แนวทางการจัดการการจัดการอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทยสู่การจัดการเทคโนโลยีการผลิตสมัยใหม่

ผู้แต่ง

  • พงษ์พันธุ์ โคตรประทุม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คำสำคัญ:

แบบจำลองสมการโครงสร้าง อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ เทคโนโลยีการผลิตสมัยใหม่

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาระดับความสำคัญของแนวทางการจัดการอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับสู่เทคโนโลยีการผลิตสมัยใหม่ (2) เพื่อพัฒนาแบบจำลองสมการโครงสร้างแนวทางการจัดการอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับสู่เทคโนโลยีการผลิตสมัยใหม่ ดำเนินการวิจัยทั้งเชิงคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 9 ท่าน ที่มาจากผู้บริหารภาครัฐ ภาคเอกชนและนักวิชาการ และสำรวจข้อมูลเชิงปริมาณจากผู้ประกอบการหรือผู้บริหารในธุรกิจอุตสาหกรรม จำนวน 500 รายที่ได้รับรางวัลหรือมาตรฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ

        ผลการวิจัยพบว่า ระดับความสำคัญของของแนวทางการจัดการอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับสู่เทคโนโลยีการผลิตสมัยใหม่มี พบว่า โดยรวมให้ความสำคัญระดับมาก สำหรับผลพิจารณาเป็นรายได้ ได้แก่ ด้านการออกแบผลิตภัณฑ์และพัฒนา ด้านการจัดการเครื่องจักรและอุปกรณ์อัตโนมัติ ด้านการควบคุมคุณภาพและปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและ ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์และพัฒนา ให้ความสำคัญอยู่ในระดับมาก ทั้ง 4 ด้าน

           ผลการวิเคราะห์แบบจำลองสมการโครงสร้างมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (1) ด้านการจัดการเครื่องจักรและอุปกรณ์อัตโนมัติส่งอิทธิพลทางตรงต่อ ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์และพัฒนา, ด้านการควบคุมคุณภาพและปรับปรุงอย่างและด้านการวางแผนการผลิตและควบคุม อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.001 (2) ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์และพัฒนาส่งอิทธิพลทางตรงต่อด้านการควบคุมคุณภาพและปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์และพัฒนาส่งอิทธิพลทางตรงต่อองค์ประกอบด้านการวางแผนการผลิตและควบคุม อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.001 (3) ด้านการวางแผนการผลิตและควบคุมส่งอิทธิพลทางตรงต่อองค์ประกอบด้านการควบคุมคุณภาพและปรับปรุงอย่างต่อเนื่องอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.001

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2563). สถิติการส่งออกสินค้าออกประเทศไทยโดยแบ่งเป็นประเภท ปี พ.ศ.2562. เรียกใช้เมื่อ 3 มกราคม 2563 จาก http://www2.ops3.moc.go.th
กระทรวงอุตสาหกรรม. (2559). แผนแม่บทการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย พ.ศ. 2555-2574. เรียกใช้เมื่อ 9 กรกฎาคม 2561 จาก https://dsp.dip.go.th/th/category/2017-11-28-06-56-01/2017-12-07- 02-27-01
กรมการค้าระหว่างประเทศ. (2562). ข้อมูลสถานการณ์ส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ 2562. เรียกใช้เมื่อ 6 เมษายน 2560 จาก https://ditp.go.th/ditp_web61/article_sub_view.php? filename=contents_attach/542727/542727.pdf&title=542727&cate=791&d=0
จิตลดา หมายมั่น และ สมบัติ ทีฑทรัพย์. (2559). Industry 4.0 อนาคตของอุตสาหกรรมไทย. เรียกใช้เมื่อ 9 ธันวาคม 2562 จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/view/48844/45629
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2563). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. (พิมพ์ครั้งที่ 18)นนทบุรี : เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย. (2563). มองแนวโน้มการค้าอัญมณีและเครื่องประดับ
ผ่านทิศทางเศรษฐกิจปี 2563. เรียกใช้เมื่อ 1 มกราคม 2563 จากhttp://www.thaigemjewelry.or.th/user_file/p1e1qsr6ed1m5u1av15sng7lgtg4.pdf
พิมพ์ธัญญา ฆ้องเสนาะ. (2560). การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไทยเข้าสู่ “ประเทศไทย 4.0”. เรียกใช้เมื่อ 9 ธันวาคม 2561 จาก https://library2.parliament.go.th/ebook/content-issue/2560/hi2560- 035.pdf
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ. (2561). คำแถลงประกอบงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2561. เรียกใช้เมื่อ 18 กรกฎาคม 2562 จาก https://media.thaigov.go.th/uploads/document/ 70/2017/06/doc/budget.doc
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2563). ผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขัน ประจำปี 2562 โดย IMD (2019 IMD World Competitiveness Ranking). เรียกใช้เมื่อ 9 ธันวาคม 2562 จาก https://www.nstda.or.th/th/nstda-knowledge/12907-imd-competitiveness-ranking.
สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2559). ประเทศไทย 4.0. เรียกใช้เมื่อ 25 สิงหาคม 2562 จาก http://planning2.mju. ac.th /goverment/20111119104835_planning/Doc_25590823143652_358135.pdf
Arbuckle, J. L. (2011). IBM SPSS Amos 20 user’s guide. New York: IBM
Comrey, A. L., & Lee, H. B. (1992). Interpretation and Application of Factor Analytic Results. In A. L. Comrey, & H. B. Lee (Eds.), A First Course in Factor Analysis (p. 2). Hillsdale, NJ: Lawrence Eribaum Associates.
Foster, R. (2019). Automation, Production Systems and Computer-Integrated Manufacturing. 1st ed. Larsen & Keller
Groover, M.P. (2018). Automation, Production Systems, and Computer-Integrated Manufacturing. 5th. Pearson.
Singh, M.P & Shiodi, Y.S. (2012). Advanced manufacturing Technologies Used in Manufacturing Industries. International Journal of Advancements in Research & Technology. 1(2),1-2
Rajan, A.J, et al., (2016). Computer Integrate Manufacturing. 1st ed. Air Walk Publications.
Rao, P.N. (2017). CAD/CAM: Principles and Applications. 1st ed. McGraw Hill Education
Saed, A.T. (2012). [Thesis online]. The integration of computer aided design (CAD) and quality function deployment (QFD) in the design and prediction of seat comfort. Ph.D. Dissertation, Department of Electrical & Computer Engineering, Tennessee State University. [cited 18 Sep. 2017]. Available from : URL : https://search.proquest
Uwizeyemungu, S. et al., (2015). Assimilation Patterns in the use of Advanced Manufacturing Technologies in SMEs: Exploring Their Effects on Product Innovation Performance. Journal of Information Systems and Technology Management. 2(12), 217-228.
Wannarumon, S. (2011). Reviews of Computer-Aided Technologies for Jewelry Design and Casting. Naresuan University Engineering Journal, 6(1), 45-56.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

03/25/2021

How to Cite

โคตรประทุม พ. . (2021). แนวทางการจัดการการจัดการอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทยสู่การจัดการเทคโนโลยีการผลิตสมัยใหม่. วารสารมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(3), 194–208. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/view/247481

ฉบับ

บท

บทความวิจัย