หลักสูตรพื้นฐานอาชีพเพื่อยกระดับสมรรถนะการเรียนรู้ สำหรับการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา จังหวัดพะเยา
คำสำคัญ:
ทักษะอาชีพ, หลักสูตรอาชีพ, การพัฒนาหลักสูตร, นักเรียนชั้นประถมศึกษาบทคัดย่อ
บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบท สภาพปัจจุบันปัญหา ความต้องการในการสร้างหลักสูตร และศึกษาประสิทธิผลของหลักสูตรพื้นฐานอาชีพสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา ในจังหวัดพะเยา ซึ่งบทความฉบับนี้ใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา โดยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ โดยระยะที่ 1 ใช้การประเมินความต้องการจำเป็นและการสนทนากลุ่มกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 12 คนจาก 6 กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ระยะที่ 2 เป็นการสร้างหลักสูตรและให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเหมาะสมของหลักสูตรอาชีพที่พัฒนาขึ้น โดยขั้นตอนของการสร้างหลักสูตร มี 4 ขั้นตอน ได้แก่ การประเมินความต้องการจำเป็น การออกแบบหลักสูตร การทดลองใช้หลักสูตร และประเมินประสิทธิผลของหลักสูตรจากกลุ่มทดลอง จากนั้นศึกษาความเข้าใจต่อครูที่จะนำหลักสูตรไปใช้ จำนวน 30 คน และระยะที่ 3 เป็นการศึกษาประสิทธิผลของหลักสูตรที่นำไปใช้กับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 43 คน ผลการวิจัยจากผู้เชี่ยวชาญทั้ง 6 คนพบว่า องค์ประกอบทั้งหมดของหลักสูตรอยู่ในเกณฑ์ดี และหลักสูตรอาชีพจำเป็นต้องให้โรงเรียนประถมศึกษานำไปจัดการเรียนการสอน เพื่อให้เกิดความมั่นคง ผลการวิจัยเชิงปริมาณพบว่า องค์ประกอบทั้งหมดของหลักสูตรอาชีพมีความเหมาะสมในระดับสูงและมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในช่วง 3.60 ถึง 4.07 และผลการประเมินประสิทธิผลของหลักสูตร พบว่า ความสามารถในการประกอบอาชีพของนักเรียนเพิ่มขึ้น จากคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 9.91 และ 13.67 และมีนักเรียน 24 คน จาก 43 คนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 เป็นจำนวนร้อยละ 60.47 ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า นักเรียนในกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของคะแนนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการประกอบอาชีพของนักเรียนที่ดีขึ้น (t = 4.396; p <.05)
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ธนัตถ์กานต์ ศรีเฉลียว และคณะ. (2560). การพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โดยใช้การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัย ราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 11(2), 61 - 74.
พรกมล สุมงคล และคณะ. (2555). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่องอาหารจากบัวสาย การงานอาชีพและเทคโนโลยีสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสังคมศาสตร์วิจัย, 3(2), 5 -25.
ระพีพัฒน์ หาญโสภา และคณะ. (2563). การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สําหรับโรงเรียนร่มโพธิ์ทองธรรมวิทย์. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(11), 18 - 31.
สงัด อุทรานันท์. (2532). พื้นฐานและหลักการพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สํานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). ยุทธศาสตร์ 103 การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา.
สำนักงานปฏิรูปการศึกษา. (2545). ชุดฝึกอบรมผู้นำชุมชน : ประมวลสาระ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานปฏิรูปการศึกษา.
Cohen, L. & Morrison, L. (2000). Research Methods in Education 5thed. London: Taylor&Francis Group.
Collins, J. & Barnes, A. (2017). Careers in the curriculum. What works? London: The Careers & Enterprise Company.
Herr, E. L. et al. (2003). Career guidance and counseling through the lifespan: Systematic approaches. Needham Heights: Allyn & Bacon.
Isaacson, J. (1977). Dimenson of Student evaluation of teaching. Journal of Education Psychology, 55(6),344-351.
Seehamat, L. & Sanrattana, U. (2017). Development of a teacher training curriculum in enhancing awareness on water resource management. Turkish Online Journal of Educational Technology, (5)9, 846 - 854.