แนวทางการดำรงชีวิตวิถีใหม่ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนเขตเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี

ผู้แต่ง

  • สุภาภรณ์ โสภา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์สุราษฎร์ธานี
  • สุเทพ สุดเอี่ยม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์สุราษฎร์ธานี
  • สุขอุษา นุ่นทอง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์สุราษฎร์ธานี
  • ภัชลดา สุวรรณนวล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์สุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

การดำรงชีวิต, ชีวิตวิถีใหม่, เศรษฐกิจพอเพียง

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาการดำรงชีวิตวิถีใหม่ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่าง ผลกระทบจากภาวะวิกฤติ โควิด - 19 เจตคติต่อหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ความรู้ในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และการดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3) เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการดำรงชีวิตวิถีใหม่ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนในเขตเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ ประชาชนในเขตเทศบาลนคร สุราษฎร์ธานี ใช้เทคนิควิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ โดยใช้แบบสอบถามและแบบทดสอบเป็นเครื่องมือในการวิจัย มีค่าความเชื่อมั่นแบบสอบถาม 0.92 และแบบทดสอบ 0.60 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน คือ การวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพลเชิงสาเหตุ โดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน เพื่อยืนยันตัวบ่งชี้องค์ประกอบของตัวแปรในโมเดลการวัด ผลการวิจัยพบว่า 1) การดำรงชีวิตวิถีใหม่ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยภาพรวมมีการปฏิบัติในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ได้แก่ ด้านการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ด้านเจตคติต่อหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและผลกระทบจากวิกฤติโควิด - 19 2) ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่าง ผลกระทบจากภาวะวิกฤติโควิด - 19 2.1) ด้านเจตคติต่อหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ ปัจจัยทางเศรษฐกิจ อาชีพ การพึ่งตนเอง และการใช้ชีวิตสายกลาง 2.2) ด้านความรู้ในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2.3) ด้านการดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ ความพอประมาณ และคุณธรรม 3) รูปแบบการดำรงชีวิตใหม่ ประกอบด้วย การใช้จ่าย การดูแลสุขภาพ การอยู่ร่วมกันในสังคม การใช้ชีวิตสายกลางและการทำงานวิถีใหม่

References

กมลรัตน์ ทองสว่าง. (2560). การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในชีวิตประจำวันของประชาชนในเขตอำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ. ใน รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.

กรมควบคุมโรค. (2564). สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย. เรียกใช้เมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2564 จาก https://ddc.moph.go.th/

จรูญ รัตนกาล. (2556). การประยุกต์หลักพุทธธรรมและแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการอยู่ร่วมกันของประชาชนในพื้นที่ตำบลสามบัณฑิต อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ใน รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา.

ฉัตรศิริ ปิยะพิมลสิทธิ์. (2556). การวิเคราะห์เส้นทาง (Path Analysis). ศูนย์การเรียนรู้ทางการวิจัย. เรียกใช้เมื่อ 6 มกราคม 2564 จาก http:// rlc.nrct.go.th/ewt_dl.php?nid=1106.

ดาณุภา ไชยพรธรรม. (2550). เศรษฐกิจพอเพียง: ชีวิตต้องรู้จักพอก่อนที่จะไม่มีอะไรเหลือให้พอ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มายิก.

นภชา สิงห์วีรธรรม และคณะ. (2563). การรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของทันตาภิบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วารสารสถาบันบำราศนราดูร, 14(2), 104-115.

ปรียานุช พิบูลสราวุธ. (2551). คลังหลวงกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโครงการวิจัยเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพมหานคร: โครงการวิจัยเศรษฐกิจพอเพียง.

ผ่องศรี พัฒนมณี. (2559). การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในชีวิตประจำวันของประชาชนหมู่ 3 ตำบลไม้ฝาด อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง. ใน รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยราชมงคลศรีวิชัย.

สุเมธ ตันติเวชกุล. (2554). การทรงงานพัฒนาประเทศของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

เสาวณีย์ อาภามงคล. (2558). ตัวแบบการพัฒนาชุมชนด้วยแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการเมือง. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อภิชิต ดวงธิสาร. (2560). การจัดการเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็งภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีสถาบัน การเรียนรู้เพื่อปวงชน จังหวัดชัยภูมิ. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6 (2), 347-358.

Rothan H. A, & Byrareddy, S. N. (2020). The epidemiology and pathogenesis of coronavirus disease (COVID-19) outbreak. Retrieved May 21, 2021, from https://ddc.moph.go.th/102433.doi:10.1016/j.jaut.2020.102433

Downloads

เผยแพร่แล้ว

10/21/2021

How to Cite

โสภา ส. . ., สุดเอี่ยม ส. ., นุ่นทอง ส. ., & สุวรรณนวล ภ. . (2021). แนวทางการดำรงชีวิตวิถีใหม่ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนเขตเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี. วารสารมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(10), 1–15. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/view/251089

ฉบับ

บท

บทความวิจัย