ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานและกลวิธี อภิปัญญาเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดขั้นสูง ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในอภิปัญญาของนักศึกษาครู ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏ

ผู้แต่ง

  • ภูมิพงศ์ จอมหงษ์พิพัฒน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอน, การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน, การเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน, กลวิธีอภิปัญญา, ทักษะการคิดขั้นสูง

บทคัดย่อ

             บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานและกลวิธีอภิปัญญาเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดขั้นสูง ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในอภิปัญญา ของนักศึกษาครูระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการจัดการเรียนรู้วิชาชีพครู เป็นอาจารย์ จำนวน 118 คน และนักศึกษาชั้นปีที่ 3 จำนวน 345 คน สังกัดคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนใต้ ปีการศึกษา 2562 จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ทดลองรูปแบบการเรียนการสอนเป็นนักศึกษาปริญญาตรี ชั้นปีที่ 3 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จำนวน 65 คน จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 31 คน และกลุ่มควบคุมจำนวน 34 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการจัดการเรียนการสอน โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนปัญหาและแนวทางการจัดการเรียนการสอนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานและกลวิธีอภิปัญญาเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดขั้นสูง ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในอภิปัญญาฯ มี 5 องค์ประกอบดังนี้ 2.1) หลักการ 2.2) วัตถุประสงค์ 2.3) เนื้อหา 2.4) กิจกรรม 2.5) การวัดและประเมินผล 3) ทักษะการคิดขั้นสูง ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในอภิปัญญาหลังเรียนของนักศึกษากลุ่มทดลอง สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2553). 80 นวัตกรรม การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.

ทิศนา แขมมณี. (2544). วิทยาการด้านการคิด. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ บริษัทเดอตะมาสเตอร์กรุ๊ป แมเนจเม้นท์ จํากัด.

ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนภัทร จันทร์เจริญ. (2558). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมี ความหมายและการเรียนรู้อย่างมีความสุข ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. ใน ดุษฎีนิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

นวลพรรณ ไชยมา. (2554). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงสำหรับนักศึกษาสถาบันพลศึกษาวิทยาเขตเพชรบูรณ์. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษา. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

นันทนา ลีลาชัย. (2556). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ โดยผสมผสานแนวคิดอภิปัญญา การเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์และชุมชนการเรียนรู้แบบร่วมงานในชั้นเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

นิพนธ์ บรรพสาร. (2558). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. วารสารบริหารการศึกษา มศว, 12(23), 84-97.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

ปฏิพงศ์ จงรู้ธรรม. (2554). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอนของพนักงานมหาวิทยาลัยสายผู้สอน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ประทวน คล้ายศรี. (2558). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสาน ร่วมกับแนวคิดอภิปัญญา สำหรับนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคะวันออกเฉียงเหนือ. ใน ดุษฎีนิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2557). การพัฒนาการคิด. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

พรรณี ลีกิจวัฒนะ. (2550). วิธีการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

พิเชษฐ เทบำรุง. (2557). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาเคมี ตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้บริบทและปัญหาเป็นฐาน สำหรับนักศึกษาหลักสูตรปริญญาบัณฑิต. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2544). การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ: แนวคิด วิธี และเทคนิคการสอน 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิศมัย อาแพงพันธ์. (2556). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบอิงบริบทเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการถ่ายโอนการเรียนรู้ ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน. ลัยราชภัฏสกลนคร.

มะลิวรรณ ศรีชัยปัญญา. (2550). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เย้ยการเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับสถานการณ์ในชีวิตจริงที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในโรงเรียนสังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาคณิตศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง. (2545). สุดยอดพัฒนา การเรียนการสอน. กรุงเทพมหานคร: เอ็กซเปอร์เน็ทบุคส.

อุษณีย์ โพธิสุข และคณะ. (2544). สร้างสรรค์นักคิด: คู่มือการจัดการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษด้านทักษะความคิดระดับสูง. กรุงเทพมหานคร: บริษัท รัตนพรชัย จำกัด.

Hess, C. & Ostrom, E. (2005). Understanding Knowledge As a Commons: From Theory to Practice. Cambridge, Massachusetts: MIT Press.

Joyce, B. & Weil, M. (2009). Model of teaching. (8th ed). New York: Courtesy of Reece Galleries.

Kruse, K. (2008). Introduction to instructional design and the ADDIE model. Retrieved July 4, 2010, from http://www.e-learningguru.com2article/art2_1.html

Saylor, J. G. (1981). Curriculum planning for better teaching and learning. (4th ed). New York: Holt, Rinehart and Winston.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

09/11/2021

How to Cite

จอมหงษ์พิพัฒน์ ภ. (2021). ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานและกลวิธี อภิปัญญาเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดขั้นสูง ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในอภิปัญญาของนักศึกษาครู ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(9), 310–325. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/view/249896

ฉบับ

บท

บทความวิจัย