องค์ประกอบที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการเลี้ยงผึ้ง ของเกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้งไทย
คำสำคัญ:
ความสำเร็จในการเลี้ยงผึ้ง, เกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้งไทย, ความสมดุลของระบบนิเวศบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับของคุณสมบัติเกษตรกร การบริหารจัดการงานผึ้ง ความสมดุลของระบบนิเวศ ผลของการตลาด และความสำเร็จในการเลี้ยงผึ้งของเกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้งไทย 2) ศึกษาองค์ประกอบที่ส่งผลต่อความสำเร็จ และ 3) ศึกษาการพัฒนารูปแบบที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการเลี้ยงผึ้งของเกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้งไทย การวิจัยนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน เชิงปริมาณเก็บข้อมูลจากเกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้ง 4 จังหวัด 300 คนสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น โดยแบบสอบถาม ตามเกณฑ์ 20 เท่า 15 ตัวแปร ใช้วิธีการและวิเคราะห์ด้วยแบบจำลองสมการโครงสร้าง เชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญซึ่งเป็นเกษตรกรผู้เป็นเจ้าของฟาร์มผึ้งและผู้ที่ประสบความสำเร็จกำหนดไว้จำนวน 15 คน และวิเคราะห์นำเสนอข้อมูลแบบเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณสมบัติเกษตรกร การบริหารจัดการงานผึ้ง ความสมดุลของระบบนิเวศ และผลของการตลาด อยู่ในระดับมาก ส่วนความสำเร็จในการเลี้ยงผึ้ง อยู่ในระดับมากที่สุด 2) ความสมดุลของระบบนิเวศ มีอิทธิพลรวมสูงสุดต่อความสำเร็จในการเลี้ยงผึ้งของเกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้งไทย รองลงมา ได้แก่ การบริหารจัดการงานผึ้ง คุณสมบัติเกษตรกร และผลของการตลาด และ 3) รูปแบบความสัมพันธ์ขององค์ประกอบด้าน คุณสมบัติเกษตรกร การบริหารจัดการงานผึ้ง ความสมดุลของระบบนิเวศ และผลของการตลาดที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการเลี้ยงผึ้งของเกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้งไทยเป็นแนวทางในการพัฒนาอาชีพการเลี้ยงผึ้งอย่างครบวงจรก่อให้เกิดความสำเร็จอย่างยั่งยืนในอนาคต นำไปพัฒนาการเลี้ยงผึ้งอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นการส่งเสริมเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับเกษตรกรอย่างยั่งยืน ความสำเร็จในการเลี้ยงผึ้ง อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนอื่นที่เหลืออยู่ในระดับมาก
References
ณรงค์ กุลนิเทศ และสุดาวรรณ สมใจ. (2558). ระเบียบวิธีวิจัยชั้นสูง และการออกแบบวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: มาสเตอร์พรินท์ สามเสน.
ธงชัย สันติวงษ์. (2543). การบริหารเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.
นิภาภรณ์ จงวุฒิเวศย์ และคณะ. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของธุรกิจชุมชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 4 (12), 103-111.
ปาริชาติ วลัยเสถียร และคณะ. (2546). กระบวนการและเทคนิคการทำงานของนักพัฒนา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: โครงการเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.).
ภรณี มณีโชติ และคณะ. (2563). การวิเคราะห์โซ่คุณค่าของการเลี้ยงผึ้งแบบธรรมชาติในพื้นที่ป่า: กรณีศึกษาชุมชนห้วยหินลาดใน อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย. วารสารวนศาสตร์ไทย , 39 (1), 165-175 .
วันชัย สุขตาม. (2560). การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม: จากบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 1 (1), 101-110.
วิทวัส ยุทธโกศา. (2558). เลี้ยงผึ้งเพื่อการประกอบอาชีพ. [รายการวิทยุ]. เรียกใช้เมื่อ 17 ตุลาคม 2562 จาก https://www3.rdi.ku.ac.th/?p=19082
สมชาติ กิจยรรยง. (2561). กลยุทธ์ทางการตลาดสำหรับผู้บริหาร. กรุงเทพมหานคร: ส.เอเชียเพลส (1989).
สิริวัฒน์ วงษ์ศิริ และสุรีรัตน์ เดี่ยววาณิชย์. (2555). ชีววิทยาของผึ้ง. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: วี.พริ้นท์ (1991).
สุทธิชัย สุทธิวราภิรักษ์ และคณะ. (2550). สถานการณ์การเลี้ยงผึ้งในประเทศไทย. ใน เอกสารประกอบการสัมมนาแนวทางการเลี้ยงผึ้งสู่มาตรฐานฟาร์มผึ้ง. เชียงใหม่: โรงแรมเชียงใหม่ออคิด.
สุภมาศ อังศุโชติ และคณะ. (2554). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.
สุมิตร คุณเจตน์ และคณะ. (2560). ผลของการลดความชื้นต่อการคงคุณภาพของน้ำผึ้งชันโรง. วารสารแก่นเกษตร, 45 (ฉบับพิเศษ 1), 1355-1359.
Kotler, P. (1997). Marketing management: Analysis, planning, implementation, and control. New Jersey: Prentice Hall.
Kouchner, C. et al. (2018). Sustainability of beekeeping farms: development of an assessment framework through participatory research. In Conference: IFSA 2018: Farming systems facing uncertainties and enhancing opportunities. Chania, Crete Greece.
Nat, S. & David J. L. (2019). Considerations and Factors Influencing theSuccess of Beekeeping Programs in Developing Countries. Retrieved January 20, 2019, from https://www.tandfonline.com/loi/tbee20
Portney, L. G. & Watkins, M. P. (2015). Foundations of clinical research: Applications to practice. (3rded.). Philadelphia: PA: F. A. Davis Company.
The Center for People and Forests. (2017). Enhancing Livelihoods and Markets. Retrieved September 12, 2020, from https://archive.recoftc.org/basic-page/enhancing-livelihoodsand-markets.