การศึกษาคุณลักษณะการรับใช้สังคม สำหรับนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ผู้แต่ง

  • สุพีรพัชร์ พิมพ์มาศ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • จตุพล ยงศร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • จักรกฤษณ์ โปณะทอง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

คุณลักษณะการรับใช้สังคม, นิสิตปริญญาตรี, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาคุณลักษณะการรับใช้สังคม สำหรับนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี ระหว่างการวิจัย เชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ พนักงานมหาวิทยาลัย ตำแหน่งบริหาร คณาจารย์ผู้สอนสายวิชาการ สายปฏิบัติการ บุคลากรบรรจุประจำในมหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ ที่ทำงานเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพนิสิต ได้มาโดยวิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 7 คน และ นิสิตชั้นปีที่ 1 - 4 และสูงกว่า ใช้วิธีคัดเลือกแบบวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ จำนวน 377 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างเกี่ยวกับคุณลักษณะการรับใช้สังคมที่จำเป็นของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และแบบสอบถามคุณลักษณะการรับใช้สังคม ที่ผ่านการตรวจสอบเครื่องมือโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน มีความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.976 วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาจากแบบสัมภาษณ์แบบเปรียบเทียบประเด็นความแตกต่าง สถิติที่ใช้คือ ความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณลักษณะการรับใช้สังคมของนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประกอบด้วย 6 ด้าน ได้แก่ ด้านการนำตนเอง ด้านการประพฤติตนอย่างมีคุณธรรมจริยธรรม ด้านมีความเป็นพลเมือง ด้านมีการช่วยเหลือคนอื่น ด้านการมีส่วนร่วมในกิจกรรมสังคม และด้านมีจิตอาสาและสำนึกสาธารณะ 2) คุณลักษณะการรับใช้สังคมของนิสิตของนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนรายด้านพบว่า ด้านมีการช่วยเหลือคนอื่นอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาด้านการประพฤติตนอย่างมีคุณธรรมจริยธรรมด้านการช่วยเหลือคนอื่น ด้านความเป็นพลเมือง ด้านมีจิตอาสาและสำนึกสาธารณะ และด้านการนำตนเอง ตามลำดับ

References

เกษม วัฒนชัย. (2560). พระบรมราโชบายด้านการศึกษาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10. เรียกใช้เมื่อ 15 มกราคม 2561 จาก https://www.attth.org/พระบรมราโชบายการศึกษา/

จรรจา สุวรรณทัต และ ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2521). พฤติกรรมศาสตร์ เล่ม 1: พื้นฐานความเข้าใจทางจิตวิทยา. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

จารุณี คงเมือง. (2555). คุณลักษณะการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของนักศึกษา หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการอุดมศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนศรีนคริทรวิโรฒ.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2556). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จิตสาธารณะ: รูปแบบนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน. กรุงเทพมหานคร: แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์เปอเรชั่น.

ฐากูร ปาละนันทน์. (2561). การพัฒนาชุดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมของนักศึกษาวิทยาลัยพัฒนาชุมชนเมือง มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช. ใน ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาการอุดมศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นฤมล ช่องนิล และคณะ. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีจิตสาธารณะของนักศึกษาวิทยาลัยเซนต์หลุยส์. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 8(พิเศษ), 198 - 205.

บุญธิดา ยอดสุวรรณ. (2556). ระดับความมีจิตสาธารณะของนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง. ใน วิทยานิพนธ์รัฐศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.

ปริญญา ฤกษ์อรุณ. (2548). ลักษณะทางจริยธรรมของวัยรุ่นตอนปลายที่มีพฤติกรรมอาสาช่วยเหลือผู้อื่น. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาพัฒนาการ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระมหามงคล สามารถ. (2558). คุณลักษณะจริยธรรมของนักศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. Interdisciplinary Research Review, 8(1), 31-42.

พิลาสลักษณ์ ธรรมธร. (2561). ความเป็นพลเมืองของนักศึกษามหาวิทยาลัยวงษ์เชาวลิตกุล จังหวัดนครราชสีมา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์เชาลิตกุล, 5(2), 16 - 29.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2560). อุดมศึกษาสาขาวิชาที่ถูกลืม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ยุทธนา วรุณปิติ. (2562). คุณลักษณะทั่วไปของบุคคลที่มีจิตสาธารณะ. เรียกใช้เมื่อ 15 มกราคม 2561 จาก http://ktbwsk.blogspot.com/2013/08/blog-post_ 9159.html

วัลลภา เฉลิมวงค์ศาเวช. (2555). ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรอุดมศึกษา (Corporate social responsibility in higher education). วารสารนักบริหาร, 32(4), 116-122.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2555). แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาฉบับที่ 11. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อนุพนธ์ คำปัน. (2559). การศึกษาองค์ประกอบจิตสาธารณะของนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. ใน ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการอุดมศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อำนาจ เย็นสบาย. (2551). จิตอาสา ใน จิตสำนึกสาธารณะ. กรุงเทพมหานคร: สันติศิริการ พิมพ์.

Davies, I. (1999). Good Citizenship and Educational Provision Paperback. London: Flamer Press.

Gugliemino, L. M. (1977). Development of the Self-Directed Learning Readiness Scale. Georgia: Georgia Unpublish Ed.D. Dissertation. .

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Marshall, C. & Rossman, Gretchen B. (2016). Designing Qualitative research (6th ed.). Los Angeles, California: SAGE.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

04/26/2021

How to Cite

พิมพ์มาศ ส. ., ยงศร จ. ., & โปณะทอง จ. . (2021). การศึกษาคุณลักษณะการรับใช้สังคม สำหรับนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วารสารมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(4), 227–240. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/view/248840

ฉบับ

บท

บทความวิจัย