โมเดลการส่งเสริมเทคโนโลยีการผลิตลำไยสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของเกษตรกรผู้ผลิตลำไยในภาคเหนือของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • พัชรา แสนสุข มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • จินดา ขลิบทอง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • พาวิน มะโนชัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้

คำสำคัญ:

โมเดลการส่งเสริมเทคโนโลยี, การผลิตลำไย, ภาคเหนือของประเทศไทย, การพัฒนาที่ยั่งยืน

บทคัดย่อ

                บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการผลิตลำไยของเกษตรกรทั่วไปและเกษตรกรผู้เชี่ยวชาญ 2) พัฒนาโมเดล และ 3) ทดสอบประสิทธิผลโมเดล การวิจัยนี้มีรูปแบบการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา จากการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเกษตรกรผู้ผลิตลำไยทั่วไป จำนวน 201 ราย สัมภาษณ์เชิงลึกเกษตรกรผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 30 ราย และทดสอบโมเดลกับผู้เชี่ยวชาญด้านการส่งเสริมการผลิตลำไย รวมทั้งหมด 10 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เชิงเนื้อหา เชิงเปรียบเทียบ (t - test) Factor Analysis SWOT Analysis และ TOWS Matrix ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการผลิตลำไย ประกอบด้วย ปัจจัยการผลิต การปลูก และการดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว การตลาด และการแปรรูป ส่วนเกษตรกรผู้เชี่ยวชาญมีการใช้เทคโนโลยี ประกอบด้วย การปลูกระบบชิด การวิเคราะห์ธาตุอาหารในดิน การใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินการปรับปรุงบำรุงดิน การผลิตนอกฤดู การจัดการโรคและแมลงลำไยโดยวิธีผสมผสาน การตัดแต่งกิ่งทรงพุ่มเตี้ย การตัดแต่งช่อผล และการปฏิบัติตามมาตรฐาน GAP เกษตรกรโดยทั่วไปและเกษตรกรผู้เชี่ยวชาญ มีระดับการปฏิบัติการใช้เทคโนโลยีในการผลิตลำไยแตกต่างกัน และระดับความต้องการการส่งเสริมของเกษตรกรทั่วไปอยู่ในระดับมาก ส่วนเกษตรกรผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับมากที่สุด 2) การพัฒนาโมเดลมีองค์ประกอบ 4 ส่วน คือ 2.1) ส่งเสริมการลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต สร้างโอกาสทางการตลาดและเพิ่มรายได้จากการผลิตนอกฤดู 2.2) ส่งเสริมการผลิตตามมาตรฐาน GAP และเทคโนโลยีที่เหมาะสม 2.3 ส่งเสริมการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 2.4) ส่งเสริมการผลิตเพื่อความยั่งยืน และ 3) การประเมินประสิทธิผลโมเดล พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.62 ดังนั้น โมเดลจึงมีความเหมาะสม สามารถนำไปใช้ได้จริง

References

กรมวิชาการเกษตร. (2558). การเพิ่มขนาดผลและการเก็บเกี่ยวผลผลิต. ใน เอกสารวิชาการการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตลำไย สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1 กรมวิชาการเกษตร. กรมวิชาการเกษตร.

กุณฑล เทพจิตรา. (2557). ปัญหาการผลิตลำไย. เรียกใช้เมื่อ 4 ธันวาคม 2559 จาก https://www.technologychaoban. com/agricultural-technology/article_599

จตุริยา อินทารักษ์. (2549). การเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิตลำไย กรณีศึกษา อำเภอ สันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่. ใน วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาส่งเสริมการเกษตร. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เชิงชาย เรือนคำปา. (2548). แนวทางพัฒนาการผลิตลำไยของเกษตรกร ในตำบลนาบ่อคำ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต สาขายุทธศาสตร์การพัฒนา. มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

นิภาพร วงศ์สะอาด. (2555). การปฏิบัติตามระบบการจัดการคุณภาพการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับลำไยของเกษตรกร อำเภอสามเงา จังหวัดตาก. ใน วิทยานิพนธ์ปรัชญามหาบัณฑิต สาขาส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

นุจรินทร์ จังขันธ์. (2548). การปฏิบัติตามเทคโนโลยีการผลิตลำไยของเกษตรกรในพื้นที่โครงการปรับปรุงระบบชลประทานแม่ลาว ปี พ.ศ.2547. ใน วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาส่งเสริมการเกษตร. มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

พาวิน มะโนชัย. (2543). ประวัติลำไย. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ศิระกาจณ์ อนันเกื้อ. (2561). โมเดลการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการเกษตรสำหรับเยาวชน. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สวัสดิ์ กะรัตน์. (2545). ศึกษาเรื่องปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตลำไย ของเกษตรกรกลุ่มปรับปรุงคุณภาพลำไย อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา. ใน วิทยานิพนธ์เกษตรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2557). แหล่งผลิตลำไยที่สำคัญ. เรียกใช้เมื่อ 30 เมษายน 2559 จาก www.nan.doae.go.th/scanbook 2557/v4387.2.doc

อัญชลี กุนุพงศ์. (2548). ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติของเกษตรกรผู้ปลูกลำไยตามระบบการจัดการคุณภาพของเกษตรดีที่เหมาะสมสำหรับลำไยในจังหวัดลำพูน. ใน วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาส่งเสริมการเกษตร. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of Psychological Testing. (5 th ed). New York: Harper Collins Publishers.

Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale”. In Reading in Fishbeic,M (Ed.), Attitude Theory and Measurement. New York: Wiley & Son.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rdEd). New York: Harper and Row Pulication.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

05/02/2021

How to Cite

แสนสุข พ. . ., ตุ้มหิรัญ เ. ., ขลิบทอง จ. ., & มะโนชัย พ. . . (2021). โมเดลการส่งเสริมเทคโนโลยีการผลิตลำไยสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของเกษตรกรผู้ผลิตลำไยในภาคเหนือของประเทศไทย. วารสารมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(5), 95–110. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/view/248528

ฉบับ

บท

บทความวิจัย