แนวทางพัฒนาการบริหารงานระบบประกันคุณภาพการศึกษายุคดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1
คำสำคัญ:
การประกันคุณภาพการศึกษา, ยุคดิจิทัล, โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาบทคัดย่อ
บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารงานระบบประกันคุณภาพการศึกษายุคดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา 2) หาแนวทางการพัฒนาการบริหารงานระบบประกันคุณภาพการศึกษายุคดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา เป็นงานวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จำนวน 234 คน และผู้เชี่ยวชาญในการสนทนากลุ่ม จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามชนิดประมาณค่า 5 ระดับ มีค่า IOC ระหว่าง 0.80 - 1.00 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.82 สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารงานระบบประกันคุณภาพการศึกษายุคดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) แนวทางพัฒนาการบริหารงานระบบประกันคุณภาพการศึกษายุคดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ประกอบไปด้วย 2.1) ด้านการวางแผน (Plan) ต้องครอบคลุมทั้งด้านองค์ความรู้ บุคลากร ขั้นตอนการดำเนินงาน การตรวจสอบเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้เกิดประสิทธิภาพ 2.2) ด้านการปฏิบัติ (Do) บุคลากรต้องมีการพัฒนาตนเองให้ความรู้ความสามารถ และมีส่วนร่วมในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อการบริหารงานระบบการประกันคุณภาพการศึกษายุคดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ 2.3) ด้านการตรวจสอบ (Check) ผู้บริหารและคณะกรรมการที่มีหน้าที่ในการติดตามตรวจสอบต้องมีความรู้ความสามารถเรื่องของการประกันคุณภาพการศึกษาและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการบริหารงานระบบประกันคุณภาพการศึกษาเป็นอย่างดีเพื่อการประเมินผลได้อย่างถูกต้องและ 2.4) ด้านการปรับปรุง (Act) การนำผลการประเมินมาใช้ในการพัฒนาปรับปรุงต้องประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมและดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นการมีส่วนร่วมของบุคลากรในองค์กร
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). ประกาศมาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานแนบท้ายประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ให้ใช้มาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ ฉบับลงวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2561. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
เกศรินทร์ แทบสี และคณะ. (2557). การศึกษาการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์, 1(1), 53-65.
ปิยะนันท์ ทรัพย์เพิมพูล. (2558). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาสหวิทยาเขตถิ่นวีรชน จังหวัดสิงห์บุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.
พัลลภ พิริยะสุรวงศ์. (2563). เทคโนโลยีสารสนเทศกับการปฏิรูปการศึกษา. เรียกใช้เมื่อ 28 ตุลาคม 2563 จาก http://www.kroobannok.com/view.php?article_id=145
ยุวดี ก๋งเกิด. (2561). การพัฒนาการดำเนินงานตามระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา. ใน รายงานการศึกษาส่วนบุคคล สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคคลากรทางการศึกษา . สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
ลักคณา สังฆธรรม. (2560). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาโรงเรียนเทศบาล 1 บ้านหนองชากแง้วสู่การรองรับการประกันคุณภาพภายนอก รอบสี่ สังกัดเทศบาลตำบล ห้วยใหญ่. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.
วาลิช ลีทา. (2559). สภาพ ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.
สมเกียรติ บุญสูงเนิน และคณะ. (2560). กลยุทธ์การบริหารงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1. Dhammathas Academic Journal, 17(3), 223-235.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1. (2563). บริบทของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1. เรียกใช้เมื่อ 28 ตุลาคม 2563 จาก http:// https://www.nsw1.go.th/
สุกัญญา แช่มช้อย. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุภาณี รำทะแย. (2559). ภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
Basden, L. L. (2000). Illinois quality assurance and improvement planning process: Examing the relationship between external review visit and internal review and planning process. Dissertation Abstracts International, 61(05), 1684-A.
Cronbach, L. J. (1984). Essentials of psychological testing. (4 th ed). New York: Harper & Row.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.