ตัวแบบพุทธบูรณาการการบริหารเพื่อความเป็นเลิศ ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
คำสำคัญ:
ตัวแบบ, พุทธบูรณาการ, การบริหารเพื่อความเป็นเลิศ, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ 2) ตรวจสอบความสอดคล้องและกลมกลืนของตัวแบบกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) สร้างและประเมินคู่มือการใช้องค์ประกอบและตัวบ่งชี้พุทธบูรณาการการบริหารเพื่อความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้การวิจัย 420 รูป/คน สัมภาษณ์ 5 รูป/คน และผู้ทรงคุณวุฒิ 9 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบประเมินคู่มือการใช้องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือร้อยละค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการทดสอบสหสัมพันธ์แบบลำดับที่สำหรับความสอดคล้องกันในการตัดสินใจพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบและตัวบ่งชี้พุทธบูรณาการการบริหารเพื่อความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ 20 ตัวบ่งชี้ 2) ผลการตรวจสอบความสอดคล้องและกลมกลืนของโมเดลพบว่า χ2 = 178.398, df = 92, P – Value = 0.087, CFI = 0.937, TLI = 0.926, RMSEA = 0.063, SRMR = 0.048 และโมเดลมีความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง (Construct Validity) และมีค่าความเชื่อมั่นเชิงโครงสร้าง(Construct Reliability: C.R.) เท่ากับ 0.988 ซึ่งมีค่ามากกว่า 0.60 แสดงว่าโมเดล มีความสอดคล้องและกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) คู่มือการใช้องค์ประกอบและตัวบ่งชี้พุทธบูรณาการการบริหารเพื่อความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากสามารถนำไปใช้ได้ผลการทดสอบสหสัมพันธ์แบบลำดับที่สำหรับความสอดคล้องกันในการตัดสินใจพหุคูณ F มีค่าเท่ากับ 0.28 ซึ่งมีค่าน้อยกว่า 2.17 ซึ่งไม่ตกอยู่ในอาณาเขตวิกฤต จึงไม่สามารถปฏิเสธสมมติฐานหลัก H0 ดังนั้น ผู้ตัดสินทั้ง 9 รูป/คน มีความคิดเห็นตรงกัน
References
กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม. (2562). นโยบายการดำเนินงานของกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมในคราวการประชุมผู้บริหารกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม. เรียกใช้เมื่อ 19 กันยายน 2562 จาก https://www.mhesi.go.th/ home/images/2562/.pdf
พนิดา ดอนเมฆ. (2559). การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษาเอกชน ในจังหวัดระยอง. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
พระประเสริฐ วรธมฺโม (ธิลาว) และคณะ. (2559). พุทธบูรณาการการพัฒนาทุนมนุษย์สู่ความเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาของคณะสงฆ์ไทย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 5(1), 71 - 84.
พระมหาวีรศักดิ์ สุรเมธี และรองศาสตราจารย์ ดร.นรินทร์ชัย พัฒนพงศา. (2557). แนวทางการบูรการการเปลี่ยนแปลงของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยในทศวรรษหน้า. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 8(1), 143 - 153.
พระมหาสหัส ดำคุ้ม. (2556). การพัฒนารูปแบบการบริหารมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยที่มีประสิทธิผล. ใน วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
พระวุฒิพงษ์ เพียรภูเขา และรองศาสตราจารย์ ดร.เพ็ญณี แนรอท. (2560). มุมมองด้านการบริหารจัดการของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น สู่ความเป็นเลิศในทศวรรษหน้า. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย, 7(2), 11 - 20.
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. (2561). รายงานประจำปี 2560 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
รักเกียรติ หงษ์ทอง และคณะ. (2558). ประสิทธิผลขององค์การกับตัวแบบภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏตะวันตก. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 10(29), 71 - 86.
วาสนา เลิศมะเลา และเทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์. (2561). การพัฒนาองค์การสู่ความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์, 9(2), 209 - 248.
สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2562). การพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. เรียกใช้เมื่อ 19 กันยายน 2562 จาก https://www.nesdb.go.th/ download/document/SAC/NS_SumPlanOct2018.pdf
สุภมาส อังศุโชติ และคณะ. (2551). สถิติการวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL. กรุงเทพมหานคร: มิสชั่น มีเดีย.
Schumacker, R. E. & Lomaw, R. G. (2010). A beginner’s guide to structural equation modeling. New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates.
Stufflebeam, D. L. & Shinkfiell, A. J. (2007). Evaluation : Theory, models and applications. San Francisco: Jossey-Bass.