การพัฒนาระบบโลจิสติกส์เพื่อยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันผลิตภัณฑ์สมุนไพรกรณีศึกษา : กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และพัทลุง

ผู้แต่ง

  • อุธรณ์ แก้วซัง

คำสำคัญ:

ระบบโลจิสติกส์, ความสามารถทางการแข่งขัน, สมุนไพร

บทคัดย่อ

บทความมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาการดำเนินงานระบบโลจิสติกส์ของผลิตภัณฑ์สมุนไพร กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย:ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราชและพัทลุง 2) เสนอแนะแนวทางพัฒนาระบบโลจิสติกส์เพื่อยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันผลิตภัณฑ์สมุนไพร กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย:ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราชและพัทลุง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งมีโครงสร้าง จากผู้มีส่วนเสียในห่วงโซ่อุปทานผลิตภัณฑ์สมุนไพร การเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบลูกโซ่ประกอบด้วย 1) เกษตรกรผู้ปลูกพืชสมุนไพร 2) พ่อค้าคนกลางผู้รับซื้อพืชสมุนไพรและขายวัตถุดิบสำหรับทำผลิตภัณฑ์สมุนไพร 3) ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพร 4) ผู้บริโภคผลิตภัณฑ์สมุนไพร และ 5) หมอพื้นบ้านผู้ใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อการรักษาโรค จำนวน 29 ท่าน ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลแบบการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาการดำเนินงานระบบโลจิสติกส์ของผลิตภัณฑ์สมุนไพร ประกอบด้วย 1.1) ปัญหาการดำเนินงานระบบโลจิสติกส์ของผลิตภัณฑ์สมุนไพรด้านการบริหาร 1.2) ปัญหาการดำเนินงานระบบโลจิสติกส์ของผลิตภัณฑ์สมุนไพรด้านการตลาด 1.3) ปัญหาการดำเนินงานระบบโลจิสติกส์ของผลิตภัณฑ์สมุนไพรด้านบุคลากร 1.4) ปัญหาการดำเนินงานระบบโลจิสติกส์ของผลิตภัณฑ์สมุนไพรด้านการผลิตและ 2) แนวทางพัฒนาระบบโลจิสติกส์เพื่อยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันของผลิตภัณฑ์สมุนไพร ได้แก่ 2.1) การพัฒนาการประยุกต์ใช้ความรู้ภูมิปัญญาสมุนไพร เพื่อผสมผสานองค์ความรู้เก่าด้านสมุนไพรกับองค์ความรู้ด้านการแพทย์สมัยใหม่เข้าด้วยกัน 2.2) การพัฒนาเครือข่ายผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อร่วมมือกันแก้ไขปัญหาและแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์แสวงหาแนวทางในการแก้ปัญหา 2.3) การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมเพื่อสร้างสิ่งใหม่หรือการทำให้แตกต่างจากคนอื่น และ 2.4) การพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนผู้ประกอบการของชุมชน

References

ธันยมัย เจียรกุล.(2557).ปัญหาและแนวทางการปรับตัวของ OTOP เพื่อพร้อมรับการเปิด AEC.วารสารนักบริหาร,34(1),177-191.
ภิษณี วิจันทึก. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรของประชาชน บ้านหนองบัวศาลา จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า, 31(1), 12-21
รัชนี เพ็ชร์ช้าง (2559). การบริหารจัดการธุรกิจสมุนไพร เพื่อส่งเสริมอาชีพท้องถิ่น จังหวัดอุตรดิตถ์ แบบครบวงจร. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 8(1), 57-72.
วลีรักษ์ สิทธิสม. (2554).การศึกษาสภาพการบริหารจัดการสินค้า OTOP ในจังหวัดนนทบุรี. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 10(2), 117-125.
สุรศักดิ์ อำนวยประวิทย์.(2559).กลยุทธ์การเข้าถึงแหล่งเงินทุนของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร การเข้าถึงแหล่งเงินทุนของผู้ประกอบการ.วารสารวิชาการ RMUTT Global Business and Economics Review, 11(1), 1-14
Adler, P. S., & Kwon, S. W. (2002). Social capital: Prospects for a new concept. Academy of management review, 27(1), 17-40.
Al Saifi, S. A. (2015). Positioning Organizational culture in knowledge management research. Journal of Knowledge Management, 19(2), 164-189.
Barraket, J., & Archer, V. (2010). Social inclusion through community enterprise: Examining the available evidence. Third Sector Review, 16(1), 13-28.
Borozan, D., &Funaric, M. R. (2016). Social capital in Croatia: Measurement and regional distribution. Innovation: The European Journal of Social Science Research, 29(4), 481-505.
Blair, D. C. (2002). Knowledge Management: Hype, hope, or help. Journal of the American Society for Information Science and Technology, 53(12), 1019-1028.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

04/26/2021

How to Cite

แก้วซัง อ. . (2021). การพัฒนาระบบโลจิสติกส์เพื่อยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันผลิตภัณฑ์สมุนไพรกรณีศึกษา : กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และพัทลุง. วารสารมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(4), 39–50. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/view/249850

ฉบับ

บท

บทความวิจัย