อิทธิพลเชิงสาเหตุของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การจัดการทรัพยากรมนุษย์และนวัตกรรมองค์การที่มีต่อการปรับเปลี่ยนสู่องค์การดิจิทัล ของหน่วยงานในสังกัดการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเขต 1 ภาคเหนือ

ผู้แต่ง

  • ทองศุกร์ วงศ์โสภา มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • อนุรักษ์ อาทิตย์กวิน มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • สุริยจรัส เตชะตันมีนสกุล มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, นวัตกรรมองค์การ, นวัตกรรมองค์การ, การปรับเปลี่ยนสู่องค์การดิจิทัล, การปรับเปลี่ยนสู่องค์การดิจิทัล

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นปัจจัยภาวะผู้นำ การเปลี่ยนแปลง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ นวัตกรรมองค์การและการปรับเปลี่ยนสู่องค์การดิจิทัล 2) เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และนวัตกรรมองค์การที่มีต่อการปรับเปลี่ยนสู่องค์การดิจิทัลของหน่วยงานในสังกัดการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเขต 1 ภาคเหนือ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานที่ไม่ใช่หัวหน้าแผนกมีระดับตั้งแต่ 3 - 7 ของหน่วยงานสังกัดการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเขต 1 ภาคเหนือ จำนวน 500 คน โดยใช้หลักเกณฑ์การกำหนดกลุ่มตัวอย่างของการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถาม เก็บข้อมูลด้วยระบบออนไลน์ และผู้ร่วมสนทนากลุ่มในการวิจัยเชิงคุณภาพจำนวน 40 คนจากกลุ่มเดียวกันที่ไม่ได้ตอบแบบสอบถามผ่านระบบออนไลน์ เป็นตัวแทนเข้าร่วมสนทนาตามการแบ่งหน่วยงานขององค์การ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม AMOS และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิเคราะห์ระดับความคิดเห็นในภาพรวมแต่ละปัจจัยมีค่าเฉลี่ยในระดับมากและพบว่าอิทธิพลเชิงสาเหตุที่มีต่อการปรับเปลี่ยน   สู่องค์การดิจิทัลประกอบด้วย 1) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง 2) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และ 3) นวัตกรรมองค์การ โดยเฉพาะปัจจัยนวัตกรรมองค์การมีอิทธิพลทางตรงมากที่สุด และปัจจัยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มีอิทธิพลรวมมากที่สุดต่อการปรับเปลี่ยนสู่องค์การดิจิทัล ส่วนด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงไม่มีอิทธิพลทางตรงต่อนวัตกรรมองค์การแต่มีอิทธิพลทางอ้อมผ่านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ต่อนวัตกรรมองค์การและการปรับเปลี่ยนสู่องค์การดิจิทัล ผลการวิจัยเป็นองค์ความรู้ใหม่สามารถนำไปพิจารณาเป็นแนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การกำหนดกลยุทธ์ด้านนวัตกรรมขององค์การ และยังสามารถนำไปเป็นแนวทางให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในเขตอื่น ๆ

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2556). การวิเคราะห์ความถดถอยและสหสัมพันธ์เชิงซ้อน การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 14). . กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุล. (2562). การจัดการการเปลี่ยนแปลง. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: บริษัท ซีเอดยูเคชั่นจำกัด.

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค. (2562). รายงานผลการดำเนินงานประจำปี 2562. กรุงเทพมหานคร: กองงานแผนวิสาหกิจฝ่ายนโยบายและยุทธศาสตร์.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2559). ถอดรหัสแนวโน้มใหญ่ของโลกปี 2020: โอกาสและการปรับตัวของธุรกิจในอนาคต. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 3(1), 1-23.

โกศล จิตวิรัตน์. (2562). ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงสู่องค์การดิจิทัลไทยแลนด์ 4.0 ในศตวรรษที่ 21. วารสาร Veridian E Journal ฯ สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 12(6), 1796-1816.

ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี. (2561). ภาวะผู้นำสำหรับผู้บริหารองค์การ. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ปัญญาชน.

ธนพงศ์พรรณ ธัญญรัตตกุล. (2561). Digital Transformation in action. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิช.

พยัต วุฒิรงค์. (2562). การจัดการนวัตกรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 2 ). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ. (2560). หุ่นยนต์แทนแรงงานมนุษย์...มันคือความจริง. เรียกใช้เมื่อ 5 กันยายน 2560 จาก http:// www.nationtv.tv/main/content/economy-business/378553940/

Armstrong, M. (1992). Strategies for Human Resource Management. London: Kogan Page.

Armstrong, M. (2006). Handbook Human Resource Management Practice, (10th ed.). London: Kogan Page.

Bollen, K. A. . (1989). Structural equations with latent variables. New York: Wliey.

Chesbrough, H. (2006). Open Business Models. Boston: Harvard Business School Press.

Cortina, J. M. (1993). What Is Coefficient Alpha? An Examination of Theory and Applications. Journal of Applied Psychology, 78(1), 98-104.

Hair, J. F. et al.,. (2006). Multivariate data analysis. (6th ed.). New Jersey: Pearson Prentice Hall.

Hiatt, J. M. (2006). ADKAR : A Model for Change in Business, Government and Our Community Loveland. Colorado: Prosci Research.

Karimi, J. & Walter, Z. (2015). The role of dynamic capabilities in responding to digital disruption: a factor-based study of the newspaper industry. Journal Management Information System, 32(1), 39–81.

Kinicki, A. (2008). Organizational Behavior: Key Concepts, Skills and Best Practices. 4th ed. Boston: McGraw-Hill Irwin.

Madsen, S. et al. (2007). Influential factors in individual Readiness for change. Journal of Business and Management, 12(2), 93-110.

Mumford, M. D. & Gustafson, S. B. (1998). Creativity syndrome: integration, application, and innovatiom. Psychological, 103(1), 27-43.

Nadler, L. (1984). The Handbook of Human Resource Development. New York: Wiley.

Nastasi, B. K. & Schensul, S. L. (2005). "Contributions of qualitative research o the validity of intervention research". Journal of School Psychology, 43(3), 177-195.

Polychroniou, P. (2008). "Styles of handling conflict in greek organizations: the impact of transformational leadership and emotional intelligence". International Journal of Organizational Behavior, 13(4), 52–67.

Swanson, R. A. & Holton, E. F. (2001). Foundations of Human Resource Development. San Francisco: Berrett-Koehler.

Watkins, K. E. & Marsick, V. J. (1996). Sculpting the Learning Organization: Lesso n in the Art and Science of Systemic Change. New York: Jossey–Bass.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01/31/2022

How to Cite

วงศ์โสภา ท. ., อาทิตย์กวิน อ., & เตชะตันมีนสกุล ส. (2022). อิทธิพลเชิงสาเหตุของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การจัดการทรัพยากรมนุษย์และนวัตกรรมองค์การที่มีต่อการปรับเปลี่ยนสู่องค์การดิจิทัล ของหน่วยงานในสังกัดการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเขต 1 ภาคเหนือ. วารสารมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 7(1), 92–109. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/view/250086

ฉบับ

บท

บทความวิจัย