สถานการณ์รายการเกษตรในโทรทัศน์ไทยและรูปแบบการนำเสนอเนื้อหาที่เหมาะสมต่อเกษตรกร
คำสำคัญ:
รายการเกษตร, โทรทัศน์, รูปแบบการนำเสนอเนื้อหา, เกษตรกรบทคัดย่อ
บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจข้อมูลเบื้องต้นของรายการโทรทัศน์ทางการเกษตรไทยที่ออกอากาศระบบแอนะล็อกถึงดิจิทัล และ 2) ศึกษารูปแบบการนำเสนอเนื้อหาที่เหมาะสมต่อเกษตรกร เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยบันทึกข้อมูลรายการลงตารางลงรหัส และการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มเกษตรกรผู้ชมรายการการเกษตรในโทรทัศน์ดิจิทัลจำนวน 20 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) รายการโทรทัศน์ทั้งหมดในปี พ.ศ. 2562 -2563 พบรายการโทรทัศน์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการเกษตรทั้งสิ้น 8 รายการ รวม 355 นาที/สัปดาห์ ในปี พ.ศ. 2559 พบรายการโทรทัศน์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการเกษตรทั้งสิ้น 17 รายการ รวม 805 นาที/สัปดาห์ ในปี พ.ศ. 2551 พบรายการโทรทัศน์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการเกษตรทั้งสิ้น 19 รายการ รวม 512 นาที/สัปดาห์ ด้านช่วงเวลาการออกอากาศรายการการเกษตรทางโทรทัศน์โดยภาพรวมมีความเหมาะสมกับวิถีชีวิตเกษตรกร กล่าวคือ มีการออกอากาศรายการการเกษตรในช่วงเช้าระหว่างเวลา 04.00 - 07.30 น. ช่วงเย็นระหว่างเวลา 16.00 - 21.00 น. ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงเวลาที่เกษตรกรสามารถรับข้อมูลข่าวสารทางการเกษตรจากช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ ได้ 2) รูปแบบการนำเสนอเนื้อหาที่เหมาะสมต่อเกษตรกร ด้านช่องทางการสื่อสาร รายการที่เหมาะสมกับเกษตรกรต้องสามารถกระตุ้นให้เกษตรกรรู้สึกอยากจะแสวงหาข้อมูลด้านการเกษตร โดยช่องทางผ่านสื่อโทรทัศน์และวิทยุเป็นช่องทางที่เกษตรกรให้ความสนใจมากที่สุด แต่ควรเสนอข่าวสารด้านการเกษตรในช่วงเวลาที่เหมาะสมกับเกษตรกร ช่องทางการนำเสนอรายการต้องสามารถเข้าถึงได้ง่าย และค่าใช้จ่ายไม่แพง ด้านสารหรือเนื้อหาในสื่อทุกประเภท ต้องปรับให้เกษตรกรเข้าใจได้ง่าย เหมาะกับระดับการศึกษา ข้อมูลสำคัญที่เกษตรกรต้องการประกอบด้วย ข้อมูลกลางน้ำ เช่น การจัดการศัตรูพืช ฯลฯ และข้อมูลปลายน้ำ เช่น การกระจายผลผลิต ฯลฯ
References
เกศสุดา กันแก้ว. (2554). พฤติกรรมการเปิดรับและใช้ประโยชน์จากสื่อด้านการเกษตรของสมาชิกศูนย์ส่งเสริมและผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชน อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท. ใน วิทยานิพนธ์เกษตรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ธาม เชื้อสถาปนศิริ. (2552). ผลการศึกษารอบที่ 30 รายการเกษตรในฟรีทีวี (ช่อง 3,5,7,9,NBT และทีวีไทย เดือนพฤศจิกายน 2551). ใน โครงการศึกษาและเฝ้าระวังสื่อเพื่อสุขภาวะของสังคม (Media Monitor). สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).
ปทุมมา ลิ้มศรีงาม และ ณัฐกร สงคราม. (2560). สถานการณ์การผลิตรายการโทรทัศน์ทางการเกษตรไทยในระบบทีวีดิจิทัล. .วารสารเกษตรพระจอมเกล้า, 35(1), 109 – 116.
ปรีชา มนิลทิพย์. (2546). ลักษณะการนำข่าวสารการเกษตรจากวิทยุโทรทัศน์ไปใช้ของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรจุน จำกัด ในอำเภอจุน จังหวัดพะเยา. ใน วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาส่งเสริมการเกษตร. มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
พรทิพย์ เย็นจะบก และคณะ. (2547). การสื่อสารเพื่อพัฒนาการเกษตรทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช. ใน รายงานการวิจัย. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว).
สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2563). เกษตรกรไทยมีเท่าไรกัน. เรียกใช้เมื่อ 1 มกราคม 2564 จาก https://marketeeronline.co/archives/161682
สุรฤทธิ์ สุวรรณรัตน์. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตและเผยแพร่รายการโทรทัศน์เชิงเกษตรในประเทศไทย. ใน วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาส่งเสริมการเกษตร. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
อดิพล เอื้อจรัสพันธุ์. (2562). การใช้สื่อทางการเกษตรของเกษตรกรไทย. วารสารศาสตร์, 12(2), 124-164.
Attavanich, W. et al. (2018). Microscopic view of Thailand’s agriculture through the lens of farmer registration and census data. Forthcoming PIER Discussion Paper. Retrieved January 5, 2021, from https://www.pier.or.th /en/?abridged=จุลทรรศน์ภาคเกษตรไทยผ่
Euajarusphan, A. (2018). Agricultural Information Transmission: A Perspective of Thailand Farmer’s Media Usage (Doctoral dissertation). In Ph.D. Dissertation in Communication, Institute of Communication Studies. Communication University of China.
Wulystan, P. M. (2018). The usage of radio and television as agricultural knowledge sources: The case of farmers in Morogoro region of Tanzania. International Journal of Education and Development using Information and Communication Technology (IJEDICT), 14(3), 252-266.