การศึกษาองค์ประกอบของการเผชิญปัญหาทางบวกของนักเรียน หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต สังกัดกระทรวงกลาโหม

ผู้แต่ง

  • พจนา เปลี่ยนเกิด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • นฤมล พระใหญ่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • อัจศรา ประเสริฐสิน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

การเผชิญปัญหาเชิงบวก, นักเรียนหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต, กระทรวงกลาโหม

บทคัดย่อ

            บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของการเผชิญปัญหาทางบวกของนักเรียนหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต สังกัดกระทรวงกลาโหม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต สังกัดกระทรวงกลาโหม ชั้นปีที่ 1 - 4 จำนวน 3 แห่ง ประกอบด้วย วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ และวิทยาลัยพยาบาลกองทัพเรือ จำนวน 472 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดการเผชิญปัญหาทางบวกของนักเรียนหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับตามแบบของลิเคิร์ท (Likert) มีจำนวน 40 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.60 - 1.00 มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.24 - 0.73 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิจัยพบว่า โมเดลการวัดการเผชิญปัญหาทางบวกของนักเรียนหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (gif.latex?x^{2}= 1.83 df = 2 p = .39 GFI = 1.00 AGFI = 0.99 CFI = 1.00 RMSEA = 0.00 SRMR = 0.00) แสดงว่า โมเดลมีความเหมาะสมพอดีกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และเมื่อวิเคราะห์โมเดลองค์ประกอบ   เชิงยืนยัน พบว่าการเผชิญปัญหาเชิงป้องกัน มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานสูงสุด (SC = 0.95) รองลงมาคือ การเผชิญปัญหาเชิงรุก (SC = 0.85) การเผชิญปัญหาแบบตอบสนอง (SC = 0.75) และการเผชิญปัญหาที่กำลังจะเกิดขึ้นจริง (SC = 0.55) ตามลำดับ การทำวิจัยครั้งต่อไปควรนำองค์ประกอบการเผชิญปัญหาทางบวกของนักเรียนหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตนั้นไปพัฒนาโปรแกรมการให้คำปรึกษากลุ่ม เพื่อให้นักเรียนหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตให้มีการเผชิญปัญหาทางบวกเพิ่มสูงขึ้น

References

จิตรา สุขเจริญ และคณะ. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดและการเผชิญความเครียดของนักศึกษา ในการฝึกปฏิบัติวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 14(3), 107-118.

ชุติมา อนันตชัย และคณะ. (2555). การศึกษาสาเหตุระดับความเครียดและการเผชิญความเครียดในการฝึกภาคปฏิบัติของนักศึกษาพยาบาลมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล, 1(1), 15-22.

ทัศนา ทวีคูณ และคณะ. (2556). ปัจจัยทำนายความเครียดของนักศึกษาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 22(3), 1-11.

บุญชม ศรีสะอาด. (2538). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาสน์.

เบญจวรรณ วงศ์ปราชญ์. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดและการเผชิญความเครียดของนักเรียนพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก. วารสารพยาบาลทหารบก, (19)2, 201-210.

ปวีณา นพโสตร และคณะ. (2561). ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับความแข็งแกร่งในชีวิตของนักศึกษาพยาบาลมหาวิทยาลัยในกรุงเทพมหานคร. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 26(2), 1-10.

พิไลพร สุขเจริญ และรภัทรภร เพชรสุข. (2559). กระบวนการส่งเสริมความสามารถในการปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐานของนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 22(1), 6-8.

พูลพงศ์ สุขสว่าง. (2556). โมเดลสมการโครงสร้าง. กรุงเทพมหานคร: วัฒนาพาณิช.

มยุรี ยีปาโล๊ะ และคณะ. (2561). สภาพการณ์และความต้องการในการเตรียมความพร้อมเพื่อสอบขึ้นทะเบียนฯ รายวิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่นของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา. วารสาร อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยฟาฏอน, 8(16), 135-143.

ยุพาพร หอมสมบัติ และคณะ. (2561). แนวทางการจัดการความเครียดของนักศึกษาพยาบาลชั้นที่ 2 ในการขึ้นฝึกภาคปฏิบัติครั้งแรก. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์, 2(3), 48-62.

วัลภา ศรีบุญพิมพ์สวย และคณะ. (2559). ความเครียดและการเผชิญความเครียดก่อนการขึ้นฝึกปฏิบัติแผนกห้องคลอดของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอิสเทิร์น, 13(2), 30-38.

สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. (2562). ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สฤษฎ์กานต์ สิทธิไกรวงษ์ และมนัสนันท์ หัตถศักดิ์. (2557). ผลของโปรแกรมกิจกรรมกลุ่มเพื่อนพัฒนาผู้เรียนที่มีต่อความเครียดและการปรับตัวในการเรียนของนักเรียนพยาบาลทหารอากาศชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ กรมแพทย์ทหารอากาศ. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 10(3), 65-71.

สิริทรัพย์ สีหะวงษ์ และคณะ. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. วารสาร มฉก.วิชาการ, 22(42), 103-104.

สุวรรณา เชียงขุนทด. (2562). การพัฒนาโปรแกรมการจัดการความเครียดตามแนวพุทธจิตวิทยาสำหรับนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์, 15(1), 184-195.

อังคณา สุเมธสิทธิกุล และคณะ. (2562). รูปแบบการพัฒนาอัตลักษณ์ของนักเรียนพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก. วารสารพยาบาลตำรวจ, 11(1), 184-197.

อิสริยา รักเสนาะ และคณะ. (2561). ความรู้ ทัศนคติ และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายของนักเรียนพยาบาลทหาร สังกัดกระทรวงกลาโหม ชั้นปีที่ 4. วารสารพยาบาลทหารบก, 19(Supplement), 242-250.

Noorbakhsh, N. et al. (2010). Emotional intelligence and coping styles with stress. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 5(1), 818-822.

Aitken, A. & Crawford, L. H. (2007). Coping with stress: Dispositional coping strategies of project managers. International Journal of Project Management, 25(7), 666-673.

Compton, E. A. (2011). Neural and behavioral measures of error-related cognitive control predict daily coping with stress. PubMed, 11(2), 379-390.

Davis, C. G., et al. (1998). Making sense of loss and benefiting from the experience: Two construals of meaning. Journal of Personality and Social Psychology, 75(2), 561-574.

Greenglass, E. & Frydenberg, E. (2002). Beyond coping: Meeting goals, visions, and challenges. London: Oxford University Press.

Lazarus, R. S. & Folkman, S. (1984). Stress appraisal and coping. New York: Springer Publishing.

Schwarze, R. & Knoll, S. (2007). Positive coping: Mastering demands and searching for maining. In Handbook of Positive Psychological Assessment. Washington, DC: American Psychological Association.

Schwarzer, R. (1999). Positive coping: Mastering demands and searching for meaning Positive Psychological assessment, A handbook of models and measures. Washington DC US: American Psychological Association.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

09/11/2021

How to Cite

เปลี่ยนเกิด พ., พระใหญ่ . น., & ประเสริฐสิน อ. (2021). การศึกษาองค์ประกอบของการเผชิญปัญหาทางบวกของนักเรียน หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต สังกัดกระทรวงกลาโหม. วารสารมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(9), 250–263. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/view/249740

ฉบับ

บท

บทความวิจัย