รูปแบบการบริหารการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ผู้แต่ง

  • กิตติ์ดนัย แจ้งแสงทอง มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • เสาวณีย์ สิกขาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • มนสิช สิทธิสมบูรณ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

รูปแบบการบริหาร, การประกันคุณภาพภายใน, การศึกษาขั้นพื้นฐาน

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและแนวทางการบริหารการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) พัฒนารูปแบบการบริหารการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) ทดลองใช้รูปแบบฯ 4) ประเมินรูปแบบฯ ที่ผ่านการทดลองแล้ว ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสมผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างการศึกษาสภาพและแนวทางการบริหาร คือ ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ ผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพภายใน ที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ จำนวน 117 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพ จำนวน 12 คน กลุ่มตัวอย่างการประเมินรูปแบบฯ คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้ประเมินภายนอก ผู้บริหารสถานศึกษา และศึกษานิเทศก์ จำนวน 9 คน เครื่องมือวิจัย คือ รูปแบบการบริหารการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน สถิติทดสอบสมมติฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โดยรวมมีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก แนวทางการบริหารการประกันคุณภาพการศึกษา ประกอบด้วย 7 ด้าน ตัวบ่งชี้ย่อย 63 ตัวบ่งชี้ 2) ผลการพัฒนารูปแบบฯ พบว่า มีองค์ประกอบ 2 องค์ประกอบ คือ 1) การประกันคุณภาพภายใน 2) รูปแบบการบริหาร มี 5 ชั้น ใช้ชื่อ “E - PDCA” 3) ผลการวัดความรู้ผู้เข้ารับการอบรมการใช้รูปแบบฯ ก่อนและหลังการอบรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีการพัฒนาที่สูงขึ้น และมีความพึงพอใจต่อรูปแบบโดยรวมอยู่ในระดับมาก 4) ผลการประเมินรูปแบบฯ พบว่า คุณภาพของรูปแบบด้านความเหมาะสม ด้านความถูกต้อง ด้านความเป็นไปได้ และด้านความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 4 ด้าน

References

กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. เรียกใช้เมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 256.3 จาก https://www.moe.go.th//แผนการศึกษาแห่งชาติ-พ-ศ-2560

บุปผา ทองน้อย. (2557). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสู่งานประกันคุณภาพการศึกษาภายในที่มีประสิทธิภาพของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 39. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

ประกาศสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). เรื่อง แนวปฏิบัติการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2561. กรุงเทพมหานคร: คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

ปรีดา บุญเพลิง และคณะ. (2562). การนำรูปแบบการบริหารโรงเรียนนิติบุคคลไปสู่การปฏิบัติระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ, 8(1), 96-106.

ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์. (2547). ประกันคุณภาพการศึกษาเชิงระบบกลยุทธ์สู่อนาคตการศึกษาไทย. ประชาคมวิจัย, 9(4), 11-18.

รัตนะ บัวสนธ์. (2550). การบริหารโครงการ: แนวทางสู่ความสำเร็จ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมคิด พรมจุ้ย. (2544). การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช, 14(1), 14-46.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4. (2561). ข้อมูลสารสนเทศ. ปทุมธานี, สพม.4.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2561). รายงานประจำปี 2561 สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน).

Fetterman, D. M. (1996). Empowerment Evaluation: An Introduction to Theory and Practice Empowerment Evaluation: An Introduction to Theory and Practice. Thousand Oaks: Sage.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size of Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607 – 640.

Kusek, J. Z. & Rist, R.C. (2004). Ten Steps to a Results – based Monitoring and Evaluation System: A Handbook for Development Practitioners. Washington, D.C.: The International Bank for Reconstruction and Development/ The World Bank.

Stufflebeam, D. L. & Shinkfield, A. (2007). Evaluation Theory Models and Applications. SanFrancisco: Jossey - Bass.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

05/02/2021

How to Cite

แจ้งแสงทอง ก., สิกขาบัณฑิต เ., & สิทธิสมบูรณ์ ม. . (2021). รูปแบบการบริหารการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(5), 302–317. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/view/248855

ฉบับ

บท

บทความวิจัย