การศึกษาวิเคราะห์เชิงกระบวนการและผลสัมฤทธิ์ของโครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน
คำสำคัญ:
กระบวนการ, ผลสัมฤทธิ์, โครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการดำเนินงานของโครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน และ 2) วิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานโครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นงานวิจัยแบบผสานวิธี ได้แก่ เชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถาม ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียน พระสอนศีลธรรมในโรงเรียน ครูพี่เลี้ยงและผู้บริหาร จำนวน 1,600 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการหา ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เชิงคุณภาพ ใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก โดยสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ นักเรียน พระสอนศีลธรรม ในโรงเรียน ครูพี่เลี้ยงและผู้บริหาร จำนวน 10 รูป/คน โดยนำมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและสรุปเป็นภาพรวม ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการดำเนินงานของโครงการพระสอนศีลธรรม มี 4 ด้าน โดยรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ 1.1) ด้านการบริหารจัดการพระสอนศีลธรรม ( = 3.60, S.D. = .840) 1.2) ด้านการพัฒนาผู้เรียนของพระสอนศีลธรรม (
= 3.63, S.D. = .829) 1.3) ด้านประสิทธิภาพผู้สอนของพระสอนศีลธรรม (
= 3.67, S.D. = .849) และ 1.4) ด้านกระบวนการติดตามควบคุมคุณภาพพระสอนศีลธรรม (
= 3.69, S.D. = .850) 2) ผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานโครงการพระสอนศีลธรรม โดยรวมอยู่ในระดับมาก ทุกกลุ่มคือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูพี่เลี้ยงพระสอนศีลธรรม และนักเรียน มี 4 ด้าน ได้แก่ 2.1) ด้านความรู้นักเรียนเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา 2.2) ด้านทัศนคตินักเรียนที่มีต่อการเรียนวิชาพระพุทธศาสนา 2.3) ด้านพฤติกรรมทางศีลธรรมของผู้เรียน และ 2.4) ด้านประสิทธิภาพการสอนของพระสอนศีลธรรม โครงการพระสอนศีลธรรมเป็นโครงการที่ดีมากเพราะได้ความรู้ เข้าใจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา รู้วิธีการปฏิบัติ เข้าถึงแก่นทางพระพุทธศาสนา ทำให้เด็กมีความเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาและทำหน้าที่ชาวพุทธถูกต้อง
References
กรมการศาสนา เลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ. (2559). แผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 2560 - 2564) ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2559 คณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม . กรุงเทพมหานคร: กรมการศาสนา เลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ.
ครูพี่เลี้ยงพระสอนศีลธรรม. (24 กันยายน 2563). การศึกษาวิเคราะห์เชิงกระบวนการและผลสัมฤทธิ์ของโครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน. (พระศรีธรรมภาณี, ผู้สัมภาษณ์)
ดํารงค์ เบญจคีรี และคณะ. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของโครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน สังกัดมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 8(1), 45-63.
นักเรียน. (24 กันยายน 2563). การศึกษาวิเคราะห์เชิงกระบวนการและผลสัมฤทธิ์ของโครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน. (พระศรีธรรมภาณี, ผู้สัมภาษณ์)
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. (เล่มที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาการพิมพ์.
ผู้บริหารสถานศึกษา. (24 กันยายน 2563). การศึกษาวิเคราะห์เชิงกระบวนการและผลสัมฤทธิ์ของโครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน. (พระศรีธรรมภาณี, ผู้สัมภาษณ์)
พระราชวรเมธี และคณะ. (2563). แผนยุทธศาสตร์การปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา 2560-2564 การนำนโยบายสู่การปฏิบัติ. เรียกใช้เมื่อ 17 กันยายน 2563 จาก https://www.posttoday.com/dhamma/513945
พระสมุห์สมชาย สิริสมฺปนฺโน (มีสุดใจ) และคณะ. (2560). การปฏิบัติงานของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนประเทียบวิทยาทาน อำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2), 491-504.
พระสอนศีลธรรม. (24 กันยายน 2563). การศึกษาวิเคราะห์เชิงกระบวนการและผลสัมฤทธิ์ของโครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน. (พระศรีธรรมภาณี, ผู้สัมภาษณ์)
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555-2559. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). รายงานผลการประเมินโครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สำนักงานพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2557). รายงานผลการประเมินโครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สำนักงานพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2563). รายงานผลการประเมินโครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York: Harper Collins Publishers.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Likert, R. (1967). "The Method of Constructing and Attitude Scale”. In Reading in Fishbeic, M (Ed.), Attitude Theory and Measurement (pp. 90-95). New York: Wiley & Son.