การพัฒนารูปแบบการป้องกันการใช้สารเสพติดของวัยรุ่นโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในเขตสุขภาพที่ 8

ผู้แต่ง

  • อณัญญา ขุนศรี มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
  • พรสุข หุ่นนิรันดร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

คำสำคัญ:

รูปแบบการป้องกันการใช้สารเสพติด, วัยรุ่น, ภาคีเครือข่าย

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ พัฒนารูปแบบและประเมินผลรูปแบบการป้องกันการใช้สารเสพติดของวัยรุ่นโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในเขตสุขภาพที่ 8 เป็นการวิจัยและพัฒนาแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์ การป้องกันการใช้สารเสพติดของวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่างเป็นวัยรุ่น 216 คน ภาคีเครือข่าย 15 คน ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบโดยจัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้และทักษะการป้องกันการใช้สารเสพติด กลุ่มตัวอย่าง 35 คน ระยะที่ 3 ประเมินผลรูปแบบ ใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และสถิติ Repeated ANOVA และ MANOVA รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นและผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ ค่าความเชื่อมั่น (gif.latex?\alpha) ทั้งฉบับ 0.77 แบบสัมภาษณ์ตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ IOC ทั้งฉบับ 0.70 ผลการวิจัยพบว่า วัยรุ่นมีความรู้เรื่องสารเสพติด ทักษะการตัดสินใจ ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะการปฏิเสธระดับสูง ความภาคภูมิใจ ระดับไม่แน่ใจ พฤติกรรมการป้องกันการใช้สารเสพติด ระดับปานกลาง รูปแบบการป้องกันการใช้สารเสพติดของวัยรุ่นโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย มี 3 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการ และแนวคิดใช้ของ McKinsey’s 7S Framework; 7S-NIP 2) ใช้กิจกรรม 3 ชุดกิจกรรม 3) ภาคีเครือข่ายจัดทำแผนป้องปรามแหล่งมั่วสุม จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เวทีประกวดเยาวชนต้นแบบ หลังทดลองใช้รูปแบบ 6 สัปดาห์ และ 8 สัปดาห์ วัยรุ่นมีความรู้เรื่องสารเสพติดสูงขึ้น ทักษะการตัดสินใจ ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะการปฏิเสธ และพฤติกรรมการป้องกันการใช้สารเสพติดอยู่ในระดับสูง และสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เพื่อให้การป้องกันการใช้สารเสพติดตามแนวคิด McKinsey’s ประสบผลสำเร็จ ต้องพัฒนาความภาคภูมิใจในตนเองให้กับวัยรุ่น และภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมโดยแท้จริง

References

ชานนท์ มณีศรี. (2558). ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมทักษะชีวิตต่อการป้องกันการเสพสารเสพติดในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี. ใน วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสาธารณสุขศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

บุรฉัตร จันทร์แดง และคณะ. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยงต่อยาเสพติดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่ตะเข็บชนแดนลุ่มน้ำโขง. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา, 14(3), 425-432.

พรสุข หุ่นนิรันดร์ และคณะ. (2562). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานสุขศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์.

วรายุทธ จีนงาม (เครือข่ายผู้ปฏิบัติ). (15 กรกฎาคม 2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้สารเสพติดของวัยรุ่น ปัจจัยภายในชุมชน ปัจจัยภายนอกชุมชนและแนวทางการป้องกันการใช้สารเสพติด. (อนัญญา ขุนศรี, ผู้สัมภาษณ์)

สรวิชญ์ เหล่าดรุณ. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมป้องกันการใช้สารเสพติดในนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาส. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช. มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานเขตสุขภาพที่ 8. (2563). รายงานผลการดำเนินงานเขตสุขภาพที่ 8 สาขายาเสพติด ปี 2563. เรียกใช้เมื่อ 10 เมษายน 2564 จาก https://r8way.moph.go.th/r8way /view_publicize.php?id=1273

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2562). แผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดปี 2561. กรุงเทพมหานคร: สำนักยุทธศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด.

สุกานดา จันทวารีย์ และสุทธิพันธ์ อรัญญวาส. (2560). กลยุทธ์การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันยาเสพติดในสถานศึกษา. วารสารวิชาการธรรมทัศน์, 17 (3), 390–401.

สุภาพร ชินสมพล และคณะ. (2562). การพัฒนาโปรแกรมให้ความรู้เรื่องยาเสพติดของเยาวชนแกนนำเครือข่ายป้องกันปัญหายาเสพติด. ใน เอกสารการประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 6 ประจำปี พ.ศ. 2562 “สังคมผู้สูงวัย : โอกาสและความท้าทายของอุดมศึกษา”. วิทยาลัยนครราชสีมา.

สุวพันธ์ คะโยธา และวุธิพงศ์ ภักดีกุล. (2561). ปัจจัยเสี่ยงต่อการใช้สารเสพติดและปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติตนป้องกันการใช้สารเสพติดของเยาวชนในโรงเรียนมัธยมศึกษาเขตเทศบาล สกลนคร. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร, 21(3), 84-95.

เอกรัตน์ หามนตรี. (2561). ความสำเร็จของชุมชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเยาวชนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดยาเสพติดในจังหวัดอ่างทอง. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 5(2), 434-451.

Anderson, L. W. & Krathwohl, D. R. (2001). A taxonomy for learning, teaching, and assessing: A revision of Bloom’s taxonomy of educational objectives. New York: Addison Wesley Longman.

Best, J. W. (1977). Research in Education (3rd ed). New Jersey: Prentice hall Inc.

Daniel, W. W. (2010). Biostatics: Basic Concepts and Methodology for the Health. New York: John Wiley & Sons.

McKinsey. (2008). McKinsey 7S Framework. Retrieved August 3 , 2020, from http://www. valuebasedmanagement.net/ methods_7S.html

United Nations Office of Drugs and Crime. (2020). World drug report 2019. Geneva: UNODC.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

11/29/2021

How to Cite

ขุนศรี อ., & หุ่นนิรันดร์ พ. . (2021). การพัฒนารูปแบบการป้องกันการใช้สารเสพติดของวัยรุ่นโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในเขตสุขภาพที่ 8. วารสารมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(11), 82–98. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/view/251181