การวิเคราะห์องค์ประกอบสภาพการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูวิทยาศาสตร์ และครูพี่เลี้ยงมหาวิทยาลัยราชภัฏ
คำสำคัญ:
การวิเคราะห์องค์ประกอบ, สภาพการจัดการเรียนรู้, สะเต็มศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของสภาพการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาของนักศึกษาครูวิทยาศาสตร์และครูพี่เลี้ยงของมหาวิทยาลัยราชภัฏ เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณแบบไม่ทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วยนักศึกษาครูวิทยาศาสตร์ที่ปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาในปีการศึกษา 2563 และครูพี่เลี้ยงที่กำกับดูแลให้คำปรึกษานักศึกษาที่ปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาจำนวนจำนวน 315 คน จากมหาวิทยาลัยในเขตจังหวัดภาคใต้ ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามประเมินสภาพการจัดการเรียนรู้ของครูตามแนวทางสะเต็มศึกษา มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ โดยสกัดองค์ประกอบด้วยเทคนิควิธีวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก และหมุนแกนแบบออโธกอนอลด้วยวิธีแวริแมกซ์ และค่าความแปรปรวนค่าไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า สภาพการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาของนักศึกษาครูวิทยาศาสตร์และครูพี่เลี้ยงของมหาวิทยาลัยราชภัฏ มี 3 องค์ประกอบหลักคือ 1) พฤติกรรมการออกแบบการเรียนรู้บูรณาการตามแนวทางสะเต็มศึกษา มี 14 สภาพการจัดการเรียนรู้ 2) พฤติกรรมการอำนวยความสะดวกและให้คำปรึกษาแก่ผู้เรียน มี 11 สภาพการจัดการเรียนรู้ และ 3) พฤติกรรมการประเมินกระบวนการทำงานและผลงานของผู้เรียน มี 9 สภาพการจัดการเรียนรู้ โดยองค์ประกอบทั้ง 3 สามารถร่วมกันอธิบายความสอดคล้องขององค์ประกอบสภาพการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาของนักศึกษาครูวิทยาศาสตร์และครูพี่เลี้ยง ได้ร้อยละ 67.216 ผลการวิจัยนี้แสดงให้ถึงเห็นองค์ประกอบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาที่สำคัญของมหาวิทยาลัยราชภัฏ
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2562). การวิเคราะห์สมการโครงสร้าง (SEM) ด้วย AMOS. (พิมพ์ครั้งที่ 3.). กรุงเทพมหานคร: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้จัดจำหน่าย.
จำรัส อินทลาภาพร. (2558). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้ ตามแนวสะเต็มศึกษา สำหรับครูระดับประถมศึกษา. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร. มหาวิทยาลัยศรีนครินทร-วิโรฒ.
ประเวศน์ มหารัตน์สกุล. (2557). หลักการและวิธีการเขียนงานวิจัย วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์. กรุงเทพมหานคร: ปัญญาชน.
วรกันยา แก้วกลม และคณะ. (2561). สภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาของครูวิทยาศาสตร์ระดับชั้นประถมศึกษา. Veridian e-Journal ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11(3), 2092-2112.
วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2557). การวิจัยทางการบริหารการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 1.). กรุงเทพมหานคร: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ศศิวิมล ว่องวิไล. (2558). การวิเคราะห์องค์ประกอบของกระบวนการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ. Veridian e-Journal ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 8(3), 811-829.
สายฝน แสนใจพรม และน้ำผึ้ง อินทะเนตร. (2560). บทบาทครูพี่เลี้ยงในการส่งเสริมความสามารถด้านการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 11(3), 133-133.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2560-2579). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สุทธิดา จำรัส. (2560). นิยามของสะเต็มและลักษณะสาคัญของกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ., 10(2), 13-34.
อุดมลักษณ์ สรโยธิน. (2560). การพัฒนาตัวบ่งชี้สำหรับการประเมินการจัดการเรียนรู้ของครูตามแนวทางสะเต็มศึกษา. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการวิจัยและพัฒนาศักยภาพมนุษย์. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Bang-Hee, K. & Kim J. (2016). Development and Validation of Evaluation Indicators for Teaching Competency in STEAM Education in Korea. EURASIA Journal of Mathematics, Science & Technology Education, 12(7), 1909-1924.
Comrey, A. L. (1973). A first course in factor analysis. New York: Academic Press.
Hyo-Jeong, S. et al. (2019). What Constitutes Korean Pre-service Teachers’ Competency in STEAM Education: Examining the Multi-functional Structure. The Asia-Pacific Education Researcher, 28(1), 47-61.
Micah, S. et al. (2012). Considerations for Teaching Integrated STEM Education. Journal of Pre-College Engineering Education Research (J-PEER), 2(1), 28-34.