ปัจจัยที่มีผลต่อปัญหาในการจัดทำบัญชีของสำนักงานบัญชีในจังหวัดภาคใต้

ผู้แต่ง

  • นวพร ขู้เปี้ยเต้ง

คำสำคัญ:

ปัจจัย, ปัญหาในการจัดทำบัญชี, สำนักงานบัญชี, จังหวัดภาคใต้

บทคัดย่อ

บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อปัญหาในการจัดทำบัญชีของสำนักงานบัญชีในจังหวัดภาคใต้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา คือผู้ทำบัญชีที่ปฏิบัติงานในสำนักงานบัญชี ในจังหวัดภาคใต้ จำนวน 185 ราย ผู้วิจัยได้กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน่ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ผลโดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์เบื้องต้นด้วยค่าสถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ความเป็นอิสระของตัวแปรสาเหตุด้วยค่าสถิติองค์ประกอบการขยายความแปรปรวนเพื่อทดสอบความเป็นอิสระของตัวแปรสาเหตุ และทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ

ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยด้านความรู้ทางการตรวจสอบ และด้านความรู้ทางภาษีอากร ส่งผลต่อปัญหาในการจัดทำบัญชีในด้านการปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี และด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดทำบัญชี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อปัญหาในการจัดทำบัญชีของสำนักงานบัญชีในจังหวัดภาคใต้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ ปัจจัยด้านความรู้ทางการบัญชี และความรู้ทางภาษีอากร มีผลต่อปัญหาในการจัดทำบัญชีด้านการประสานงานกับลูกค้า ปัจจัยด้านความรู้ทางภาษีอากรมีผลต่อปัญหาในการจัดทำบัญชีด้านผู้ปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชี และปัจจัยด้านความรู้ทางการบัญชีมีผลต่อปัญหาในการจัดทำบัญชีด้านมาตรฐานการบัญชี ซึ่งเมื่อพิจารณาในภาพรวมพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อปัญหาในการจัดทำบัญชีของสำนักงานบัญชีในจังหวัดภาคใต้มากที่สุดคือ ปัจจัยด้านภาษีอากร ซึ่งมีผลต่อปัญหาในด้านการประสานงานกับลูกค้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และมีผลต่อปัญหาในด้านผู้ปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชี และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

 

References

กนกวรรณ วุฒิกนกกาญจน์. (2560). ปัญหาและอุปสรรคในการจัดทำบัญชีของสำนักงานบัญชีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. วารสารสยามวิชาการ มหาวิทยาลัยสยาม, 18(31), 1-19.
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2556). กฎกระทรวงว่าด้วยการยกเว้นไม่ต้องจัดให้งบการเงินได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต พ.ศ. 2544 เรียกใช้เมื่อ 8 กันยายน 2563 จากhttp://www.dbd.go.th/ewt_news.php?nid=1079
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2563). รายชื่อสำนักงานบัญชีในแต่ละจังหวัด เรียกใช้เมื่อ 10 กรกฎาคม 2563 จาก https://www.dbd.go.th/news_view.php?nid=469403169
ชลกนก โฆษิตคณิน และคณะ. (2560). ปัญหา อุปสรรคและแนวทางการพัฒนาการจัดทำบัญชีวิสาหกิจชุมชนจังหวัดนครปฐม. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal มหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(3), 2138-2151.
นิพันธ์ เห็นโชคชัยชนะ และศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2563). การสอบบัญชี. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: ที พี เอ็น เพรส.
ปรัศนี กายพันธ์และคณะ. (2558). ปัญหาในการจัดทำบัญชีของสำนักงานบัญชีในเขตภาคใต้. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. สงขลา.
ปรัศนี กายพันธ์และนธี เหมมันต์. (2557). นักบัญชีไทยกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. วารสาร WMS Journal of Management มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 3(3), 14-21.
มาริษา ทิพย์อักษร. (2554). ปัญหาของผู้ทำบัญชีในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการบัญชี: มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.
สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2563). พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 เรียกใช้เมื่อ 8 กันยายน 2563 จาก http://www.fap.or.th/images/pulldown_1362967466/ Act2543.pdf
สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2557). มาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศ ฉบับที่ 2 การพัฒนาทางวิชาชีพระยะเริ่มแรก - ความรู้ความสามารถเชิงเทคนิค (ฉบับปรับปรุง) เรียกใช้เมื่อ 9 พฤศจิกายน 2563 จาก https://www.tfac.or.th/upload/9414/OQdg2sK1Bf.pdf
สุภาพร เพ่งพิศ. (2553). ปัญหาในการจัดทำบัญชีของสำนักงานบัญชีในกรุงเทพมหานคร. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
สำนักกำกับดูแลธุรกิจ. (2553). ปัญหาและข้อบกพร่องที่พบในธุรกิจรับทำบัญชีในปริมาณสูง เรียกใช้เมื่อ 8 กันยายน 2563 จาก https://www.excelthai.com/2010/01/blog-post_22.html
Nunnally, J.C. (1978). Psychometric Theory. New York: McGraw-Hill.
Rorinelli, R.J. and Hambleton, R.K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2(1), 49-60.
Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis. New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

04/26/2021

How to Cite

ขู้เปี้ยเต้ง น. (2021). ปัจจัยที่มีผลต่อปัญหาในการจัดทำบัญชีของสำนักงานบัญชีในจังหวัดภาคใต้. วารสารมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(4), 192–208. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/view/249857

ฉบับ

บท

บทความวิจัย