การพัฒนาระบบการส่งเสริมการผลิตอ้อยเพื่อดุลยภาพอุปสงค์อุปทานน้ำตาลทรายของประเทศไทย
คำสำคัญ:
ดุลยภาพอุปสงค์อุปทาน, การผลิตอ้อยและน้ำตาลทราย, การส่งเสริมเกษตรกรชาวไร่อ้อย, ประเทศไทยบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ดุลยภาพอุปสงค์และอุปทานน้ำตาลทรายระดับนานาชาติและภายในประเทศ 2) วิเคราะห์ดุลยภาพอุปสงค์และอุปทานการผลิตอ้อยเพื่อน้ำตาลทรายของประเทศไทย 3) พัฒนาระบบการส่งเสริมชาวไร่อ้อยเพื่อให้เกิดดุลยภาพอุปสงค์และอุปทานของการผลิตอ้อยและน้ำตาลทราย การวิจัยแบบผสม มี 3 ขั้นตอนตามวัตถุประสงค์ วิเคราะห์ดุลยภาพอุปสงค์และอุปทานจากข้อมูลทุติยภูมิ ใช้แบบจำลองวิเคราะห์การถดถอยและอนุกรมเวลา และพัฒนาระบบการส่งเสริมชาวไร่อ้อย ใช้ประชากรในการศึกษาคือผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ส่งเสริม กรรมการสถาบันชาวไร่อ้อย และชาวไร่อ้อยของโรงงานน้ำตาลต้นแบบการส่งเสริม 3 โรงงาน โดยสัมภาษณ์เชิงลึก และสำรวจระบบการส่งเสริมเกษตรกรชาวไร่อ้อย 14 โรงงานโดยแบบสำรวจ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การสรุปเนื้อหา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) การส่งออกน้ำตาลในตลาดโลกสัมพันธ์กับปริมาณการผลิตและการบริโภคน้ำตาล และการส่งออกน้ำตาลของประเทศสัมพันธ์กับการผลิตและบริโภคน้ำตาลภายในประเทศ 2) การผลิตน้ำตาลจากอ้อยในประเทศสัมพันธ์กับพื้นที่ปลูก ปริมาณอ้อยเข้าหีบ ผลผลิตตันต่อไร่ และค่าความหวานของอ้อย และประสิทธิภาพการผลิตอ้อยแต่ละปีสัมพันธ์กับปริมาณน้ำฝน ปริมาณอ้อยที่เกิดดุลยภาพอุปสงค์และอุปทานน้ำตาลของประเทศ อยู่ที่ประมาณ 98.173 ล้านตันต่อปี 3) ระบบส่งเสริมชาวไร่อ้อยให้ผลิตอ้อยได้ตามเป้าหมาย ต้องมีการพัฒนาและเรียนรู้ รวมกลุ่ม เพิ่มผลผลิตอ้อยต่อพื้นที่ และความร่วมมือของส่วนราชการ โรงงานน้ำตาล และสถาบันชาวไร่อ้อย โดยค่าเฉลี่ยความต้องการรับการส่งเสริมของชาวไร่อ้อยจากโรงงานน้ำตาล ส่วนราชการ และสถาบันชาวไร่อ้อยเฉลี่ย 4.29 4.18 และ 3.69 ตามลำดับ
References
กรมส่งเสริมการเกษตร. (2560). เอกสารประกอบการฝึกอบรมกระบวนการโรงเรียนเกษตรกร คณะทำงานผลิตบทเรียนออนไลน์เพื่อพัฒนาบุคลากรกรมส่งเสริมการเกษตร สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 2 จังหวัดราชบุรี. เรียกใช้เมื่อ 15 มีนาคม 2563 จาก http://www.ppsf.doae.go.th/web_km/
ขนิษฐา จิตชินะกุล. (2557). หลักการสื่อสาร. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
วิรมณ ปรางทอง. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจปลูกอ้อยโรงงานของเกษตรกรในอำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย. ใน วิทยานิพนธ์ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรมหาบัณฑิต สาขาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สมศักดิ์ จันทรรวงทอง. (2559). ทิศทางอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายของไทย : รายงานประจำปี 2559 สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กระทรวงอุตสาหกรรม. กรุงเทพมหานคร: เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น จำกัด.
สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย. (2561). รายงานการผลิตอ้อย ปีการผลิต 2560/2561. เรียกใช้เมื่อ 5 มิถุนายน 2561 จาก http://www.ocsb.go.th
สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย. (2562). รายงานประจำปี 2562 สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กระทรวงอุตสาหกรรม. เรียกใช้เมื่อ 20 มิถุนายน 2563 จาก http://www.ocsb.go.th
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2560). การนำเข้า - ส่งออกน้ำตาล. เรียกใช้เมื่อ 10 ธันวาคม 2560 จาก http://www.oae.go.th
Bloom, B. et al. (1956). Taxonomy of educational objectives: The classification of educational goals. Handbook I : Cognitive domain. Retrieved December 10, 2017, from https://sites.google.com
Griffiths, D. E. (1959). Administrative theory. New York, N.Y. : Appleton-Century Crofts.
International Sugar Organization (ISO). (2019). Cane and Sugar Situations. Retrieved September 30, 2019, from https:// Isosugar.org
Kidd, J. R. . (1973). How Adults Learn. New York: Association Press. Lawler.
Lovell, R. B. . (1980). Adult learning. New York: Wiley & Sons, Inc.
MCDAVID, J. W. & HARARI, H. (1968). Social psychology; individuals, groups, societies. New York: Harper & Row.
Organization for Economic Co-operation and Development. (2019). Agriculture and Fisheries. Retrieved September 30, 2019, from http://www.occd.org
Worldometer. (2020). World Population (2020 and historical). Retrieved October 18, 2020, from https://www.worldometers.info