การประยุกต์แบบจำลองระบุพิกัดของวัตถุท้องฟ้าบนทรงกลมฟ้าที่สร้างขึ้นจากเทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติเพื่อส่งเสริมความเข้าใจในแนวคิดดาราศาสตร์

ผู้แต่ง

  • ชูชาติ แพน้อย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ธีรพงษ์ แสงประดิษฐ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • จตุรงค์ สุคนธชาติ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

แบบจำลองทรงกลมฟ้า, ทรงกลมฟ้า, แนวคิดดาราศาสตร์, ตำแหน่งและเส้นทางการขึ้นการตกของดวงอาทิตย์, การพิมพ์สามมิติ

บทคัดย่อ

                บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบจำลองระบุพิกัดของวัตถุท้องฟ้าบนทรงกลมฟ้า โดย การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติ 2) ศึกษาผลการใช้แบบจำลองระบุพิกัดของวัตถุท้องฟ้าบนทรงกลมฟ้า ในด้านความเข้าใจในแนวคิดดาราศาสตร์ เรื่อง ตำแหน่งและเส้นทางการขึ้นการตกของดวงอาทิตย์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1) แบบจำลองระบุพิกัดของวัตถุท้องฟ้าบนทรงกลมฟ้า 2) แบบวัด ความเข้าใจในแนวคิดดาราศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (Dependent t - test) และค่าการพัฒนา (Normalized gain (<g>)) ผลการวิจัยพบว่า 1) แบบจำลองระบุพิกัดของวัตถุท้องฟ้าบนทรงกลมฟ้า ที่พัฒนาขึ้นโดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติมีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูงกว่าคะแนนเกณฑ์ที่กำหนด (3.51) 2) นักเรียนมีความเข้าใจในแนวคิดดาราศาสตร์ เรื่อง ตำแหน่งและเส้นทางการขึ้นการตกของดวงอาทิตย์ หลังการเรียนสูงกว่าก่อนการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้งแนวคิดเรื่อง สุริยวิถี ตำแหน่งและเส้นทางดวงอาทิตย์ เวลาดวงอาทิตย์ปรากฏ ตำแหน่งดวงอาทิตย์กับฤดูกาลและปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ โดยแนวคิดเกี่ยวกับตำแหน่งดวงอาทิตย์กับฤดูกาลมีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาได้แก่ แนวคิดเกี่ยวกับตำแหน่งและเส้นทางดวงอาทิตย์ สุริยวิถี ปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ และเวลาดวงอาทิตย์ปรากฏความเข้าใจในแนวคิดดาราศาสตร์ เรื่อง ตำแหน่งและเส้นทางการขึ้นการตกของดวงอาทิตย์ของนักเรียนมีคะแนนเพิ่มขึ้นในทุกด้าน มีค่าเฉลี่ยการพัฒนา (Normalized gain(<g>)) เท่ากับ 0.86 และมีระดับของแนวคิดที่คลาดเคลื่อนน้อยลง

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามหลักสูตรหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551. กรุงเทพมหานคร : ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่ง ประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551. กรุงเทพมหานคร: ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ไชยยศ เรืองสุวรรณ. (2553). หลัการทฤษฎีเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: เรือนแก้ว การพิมพ์.

นิพนธ์ ทรายเพชร. (2558). การดูดาวขั้นต้น : คู่มือดูดาวอย่างง่ายสำหรับท้องฟ้าประเทศไทยและศึกษาความลี้ลับทางดาราศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 1 ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพมหานคร: นานมีบุ๊คส์.

บุญรักษา สุนทรธรรม. (2550). ดาราศาสตร์ฟิสิกส์. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2562). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2561. เรียกใช้เมื่อ 18 ธันวาคม 2563 จาก http://www.newonetresult.niets.or.th /AnnouncementWeb/PDF/SummaryONETM6_ 2561.pdf

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2563). สรุปผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2562. เรียกใช้เมื่อ 18 ธันวาคม 2563 จาก http://www.newonetresult.niets.or.th/ AnnouncementWeb/PDF/SummaryONETM6_ 2562.pdf

American Association for the Advancement of Science (AAAS). (1993). Project 2061 Benchmarks for Science Literacy. New York Oxford University Press. Retrieved December 18 , 2020, from http://www.project2061.org /publications/bsl/online/index.php

Gilbert, J. K. et al. (2000). Positioning models in science education and in design and technology education. In Developing models in science education. Springer.

Gilbert, S. W. & Ireton, S. W. (2003). Understanding models in earth & space science: NSTA press. Retrieved December 18, 2020, from https://eric.ed. gov/?id=ED481490

Justi, R. & Gilbert, J. (2003). Teachers' views on the nature of models. International Journal of Science Education, 25(11), 1369-1386.

Lightman, A. & Sadler, P. M. (1993). Teacher predictions versus actual student gains. The Physics Teacher, 31(3), 162-167.

Mayer, R. E. (1989). Models for understanding. Review of educational research, 59(1), 43-64.

Percy, J. R. (2005). Why Astronomy is Useful and Should be Included in the School Curriculum. Retrieved December 18 , 2020, from http://adsabs. harvard.edu/full/2005HiA....13.1020P

Trumper, R. (2001). A cross-age study of junior high school students' conceptions of basic astronomy concepts. International Journal of Science Education, 23(11), 1111-1123.

Van Driel, J. H. & Verloop, N. (2002). Experienced teachers' knowledge of teaching and learning of models and modelling in science education. International Journal of Science Education, 24(12), 1255-1272.

White, B. Y. (1993). ThinkerTools: Causal models, conceptual change, and science education. Cognition and instruction, 10(1), 1-100.

Zeilik, M. et al. (1998). Misconceptions and their change in university-level astronomy courses. The Physics Teacher, 36(2), 104-107.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

04/26/2021

How to Cite

แพน้อย ช. . ., แสงประดิษฐ์ ธ., & สุคนธชาติ . จ. (2021). การประยุกต์แบบจำลองระบุพิกัดของวัตถุท้องฟ้าบนทรงกลมฟ้าที่สร้างขึ้นจากเทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติเพื่อส่งเสริมความเข้าใจในแนวคิดดาราศาสตร์. วารสารมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(4), 241–255. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/view/247866

ฉบับ

บท

บทความวิจัย