แนวทางการออกแบบหิ้งแสงสำหรับห้องเรียนปฏิบัติการ ออกแบบสถาปัตยกรรม

ผู้แต่ง

  • พัชรี โตตุ้ม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • นวลวรรณ ทวยเจริญ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ชนิกานต์ ยิ้มประยูร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

แสงธรรมชาติ, ห้องเรียนปฏิบัติการออกแบบ, หิ้งแสง, สถาปัตยกรรม

บทคัดย่อ

        บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบค่าความส่องสว่างและค่าความสม่ำเสมอของแสง จากเทคนิคการใช้หิ้งแสงร่วมกับฝ้าเพดานที่เหมาะสมกับการใช้งานสำหรับห้องปฏิบัติการหรือสตูดิโอออกแบบสถาปัตยกรรม โดยห้องเรียนที่ทำการทดสอบเป็นผลมาจากการสำรวจห้องเรียนปฏิบัติการออกแบบสถาปัตยกรรมในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ กำหนดให้ขนาดห้องเรียนกว้าง 9.00 เมตร ยาว 20.00 เมตร สูง 3.00 เมตร มีการใช้งานระหว่าง 08:00 น. - 18:00 น. หิ้งแสงประกอบด้วยตัวแปรในการศึกษา 4 ตัว ได้แก่ รูปแบบของหิ้งแสง (ภายนอก ผสม และโค้ง) ความสูงในการติดตั้งหิ้งแสงจากพื้น (1.75 เมตร 2.00 เมตร และ 2.25 เมตร) องศาหิ้งแสง (0° 15° 30° และ 45°) และค่าการสะท้อนแสงของวัสดุพื้นผิวหิ้งแสง (50% 70% และ 90%) ฝ้าเพดานประกอบด้วยตัวแปรในการศึกษา 3 ตัว ได้แก่ รูปแบบของฝ้าเพดาน (เรียบตรง เอียงเข้าหาช่องเปิด เอียงออกจากช่องเปิด และโค้ง) ความสูงในการติดตั้งฝ้าเพดานจากพื้น (2.60 เมตร 2.80 เมตร และ 3.00 เมตร) และค่าการสะท้อนแสงของวัสดุพื้นผิวฝ้าเพดาน (70% 80% และ 90%) จำลองภายใต้สภาพท้องฟ้าโปร่งด้วยโปรแกรม DIALux 4.1 ผลการศึกษาพบว่า หิ้งแสงกับฝ้าเพดานที่เหมาะสมที่สุดสำหรับช่องเปิดหันไปทางด้านทิศเหนือ คือรูปแบบหิ้งแสงแบบภายนอก สูงจากพื้น 1.75 เมตร เอียง 30° ค่าสะท้อนแสงเท่ากับ 90% ร่วมกับฝ้าเพดานแบบโค้ง ความสูง 3.00 เมตร ค่าสะท้อนแสงเท่ากับ 90% รูปแบบหิ้งแสงกับฝ้าเพดานที่เหมาะสมที่สุดสำหรับช่องเปิดหันไปทางด้านทิศใต้ คือ รูปแบบหิ้งแสงแบบผสม สูงจากพื้น 2.00 เมตร เอียง 15° ค่าสะท้อนแสงเท่ากับ 90% ร่วมกับฝ้าเพดานรูปแบบโค้งความสูงจากพื้น 3.00 เมตร ค่าสะท้อนแสงเท่ากับ 90%

References

กฎกระทรวง ฉบับที่ 55 (พ.ศ. 2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522. (2543). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 117 ตอนที่ 75 ก. หน้า 16-30 (7 สิงหาคม 2543).

ทิพวรรณ ลิ้มสัจจาพาณิชย์. (2557). การออกแบบฝ้าเพดานผ้าใบที่ใช้ร่วมกับหิ้งแสงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์จากแสงธรรมชาติสำหรับอาคารสำนักงาน. ใน วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับที่ 2). (2556). เรื่อง แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์อาคารของสถาบันอุดมศึกษา ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 130 ตอนพิเศษ 47 ง. หน้า 19-21 (11 เมษายน).

พิบูลย์ ดิษฐอุดม. (2545). การออกแบบระบบแสงสว่าง. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

เรณุ ด่านกุล. (2545). การออกแบบหิ้งสะท้อนแสงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการนำแสงธรรมชาติมาใช้ในสถานศึกษา: กรณีศึกษาอาคารเรียนระดับมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์สถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาสถาปัตยกรรมเขตร้อน. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

ศรัญญา ครุวาทนนท์. (2547). การศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้ฝ้าเพดานเพื่อเพิ่มปริมาณแสงสว่างที่เหมาะสมภายในห้องเรียนในเขตกรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์สถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาสถาปัตยกรรมเขตร้อน. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

Baiche, B. & Walliman N. (2012). Architects’ Data. (4th ed.). West Susse: Blackwell Publishing Ltd.

Heschong Mahone Group. (1999). Daylighting in schools: an investigation into the relationship between daylighting and human performance. Retrieved October 19, 2020, from https://www.pge.com/includes/

docs/pdfs/shared/edusafety/training/pec/daylight/SchoolDetailed820App.pdf

Kompier, M. E. et al. (2020). Effects of light transitions on measures of alertness, arousal and comfort. Retrieved October 19, 2020, from https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0031938420303139

Smolders, K. C. H. J. et al. (2013). Daytime light exposure and feelings of vitality: Results of a field study during regular weekdays. Journal of Environmental Psychology, 36(2013), 270-279.

Thomson, G. (1989). The museum environment. London: Butterworth-Heinemann.

Vandewalle, G. et al. (2006). Daytime Light Exposure Dynamically Enhances Brain Responses. Current Biology, 16(16), 1616-1621.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

09/11/2021

How to Cite

โตตุ้ม พ. ., ทวยเจริญ น., & ยิ้มประยูร ช. (2021). แนวทางการออกแบบหิ้งแสงสำหรับห้องเรียนปฏิบัติการ ออกแบบสถาปัตยกรรม. วารสารมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(9), 50–65. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/view/249651

ฉบับ

บท

บทความวิจัย