การสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการของสินค้าสมุนไพร หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ระดับ 5 ดาว ประเภทสมุนไพร ในภาคตะวันออกของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • สมหมาย พัฒนดิลก มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
  • กฤษฎา ตันเปาว์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

คำสำคัญ:

การสื่อสารทางการตลาด, สมุนไพร, ผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์หาช่องทางสื่อสารการตลาดที่เหมาะสมกับลูกค้าในแต่ละกลุ่มของผู้บริโภค 2) หาแนวทางการสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการ  ของสินค้าสมุนไพรหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ระดับ 5 ดาว ประเภทสมุนไพร  ในภาคตะวันออกของประเทศไทยที่เหมาะสมกับผู้ประกอบการ และ 3) พัฒนาการสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการของสินค้าสมุนไพรหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ระดับ 5 ดาว เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยศึกษาจากเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม  ซึ่งเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง ผู้ให้ข้อมูลหลัก แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) ภายในกลุ่มผู้ประกอบการ และ 2) กลุ่มผู้ที่อยู่ภายนอกองค์กร จำนวน 24 คน โดยนำมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและสรุปเป็นภาพรวม ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านช่องทางสื่อสารการตลาดที่เหมาะสม ได้แก่ 1.1) การประชาสัมพันธ์ 1.2) การโฆษณา 1.3) การจัดกิจกรรมทางการตลาด 1.4) การส่งเสริมการขายโดยใช้พนักงาน 1.5) การตลาดทางตรง และ 1.6) การส่งเสริมการขาย 2) ด้านแนวทางการสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการของสินค้าที่เหมาะสมกับผู้ประกอบการคือ หาจุดเด่นของผลิตภัณฑ์ให้พบแล้วสร้างเป็นเอกลักษณ์ หรืออัตลักษณ์ที่ชัดเจน และพัฒนาให้ทันสมัยอยู่เสมอ และ 3) ด้านการพัฒนาการสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการของสินค้า คือ ต้องสร้างความต่อเนื่องและตรงกับความต้องการกลุ่มผู้มุ่งหวัง กลุ่มธุรกิจ OTOP สามารถนำช่องทางการสื่อสารแบบออนไลน์ (เฟซบุ๊ก อินสตาแกรม เว็บไซต์) และออฟไลน์มาใช้ในการตลาด ผู้ประกอบการต้องนำสื่อเหล่านี้มาใช้แบบผสมผสานร่วมกัน ตามความเหมาะสมของกลุ่มลูกค้า และควรเลือกลงทุนกับช่องทางสื่อที่ให้ผลกำไรมากที่สุด โดยจดบันทึกข้อมูล สถิติต้นทุน ยอดขาย ค่าใช้จ่าย และกำไร เพื่อทราบถึงช่องทางสื่อที่เข้าถึงลูกค้ามากที่สุด

References

กมล ชัยวัฒน์. (2558). การโฆษณาและการส่งเสริมการตลาด Advertising and Promotion. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แมคกรอ-ฮิล.

กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย. (2559). แนวทางและหลักเกณฑ์การคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย ปี พ.ศ. 2559. กรุงเทพมหานคร: กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย.

กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย. (2563). แนวทางและหลักเกณฑ์การคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย ปี. 2563. กรุงเทพมหานคร: สำนักส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย.

ณัฐา ฉางชูโต. (2558). การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ดารา ทีปะปาล และคณะ. (2557). การสื่อสารการตลาด Marketing Communications. กรุงเทพมหานคร: อมรการพิมพ์.

นธกฤต วันต๊ะเมล์. (2557). การสื่อสารการตลาด Marketing Communications. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นลินทิพย์ ภัคศรีกุลกำธร. (2563). อุตสาหกรรมการจัดงานแสดงสินค้านานาชาติของไทย “Exhibiz Gala Night”. กองบรรณาธิการ Positioning. เรียกใช้เมื่อ 10 ตุลาคม 2563 จาก https://positioningmag.com/35810

นักวิชาการด้านการตลาด. (29 สิงหาคม 2563). การสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการของสินค้าสมุนไพรหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP)ระดับ 5 ดาว ประเภทสมุนไพรในภาคตะวันออกของประเทศไทย. (นายสมหมาย พัฒนดิลก, ผู้สัมภาษณ์)

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย (เล่มที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาการพิมพ์.

ปรีดา ศรีนฤวรรณ. (2557). การสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการ. ใน Integrated Marketing Communication: IMC . คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ผู้ซื้อผลิตภัณฑ์. (29 สิงหาคม 2563). การสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการของสินค้าสมุนไพรหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ระดับ 5 ดาว ประเภทสมุนไพรในภาคตะวันออกของประเทศไทย. (นายสมหมาย พัฒนดิลก, ผู้สัมภาษณ์)

ผู้ประกอบการ. (29 สิงหาคม 2563). การสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการของสินค้าสมุนไพรหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ระดับ 5 ดาว ประเภทสมุนไพรในภาคตะวันออกของประเทศไทย. (นายสมหมาย พัฒนดิลก, ผู้สัมภาษณ์)

พรทิพย์ แก่นจันทร์. (2560). การสร้างอาชีพ. นิตยสาร SMEs สร้างอาชีพ ปีที่ 5 ฉบับที่ 56 เดือนมกราคม 2560. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ทัศนา มาร์เก็ตติ้ง จำกัด.

วัลลภ ศัพท์พันธุ์ และคณะ. (2560). รายงานผลการศึกษาเรื่อง Model การพัฒนา OTOP สู่มิติใหม่. กรุงเทพมหานคร: สถาบันการพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน.

วีระนันท์ คำนึงวุฒิ และอัญชนา กลิ่นเทียน. (2562). การพัฒนารูปแบบสื่อประชาสัมพันธ์และ การตลาดออนไลน์ สำหรับสินค้า OTOP ในประเทศไทย กรณีศึกษาสินค้า OTOP จังหวัดนครนายก. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 7(2). 32-45.

ศิริลักษณ์ ชูจิตร. (2560). ปัจจัยการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ของ บริษัท คาร์มาร์ท จำกัด (มหาชน) ในร้านบิวเทรี่ยม สาขาสยามสแควร์. ใน การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาครั้งที่ 2. มหาวิทยาลัย ราชภัฏมหาสารคาม.

สมยศ เนื่องทวี. (2560). กลยุทธ์การจัดการและความสาเร็จของการประกอบการ. นิตยสารเถ้าแก่ใหม่. ปีที่ 10 ฉบับที่ 118 เดือนกันยายน. กรุงเทพมหานคร: บริษัท โอเอส พริ้นติ้ง เฮ้าส์ จำกัด.

สุรเดช สุเมธาภิวัฒน์. (2559). การสื่อสารการตลาดในยุคไทยแลนด์ 4.0 เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2(2). 110-117.

อลิสรา รุ่งนนทรัตน์ชรินทร์สาร. (2561). การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการต่อให้ติดใกล้ชิดผู้บริโภคในโลกไร้รอยต่อ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท แอคทีฟ พริ้นท์ จำกัด.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York: Harper Collins. Publishers.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

04/26/2021

How to Cite

พัฒนดิลก ส. ., & ตันเปาว์ ก. . (2021). การสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการของสินค้าสมุนไพร หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ระดับ 5 ดาว ประเภทสมุนไพร ในภาคตะวันออกของประเทศไทย. วารสารมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(4), 272–289. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/view/247818

ฉบับ

บท

บทความวิจัย