การพัฒนารูปแบบการสอนลีลาศแบบผสานรูปแบบสำหรับนักศึกษา ระดับปริญญาตรีในรายวิชาหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบ, รูปแบบการสอนลีลาศ, การผสานรูปแบบ, วิชาศึกษาทั่วไปบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนลีลาศแบบผสานรูปแบบสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีในรายวิชาหมวดวิชาศึกษาทั่วไปของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล เป็นการวิจัยเชิงสังเคราะห์ ร่วมกับการวิจัยเชิงประเมิน ด้วยเทคนิคเดลฟายแบบปรับปรุง กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาประกอบด้วย กลุ่มที่ 1 ผู้เชี่ยวชาญในการประเมินคุณภาพของรูปแบบการสอนลีลาศแบบผสานรูปแบบ จำนวน 19 คน กลุ่มที่ 2 ผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวัดผลในรูปแบบการสอนลีลาศแบบผสานรูปแบบ จำนวน 7 คน กลุ่มที่ 3 ผู้สอนลีลาศ จำนวน 3 คน เพื่อหาค่าความเป็นปรนัย และกลุ่มที่ 4 นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำนวน 30 คน เพื่อทดลองใช้แบบประเมินทักษะลีลาศ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ค่าความเที่ยงตรง ค่าความเป็นปรนัย ค่าอำนาจจำแนก และค่าความเชื่อมั่น ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการสอนลีลาศแบบผสานรูปแบบ มี 6 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการ 2) จุดมุ่งหมาย 3) เนื้อหา 4) วิธีการจัดการเรียนรู้ 5) สื่อและอุปกรณ์การสอน และ 6) การวัดและประเมินผล โดยการประเมินคุณภาพของรูปแบบและแผนการจัดการเรียนรู้ทั้ง 16 แผน พบว่า มีความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นประโยชน์ และความเป็นไปได้ โดยมีค่ามัธยฐานอยู่ระหว่าง 4.00-5.00 ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์อยู่ระหว่าง 0.00 - 1.00 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด คือ ค่ามัธยฐานไม่น้อยกว่า 3.50 ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ไม่เกิน 1.50 จึงถือว่ามีคุณภาพผ่านเกณฑ์ประเมินทุกด้าน ในขณะที่ แบบประเมินทักษะลีลาศ มีค่าความเที่ยงตรง 0.86 - 1.00 ค่าความเป็นปรนัย 0.83 - 1.00 ค่าอำนาจจำแนก 0.31 - 0.42 และค่าความเชื่อมั่น 0.83 แบบประเมินความพึงพอใจมีค่าความเที่ยงตรง 0.71 - 1.00 ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดเช่นเดียวกัน
References
กุลิสรา จิตรชญาวณิช. (2562). การจัดการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย. (2560). แนวทางการจัดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่เน้นสมรรถนะทางสาขาวิชาชีพ. เรียกใช้เมื่อ 19 สิงหาคม 2562 จาก https://secondary.obec.go.th/newweb/ wp-content/uploads/2017/12/E-EN21book.pdf
คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2542). พระบรมราโชวาท. เรียกใช้เมื่อ 28 กรกฎาคม 2562 จาก http://www.identity.opm.go.th/identity /content/index.asp
จินตนา สรายุทธพิทักษ์. (2558). โปรแกรมสุขภาพในโรงเรียน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณิรดา เวชญาลักษณ์. (2561). หลักการจัดการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี. (2561). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธงชัย สมบูรณ์. (2562). วาทกรรมการศึกษาไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สุวีริยสาสน์.
บุญเลิศ กระบวนแสง. (2561). โยกย้ายสะโพกกับ"ลีลาศ" วัคซีนต้านโรค-ฝึกการทรงตัว. เรียกใช้เมื่อ 22 ตุลาคม 2563 จาก ttps://www.thaipost.net/main/detail/17332
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินท-รวิโรฒ.
พิชิต ภูติจันทร์. (2549). กีฬาลีลาศ. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.
รังสฤษฏิ์ บุญชลอ. (2551). (2551). ประวัติและการลีลาศ Social Dance. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: สกายบุกส์จำกัด.
วรศักดิ์ เพียรชอบ. (2561). รวมบทความเกี่ยวกับปรัชญา หลักการ วิธีสอนและการวัดเพื่อประเมินผลทางพลศึกษา. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วัชรา เล่าเรียนดี และคณะ. (2560). กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาการคิดและยกระดับคุณภาพการศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เพชรเกษมพริ้นติ้ง กรุ๊ป จำกัด.
สังวร จันทรกร. (2561). ลีลาศเพื่อสุขภาพ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์อินดี้ พริ้นตริ้ง.
สุวิมล ว่องวานิช. (2549). การประเมินอภิมาน. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Bloom, B. J. et al. (1956). Taxonomy of Educational Objectives Handbook I Cognitive Domain. New York: David McKay.
Lasley, T. J. & Matczynski, T. J. . (1997). Strategies for teaching in a diverse society: Instructional models. Belmint. CA: Wadsworth.
Likert, R. A. . (1961). New Patterns of Management. New York: McGraw-Hill Book Company Inc.
Maslow, A. H. (1943). A Theory of Human Motivation. Journal Psychology Review, 50(1), 370 - 396.
Rovinelli, R. J. & Hambleton, R. K. (1997). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2(1), 49 - 60.
Tripp, S. D. & Biche meyer, B. (1990). Rapid - Prototyping: An Alternative Instructional Design-Strategy. Educational Technology Research and Development, 38(1), 31-44.
Wright, J. P. (2013). Social Dance : Steps to Success. Illinois : Human Kinetics, Inc.