา ชาญกล. (2552). บทบาทของนายอำเภอในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. ใน วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ดุษฏี นรศาสวัต และศิริพักตร์ มัฆวาล. (2552). บทบาทที่ปฏิบัติจริงและบทบาทที่คาดหวังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อและภัยสุขภาพ. ใน รายงานการวิจัย. กรมควบคุมโรค.

ผู้ให้ข้อมูลสำคัญท่านหนึ่ง. (2563). การพัฒนาบทบาทของนายอำเภอในทศวรรษหน้า. (วัชรเดช เกียรติชานน, ผู้สัมภาษณ์)

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534. (2534). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 108 ตอนที่ 156 หน้า 1 (4 กันยายน 2534).

สมศักดิ์ จังตระกุล. (2554). การจัดการความขัดแย้งโดยนายอำเภอของประชาชนในประเทศไทย. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและเอกชน. มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

สุริยะ วิริยะสวัสดิ์. (2556). รูปแบบภาวะผู้นำของนายอำเภอกับความสำเร็จในการปฏิบัติงาน. ใน ดุษฏีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อรอนงค์ โรจน์วัฒนบูลย์. (2553). การพัฒนาตัวแบบผู้นำเชิงนวัตกรรม. ใน ดุษฏีนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

02/21/2021

How to Cite

เกียรติชานน ว. . . (2021). การพัฒนาบทบาทของนายอำเภอในทศวรรษหน้า. วารสารมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(2), 441–454. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/view/247474