การศึกษากรอบแนวคิดหลักสูตรศิลปศึกษาบนฐานบริบทร่วมสมัย

ผู้แต่ง

  • สุชาติ ทองสิมา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ปุณณรัตน์ พิชญไพบูลย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

หลักสูตรศิลปศึกษา, ศิลปศึกษาร่วมสมัย, การพัฒนาหลักสูตร

บทคัดย่อ

               บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและกำหนดกรอบแนวคิดหลักสูตรศิลปศึกษาและบริบทร่วมสมัย 2) ศึกษาและกำหนดลักษณะหลักสูตรศิลปศึกษาบนฐานบริบทร่วมสมัยที่ผู้ใช้หลักสูตรต้องการ 3) จัดลำดับความต้องการจำเป็นของหลักสูตรศิลปศึกษาบนฐานบริบทร่วมสมัย การวิจัยเป็นแบบผสมวิธี แบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะแรกใช้วิธีการเชิงคุณภาพโดยสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรศิลปศึกษาและด้านบริบทร่วมสมัย 19 คน ระยะที่สองใช้วิธีการเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับหลักสูตรจำนวน 803 คน การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มผู้เชี่ยวชาญใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง กลุ่มอาจารย์ใช้ประชากรทั้งหมด กลุ่มผู้ใช้บัณฑิต และกลุ่มบัณฑิตใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการกำหนดกรอบประเด็น การให้รหัส/ทำดัชนี ตีความและสรุปข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยระยะแรก พบว่า 1) หลักสูตรศิลปศึกษาควรประกอบด้วย 7 รูปแบบ 1.1) ทฤษฎีศิลปศึกษาเป็นฐาน 1.2) การจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษา 1.3) เทคโนโลยีและนวัตกรรมศิลปศึกษา 1.4) ศิลปศึกษาเพื่อภูมิปัญญาและท้องถิ่น 1.5) การพัฒนาผู้ประกอบการศิลปศึกษา 1.6) ศิลปศึกษาตามศักยภาพบุคคล 1.7) สหศาสตร์ศิลปศึกษา 2) ผลการวิจัยระยะที่สอง พบว่า กลุ่มอาจารย์มีสภาพพึงประสงค์ด้านหลักสูตรทฤษฎีศิลปศึกษาเป็นฐานสูงสุด กลุ่มบัณฑิตมีสภาพพึงประสงค์ด้านหลักสูตรการจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษาสูงสุด กลุ่มผู้ใช้บัณฑิตมีสภาพพึงประสงค์ด้านหลักสูตรทฤษฎีศิลปศึกษาเป็นฐานสูงสุด 3) กลุ่มอาจารย์มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นหลักสูตรการพัฒนาผู้ประกอบการศิลปศึกษาสูงสุด กลุ่มบัณฑิตมีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นหลักสูตรเทคโนโลยีและนวัตกรรมศิลปศึกษาและสูงสุด และกลุ่มผู้ใช้บัณฑิตมีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นหลักสูตรศิลปศึกษาเพื่อภูมิปัญญาและท้องถิ่นสูงสุด

References

ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์. (2549). ศิลปศึกษากับการพัฒนาประเทศ. ใน เลิศ อานันทนะ (บรรณาธิการ). แนวคิดเกี่ยวกับศิลปศึกษา. (หน้า 3). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประสาร มาลากุล ณ อยุธยา. (2549). ศิลปะกับชีวิตประจำวันของเด็ก. ใน เลิศ อานันทนะ (บรรณาธิการ). แนวคิดเกี่ยวกับศิลปศึกษา. (หน้า 27). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2559). การศึกษา 4.0 เป็นยิ่งกว่าการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาครุศาสตร์และสาขาศึกษาศาสตร์ (หลักสูตรสี่ปี) พ.ศ. 2562. (2562). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนพิเศษ 56 ง หน้า 12 (6 มีนาคม 2562).

มารุต พัฒผล. (2562). แนวคิดหลักการพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ผู้นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้.

วรากรณ์ สามโกเศศ. (2560). edtech เปลี่ยนแปลงโลกการเรียนรู้. เรียกใช้เมื่อ 1 มิถุนายน 2561 จาก http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/642050

สันติ คุณประเสริฐ. (2547). การเรียนการสอนศิลปศึกษาตามแนว Postmodernism. ใน ปุณณรัตน์ พิชญไพบูลย์ (บรรณาธิการ). ศิลปศึกษา จากทฤษฎีสู่การสร้างสรรค์. (หน้า 60). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สํานักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมแห่งชาติ. (2555). นโยบายและแผนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2555 - 2564). กรุงเทพมหานคร: กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 - 2580. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ. (2562). Toward Innovation Nation. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พิมพ์ดี จำกัด.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สิรินทร์ ลัดดากลม บุญเชิดชู. (2558). STEM to STEAM Plus STREAM and STEMM. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 13(1), 6-16.

ออมสิน จตุพร และอมรรัตน วัฒนาธร. (2557). หลักสูตรท้องถิ่น: วาทกรรมว่าด้วย “หลักสูตร” และแนวโน้มการวิจัยด้านหลักสูตรจากมุมมองเชิงวิพากษ์และหลังสมัยใหม่นิยม. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 16(3), 200- 213.

Demarest, A. B. (2015). Placed-based Curriculum Design. New York: Routledge.

Freedman, K. (2003). Teaching Visual Culture. New York: Teacher College Press.

Hamre, H. J. et al. . (2007). Anthroposophic Art Therapy in Chronic Disease: A Four-Year Prospective Cohort Study. EXPLORE The Journal of Science and Healing, 3(4), 365-371.

Khazanie, R. (1996). Statistics in a World of Applications. (4th ed.). New York: Harper Collins.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Sizes for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

The Partnership for 21st Century Skills. (2011). Framework for 21st Century Learning. Washington, DC: P21. Retrieved April 30, 2016, from http://www.p21.org/our-work/p21-framework_flyer_updated_april_2009.pdf

UNESCO. (2006). Road Map for Arts Education. Lisbon: UNESCO.

World Economic Forum. (2018). The Global Risks Report 2018 13th Edition. Geneva: World Economic Forum.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07/06/2021

How to Cite

ทองสิมา ส. ., พิชญไพบูลย์ ป. ., & ศิริบรรณพิทักษ์ พ. . (2021). การศึกษากรอบแนวคิดหลักสูตรศิลปศึกษาบนฐานบริบทร่วมสมัย. วารสารมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(7), 238–253. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/view/248633

ฉบับ

บท

บทความวิจัย