รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาตามแนวทางการรวมสถานศึกษา ภาครัฐและเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
คำสำคัญ:
รูปแบบ, การบริหารจัดการสถานศึกษา, สถานศึกษาภาครัฐและเอกชนบทคัดย่อ
บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์องค์ประกอบของการบริหารจัดการสถานศึกษา ตามแนวทางการรวมสถานศึกษาภาครัฐและเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การอาชีวศึกษา 2) สร้างรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษา ตามแนวทางการรวมสถานศึกษาภาครัฐและเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 3) ประเมินรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษา ตามแนวทางการรวมสถานศึกษาภาครัฐและเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เป็นงานวิจัยแบบผสมผสาน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และแบบประเมินรูปแบบ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ 9 คน ผู้บริหารและครูในสถานศึกษาภาครัฐและเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน 548 คน ผู้เชี่ยวชาญ 9 คน และผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาภาครัฐและเอกชน จำนวน 9 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ นำเสนอในรูปแบบการบรรยาย ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบของการบริหารจัดการสถานศึกษา ตามแนวทางการรวมสถานศึกษาภาครัฐและเอกชน ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ คือ โครงสร้างการบริหารจัดการ การวางแผนและกำหนดนโยบาย การบริหารหลักสูตร การบริหารงบประมาณ, การบริหารบุคลากรและวัสดุ, การประสานงานและการมีส่วนร่วม, การประเมิน ตรวจสอบ และรายงานผล 2) รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษา ตามแนวทางการรวมสถานศึกษาภาครัฐและเอกชน ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ส่วนนำ ประกอบด้วย แนวคิดพื้นฐานและวัตถุประสงค์ของรูปแบบ ส่วนที่ 2 เนื้อหา ประกอบด้วย โครงสร้างการบริหารจัดการ การวางแผนและกำหนดนโยบาย การบริหารหลักสูตร การบริหารงบประมาณ การบริหารบุคลากรและวัสดุ การประสานงานและการมีส่วนร่วมการประเมิน ตรวจสอบ และรายงานผล ส่วนที่ 3 เงื่อนไขความสำเร็จ 3) ผลการประเมินรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษา ตามแนวทางการรวมสถานศึกษาภาครัฐและเอกชน ในภาพรวมมีความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด
References
สำเร็จ วงศ์ศักดา และคณะ. (2554). รูปแบบการพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วารสารวิชาการ พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 21(3), 667-679.
สุริยา ฆ้องเสนาะ. (2559). การบริหารจัดการรวมสถานศึกษาอาชีวศึกษาภาครัฐและเอกชน. กรุงเทพมหานคร: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2561). แนวทางการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2561 ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
ธีรวุธ ชมใจ. (2554). การพัฒนารูปแบบความร่วมมือการจัดการอาชีวศึกษาระบบไตรภาคี. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา 5(2), 59 – 71.
ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ. (2559). มอบนโยบายการอาชีวศึกษาภาครัฐ-เอกชน. Retrieved กรกฎาคม 27, 2559, from http://www.thaigov.go.th/index.php/en/news-ministry/2012-08-15-09-39-20/item/101195.
พัฒศ์ศิวพิศ โนรี และคณะ. (2556). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานเทคโนโลยีสารสนเทศในสถาบันการอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร (JEDU NU), 15(2), 16 – 21.
ธานินทร์ ศรีชมพู และคณะ. (2557). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร (JEDU NU), 16(3), 120-131.
นริศ แก้วสีนวล และคณะ. (2556). การพัฒนารูปแบบการบริหารวิชาการในสถานศึกษาอาชีวศึกษาของรัฐ. ารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 5(2), 59 – 71.
Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 608-618.
Callan, V. & Ashworth, P. (2004). Working Together: Industry and VET Provider Training Partnerships. Retrieved July 26, 2016, from http://www.ncver. edu.au