การจัดการเผยแผ่พระพุทธศาสนายุคดิจิทัล

ผู้แต่ง

  • พระครูวินัยธร ปัญญา ปญฺญาวโร (ศรีสมุทร) หน่วยวิทยบริการวิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • บุญเตือน ทรัพย์เพชร หน่วยวิทยบริการวิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การจัดการ, การเผยแผ่, พระพุทธศาสนา, ดิจิทัล

บทคัดย่อ

          บทความวิชาการเรื่อง “การจัดการเผยแผ่พระพุทธศาสนายุคดิจิทัล” มีวัตถุประสงค์ เพื่ออธิบายการจัดการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามยุคสมัยปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ยุคดิจิทัลพุทธศาสนิกชนจะใช้ชีวิตในโลกออนไลน์ หรืออินเทอร์เน็ต เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีเช่น คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ตและโทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นต้น การจัดการเผยแผ่พระพุทธศาสนายุคดิจิทัลของคณะสงฆ์ไทย จึงควรจะต้องมีพระสงฆ์ที่ศึกษาและพัฒนาในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้มากขึ้น ควรจัดให้มีการฝึกอบรมแก่พระสงฆ์สามเณร และพุทธศาสนิกชนที่สนใจ เกี่ยวกับการใช้ คอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ต ในการเข้าถึงและการเผยแผ่พระพุทธศาสนารวมถึงกำหนดแนวปฏิบัติในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นเครื่องมือในการสื่อสารเครือข่าย การส่งข้อมูล ไร้พรมแดน ส่งเสริมและสนับสนุนให้วัด สำนักสงฆ์ที่มีความพร้อมเป็นศูนย์การศึกษาเผยแผ่พระพุทธศาสนาผ่านระบบ E-Learning รวมถึงจัดเป็น สถานที่ปฏิบัติธรรมด้วย และเป็นที่ตั้งของศูนย์การเรียนรู้ การจัดการเผยแผ่พระพุทธศาสนายุคดิจิทัลในช่องทางสื่อโซเชียลต่าง ๆ เช่น ในเฟสบุ๊ค, ไลน์, ยูทูป, และเว็ปไซต์, โดยใช้เป็นทำภาพนิ่ง สื่อวิดีโอสั้น หรือ ไลฟ์สด กิจกรรมที่วัด เช่น วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา งานวันมาฆบูชา งานวันวิสาขบูชา งานวันอาสาฬหบูชา งานสวดมนต์ ข้ามปี เป็นต้น อีกทั้งควรสอดแทรกหัวข้อธรรมนั้น ๆ และขยายใจความข้อธรรมให้เข้าใจง่าย เพื่อให้พุทธศาสนิกชน ได้ฟังธรรมผ่านช่องทางดิจิทัล เป็นการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้กับพุทธศาสนิกชนหรือบุคคลที่สามารถเข้าถึงสื่อสารสนเทศได้ เป็นข้อคิดคติธรรม ละเว้นจากการทำความชั่ว ทำความดี ทำจิตใจให้บริสุทธิ์และประพฤติปฏิบัติธรรมตามหลักคำสอนในการดำเนินชีวิตอย่างปกติสุข

References

กรมการศาสนา. (2540). คู่มือพระสังฆาธิการว่าด้วยเรื่องการคณะสงฆ์และการศาสนา. กรุงเทพมหานคร: กรมการศาสนา.

เกียรติพงษ์ อุดมธนะธีระ. (2561). เทคโนโลยีสารสนเทศ. เรียกใช้เมื่อ 30 ธันวาคม 2563 จาก https://www.iok2u.com/index.php/article/information-technology/183-information-technology-it.

ปิ่น มุทุกันต์. (2533). มุมสว่าง. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: มีเดียโฟกัส.

พจนารถ สุพรรณกุล. (2557). การเผยแผ่พระพุทธศาสนากับเทคโนโลยีสารสนเทศ. เรียกใช้เมื่อ 20 สิงหาคม 2561 จาก http://phd.mbu.ac.th/index.php/2014-08-28-08-57-4/106-2014-09-2008-27-56.

พระครูสังฆรักษ์พิทยา ญาณธโร (ปิยวรากุล). (2561). ศึกษาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในยุคดิจิทัล. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาสมจินต์ สมฺมาปญฺโญ. (2547). วิพากษ์แนวคิดพระพุทธศาสนาสำหรับโลกหลังยุคใหม่. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ). (2540). การเผยแผ่พระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา.

สุรีวรรณ. (2557). เทคโนโลยีและสารสนเทศ. เรียกใช้เมื่อ 20 สิงหาคม 2561 จาก http://sureewan147.blogspot.com/2014/01/facebook-twitter-google-youtubeline.html.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

04/26/2021

How to Cite

ปญฺญาวโร (ศรีสมุทร) พ. ป. ., & ทรัพย์เพชร บ. . (2021). การจัดการเผยแผ่พระพุทธศาสนายุคดิจิทัล. วารสารมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(4), 423–433. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/view/249930

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ