กระบวนทัศน์การเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูง ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยรูปแบบ NSW Model
คำสำคัญ:
กระบวนทัศน์การเรียนการสอน, ทักษะการคิดขั้นสูง, รูปแบบ NSW Modelบทคัดย่อ
บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากระบวนทัศน์การเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิด ขั้นสูงในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยรูปแบบ NSW Model 2) ศึกษาประสิทธิภาพกระบวนทัศน์การเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูงในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามเกณฑ์ E1/E2 =75/75 3) เปรียบเทียบทักษะการคิดชั้นสูงก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนทัศน์การเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูง 4) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตาม กระบวนทัศน์การเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูงในศตวรรษที่ 21 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2563 จากโรงเรียนศรีโคตรบูรณ์ จังหวัดนครพนมจำนวน 21 คน และโรงเรียนหว้านใหญ่วิทยา จังหวัดมุกดาหาร จำนวน 31 คน เครื่องมือวิจัยได้แก่ แบบสอบถามและแบบทดสอบ การวิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัย พบว่า 1) กระบวนทัศน์การเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูง ในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1.1) การระบุปัญหา 1.2) การออกแบบและวางแผนแก้ปัญหา 1.3) การสร้างต้นแบบ ชิ้นงาน 1.4) การประเมินและปรับปรุงต้นแบบ และ 1.5) การถอดบทเรียน 2) กระบวนทัศน์การเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มีค่า E1/E2 = 76.92/76.95 3) ผลการเปรียบเทียบทักษะการคิดชั้นสูงก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนทัศน์ที่พัฒนาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนทัศน์การเรียนการสอน ในภาพรวมเห็นด้วยในระดับมาก
References
บุญศรี องค์พิพัฒนกุล. (2550). การเรียนรู้โดยใช้ทีมเป็นฐาน (Team Based Learning) อาจารย์มืออาชีพ: แนวคิด เครื่องมือ และการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: เครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย.
พิจิตรา ธงพานิช. (2562). การพัฒนากระบวนทัศน์การสอนและการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูงในยุคการศึกษา 4.0 ของนักศึกษาวิชาชีพครู. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 11(2), 179-198.
ศูนย์ดำเนินงาน PISA แห่งชาติ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2561). ผลการประเมิน PISA 2015 วิทยาศาสตร์ การอ่าน และคณิตศาสตร์ (ฉบับสมบูรณ์). กรุงเทพมหานคร: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.).
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2557). ความรู้เบื้องต้นสะเต็ม. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สถาบันคีนันแห่งเอเชีย และสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์แลเทคโนโลยี. (2555). สรุปการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ เรื่อง “การยกระดับคุณภาพการศึกษาวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ปี 2555”. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน.
สุดาพร ลักษณียนาวิน. (2550). แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนการสอนในสังคมฐานความรู้ อาจารย์มืออาชีพ : แนวคิด เครื่องมือ และการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: เครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย.
Anderson, L. W. & Krathwohl, D. R. (2001). A Taxonomy for Learning, Teaching, and Assessing: A Revision of Bloom's Taxonomy of Educational Objectives. Complete edition, New York: Longman.
Best, W. J. (1997). Research in Education. 3rd ed. , New Jersey: Prentice Hall.
Charles, K. (2014). Do you Want Your Students to Be Job-Ready with 21stCentury Skills. International Journal of Higher Education, 3(3), 81-91.
Ester, M. & David, D. (2017). Peer Learning Network: implementing and sustaining cooperative learning by teacher collaboration. Journal of Education for Teaching, 43(3), 349-360.
Glickman, C. D. et al. (2014). Supervision and Instructional Leadership: A Developmental Approach. 9th ed. Boston: Allyn & Bacon, Inc.
Joyce, B. & Weil, M. (2009). Model of Teaching London. London: Allyn and Bacon.
Marzano, R. J. (2007). TheArtsand Science of Teaching: A Comprehensive Framework for Effective Instruction. Alexandria: Association for Supervision and Curriculum Development.
OECD, PISA. (2015). Results (Volume II): Policies and Practices for Successful Schools. PISA: OECD Publishing.