การพัฒนาศักยภาพผู้บริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในยุคการศึกษา 4.0 สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในพื้นที่จังหวัดลำพูน

ผู้แต่ง

  • บรรพต บัวผัด มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
  • ชุติมา มุสิกานนท์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

คำสำคัญ:

การพัฒนาศักยภาพ, ผู้บริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก, การศึกษา 4.0, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยฉบับบนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบการพัฒนาศักยภาพผู้บริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในยุคการศึกษา 4.0 2) เพื่อนำเสนอรูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้บริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จากผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารสถานศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้แก่ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้อำนวยการกองการศึกษา ผู้นำเครือข่ายครู ผู้ดูแลเด็ก ในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 21 คน ที่คัดเลือกโดยแบบเจาะจง และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดลำพูน จำนวน 123 คน ที่คัดเลือกโดยการสุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่แบบสอบถามปลายเปิด และแบบสอบถามประมาณค่า กระบวนการวิจัยใช้เทคนิคเดลฟาย สถิติที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับข้อมูลธรรมดา ส่วนข้อมูลซับซ้อน ใช้ค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยควอไทล์ ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาศักยภาพผู้บริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในยุคการศึกษา 4.0 ควรมีองค์ประกอบการพัฒนาศักยภาพผู้บริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในยุคการศึกษา 4.0 ใน 6 ด้าน คือ 1.1) การบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1.2) การบริหารบุคลากร 1.3) การบริหารหลักสูตร 1.4) การบริหารอาคารสถานที่ 1.5) การบริหารสภาพแวดล้อม  1.6) การบริหารความสัมพันธ์ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กกับชุมชน 2) รูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้บริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในยุคการศึกษา 4.0 ควรมีการพัฒนาศักยภาพด้าน การบริหารบุคลากร การบริหารหลักสูตร การบริหารอาคารสถานที่ การบริหารสภาพแวดล้อม การบริหารความสัมพันธ์ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กกับชุมชน ผู้บริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กต้องมีบทบาทในการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตามรูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้บริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในยุคการศึกษา 4.0

References

โพยม จันทร์น้อย. (2560). บทความพิเศษการศึกษา 4.0. กรุงเทพมหานคร: ผู้จัดการออนไลน์.

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น . (2559). มาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ขององค์กรปกครองท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ 2559. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงมหาดไทย.

ขวัญชนก กุลชะโมรินทร์. (2557). การศึกษาและแนวทางการพัฒนาการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตอำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์.

คะนึง สายแก้ว. (2549). ข้อเสนอนโยบายการบริหารจัดการศึกษาปฐมวัยในจังหวัดสุรินทร์ . ใน ดุษฎีนิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัย ขอนแก่น.

จันทิมา จันทร์สุวรรณ. (2558). การบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาล. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จิราวุฒิ สีมารักษ์. (2553). การดำเนินงานจัดการศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตามมาตรฐาน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นในจังหวัดเลย. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

ชุติมา มุสิกานนท์. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารการศึกษาเพื่อพัฒนาเด็กเล็กในศตวรรษที่ 21. วารสารสังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2), 1029 - 1040.

บุษกร สุขแสน. (2557). ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองท้องถิ่น. วารสารบัณฑิตศึกษา มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์, 3(1), 27-46.

รัศมี ตู้จินดา. (2557). การบริหารงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสิงห์บุรี. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

สมาน รังสิโยกฤกษฎ์. (2544). การบริหารงานบุคคล. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2560-2579). กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

สุรีรัตน์ อิ่นคำ. (2558). การพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ, 8(2), 102-118.

อรรจน์ สีหะอำไพ. (2560). ธรรมาภิบาล : บริหารแนวการบริหารยุคใหม่. ใน เอกสารประกอบการบรรยายฝ่าย วิจัยและบริการวิชาการ. มหาวิทยาลัยรังสิต.

Fantuzzo, N. (2010). Family Involvement : A Multivariate Assessment of Family Participation in Early Chlidhood Education. In Doctor of Philosophy. State University.

Pena, C. (2000). Parent Involvement : Influencing Factors and Implications. Journal of Education Research, 94(1), 42-54.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

04/26/2021

How to Cite

บัวผัด บ. ., & มุสิกานนท์ ช. (2021). การพัฒนาศักยภาพผู้บริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในยุคการศึกษา 4.0 สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในพื้นที่จังหวัดลำพูน. วารสารมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(4), 290–306. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/view/250070

ฉบับ

บท

บทความวิจัย