โมเดลสมการโครงสร้างของอิทธิพลที่ส่งผลต่อความจงรักภักดี ในองค์กรของพนักงานระดับปฏิบัติการในองค์กรภาคเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ผู้แต่ง

  • รุ่งอรุณ กระแสร์สินธุ์ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น

คำสำคัญ:

โมเดลสมการโครงสร้าง, บรรยากาศองค์การ, ความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน, ปัจจัยในการบริหาร, ความจงรักภักดี

บทคัดย่อ

            บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโมเดลสมการโครงสร้างของอิทธิพลที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีในองค์กรของพนักงานระดับปฏิบัติการในองค์กรภาคเอกชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ พนักงานบริษัทเอกชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 500 คน จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ผลการวิจัย พบว่า โมเดลการวัดบรรยากาศองค์การ โมเดลการวัดความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน โมเดลการวัดปัจจัยในการบริหาร โมเดลการวัดปัจจัยด้านตัวกระตุ้น โมเดลการวัดปัจจัยด้านการบำรุงรักษา และโมเดลการวัดความจงรักภักดีของพนักงาน โดยโมเดลสมการโครงสร้างของอิทธิพลที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีในองค์กรของพนักงานระดับปฏิบัติการในองค์กรภาคเอกชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่พัฒนาขึ้น มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (p = 0.142, CMIN/DF = 1.951, GFI = 0.996, TLI = 0.959, CF I= 0.953, NFI = 0.916, RMSEA = 0.044) โดยบรรยากาศองค์การ ความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน และปัจจัยในการบริหารมีอิทธิพลเชิงบวกต่อปัจจัยด้านตัวกระตุ้น ปัจจัยด้านการบำรุงรักษา ส่วนปัจจัยด้านตัวกระตุ้น ปัจจัยด้านการบำรุงรักษามีอิทธิพลเชิงบวกต่อความจงรักภักดีของพนักงานที่มีต่อองค์กรเช่นกัน ความผันแปรของปัจจัยด้านตัวกระตุ้นเกิดจากอิทธิพลของบรรยากาศภายในองค์กรความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน และปัจจัยในการบริหาร ร้อยละ 13 ความผันแปรของปัจจัยด้านการบำรุงรักษาเกิดจากอิทธิพลของบรรยากาศภายในองค์กร ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานและปัจจัยในการบริหาร ร้อยละ 11 ความผันแปรของความจงรักภักดีของพนักงานที่มีต่อองค์กรเกิดจากอิทธิพลของปัจจัยด้านตัวกระตุ้นและปัจจัยด้านการบำรุงรักษา ร้อยละ 25

References

ชลธิชา ทิพย์ประทุม. (2561). การพัฒนาโมเดลรางวัลภายในเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมความจงรักภักดีต่อองค์การและผลการปฏิบัติงานของพนักงานในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ในประเทศไทย. วารสารวิชาการ มทร.สุวรรณภูมิ(มนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(2), 140-153.

ชลธิชา ทิพย์ประทุม. (2561). รางวัลภายในขององค์กรธุรกิจ: ปัจจัยเชิงสาเหตุและผลลัพธ์. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร, 15(1), 240-254.

ชลธิชา ทิพย์ประทุม เเละคณะ. (2562). การพัฒนาโมเดลการสนับสนุนแรงเสริมและรางวัลภายในที่ส่งผลต่อพฤติกรรมความจงรักภักดีต่อองค์การและผลการปฏิบัติงานของพนักงานในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ในประเทศไทย. วารสารการบัญชีและการจัดการ คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 11(2), 214-229.

ญาณกร ภิญญูวรเมธ และอนุรักษ์ เรืองรอบ. (2560). ปัจจัยการบริหารที่มีผลต่อความจงรักภักดีของพนักงานร้านจำหน่ายสินค้าตกแต่งบ้านในเขตเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 11(ฉบับพิเศษ), 14-23.

ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2551). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

นันทพร ชวนชอบ. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลให้บุคลากรมีความจงรักภักดีกับองค์การอย่างยั่งยืนกรณีศึกษา กองบริหารทรัพยากรบุคคล. ใน วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ สำหรับนักบริหาร. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นิยดา เปี่ยมพืชนะ. (2559). โมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารราชพฤกษ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 14(1), 25-35.

ภาวิณี เพชรสว่าง. (2552). พฤติกรรมองค์การ. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ซีวีแอลการพิมพ์.

มาลิณี ศรีไมตรี เเละคณะ. (2562). อิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์การ ความพึงพอใจในการทำงาน ความผูกพันต่อองค์การที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของพนักงานในสถานประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ภาคการผลิต) เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2. Journal of HR Intelligence, 14 (1), 45-67.

ยุทธ์ ไกยวรรณ์. (2556). การวิเคราะห์สถิติหลายตัวแปรสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิภา จันทร์หล้า. (2559). ความจงรักภักดีของพนักงานที่มีต่อบริษัทโตโยด้า โกเซ เอเชีย จำกัด จังหวัดชลบุรี. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

สรียา บุญธรรม. (2558). บรรยากาศองค์การพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การและความพึงพอใจในงาน: กรณีศึกษาโรงแรมสามพรานริเวอร์ไซด์จังหวัดนครปฐม. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ ภาควิชาจิตวิทยา. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุพิชญา อาชวิรดา. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศในองค์กร. วารสารระบบสารสนเทศด้านธุรกิจ, 2(2), 66-79.

อนิวัช แก้วจํานงค์. (2552). การจัดการทรัพยากรมนุษย์ = Human resource management. สงขลา: ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยทักษิณ.

อัครัช แสนสิงห์. (2560). บรรยากาศองค์กรที่มีผลต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการทำงานของพนักงานประจำสำนักงาน บริษัทเดอะมอลล์กรุ๊ป จำกัด สาขานครราชสีมา. ใน วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

Kline, R. B. (2010). Principles and practice of structural equation modeling. (3rd ed.). New York: Guilford Press.

Anderson, J. C. & Gerbing, D. W. (1988). Structural equation modeling in practice: a review and recommended two-step approach . Psychological Bulletin, 103(3), 411-423.

Chen, Y. S. et al. (2006). The influence of green innovation performance on corporate advantage in Taiwan. Journal of Business Ethics, 67(4), 331-339.

Chester, I. B. (1938). The function of an executive. Cambridge: Harvard University Press.

Comrey, A. L. & Lee, H. B. (1992). A first course in factor analysis. Hillsdale, NJ.: Lawrence Erlbaum.

Comrey, A. L. (1973). A first course in factor analysis. New York: Academic Press.

Crano, W. D. et al. (2015). Principles and methods of social research. (3rd ed). New York: Routledge.

Drydakis, N. (2017). Trans employees, transitioning, and job satisfaction. Journal of Vocational Behavior, 98(February 2017), 1-16.

Frederick, H. et al. (1959). The Motivation of work. New York: John Wiley & Sons.

Hair, J. et al. (2010). Multivariate data analysis. (7thed.). New Jersey: Upper saddle River.

Hair, J. et al. (2006). Multivariate data analysis. (6th ed.). Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.

Hatice. (2012). The influence of intrinsic and extrinsic rewards on employee results : An empirical analysis in turkish manufacturing industry. Article in Business and Economics Research Journal, 3(3), 29-48.

Henseler, J. et al. (2009). The use of partial least squares path modeling in International Marketing. Advances in International Marketing, 20(1), 277-319.

Maslow, A. H. (1954). Motivation and personality. New York: Harpers and Row.

McClelland, D. C. (1962). Business Drive and National Achievement. New York: D. Van Nostrand.

Robbins, S. P. & Coulter, M. K. (2007). Fundamentals of management. (7th ed.). Upper Saddle River, NJ: Pearson-Prentice Hall.

Schumacher, R. E. & Lomax, R. G. (2010). A beginners guide to structural equation modeling: SEM. NewJersey: Lawrence Erlbaum Associates.

Steers, R. M. & Porter, L. W. (1983). Motivation and work behavior (3rd ed.). New York: McGraw - Hill.

Thomas, W. & Tymon, G. (1982). Necessary properties of relevent research : Lessons from recent criticisms of the organizational science. Academy of Management Journal, 7(2), 345-352.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01/31/2022

How to Cite

กระแสร์สินธุ์ ร. (2022). โมเดลสมการโครงสร้างของอิทธิพลที่ส่งผลต่อความจงรักภักดี ในองค์กรของพนักงานระดับปฏิบัติการในองค์กรภาคเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 7(1), 74–91. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/view/249927

ฉบับ

บท

บทความวิจัย