การมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ต่อการพัฒนาทักษะเยาวชนไทย 4.0

ผู้แต่ง

  • ธัญญาลักษณ์ ใจเที่ยง สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, เยาวชนไทย 4.0, ชุมชนเขตพระนคร

บทคัดย่อ

         บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ต่อการพัฒนาทักษะเยาวชนไทย 4.0 2) ศึกษาแนวทาง ปัญหา และข้อเสนอแนะการมี ส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ต่อการพัฒนาทักษะเยาวชนไทย 4.0 เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง แบ่งออก 2 กลุ่ม 1) การวิจัยเชิงปริมาณ คือประชาชน ที่อาศัยในชุมชนเขตพระนคร จำนวน 396 คน กลุ่มที่ 2 การวิจัยเชิงคุณภาพ คือกลุ่มประธานและกรรมการชุมชน/เยาวชนในชุมชน กลุ่มผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มพระสงฆ์ในชุมชน กลุ่มเจ้าพนักงานสำนักงานเขตพระนคร และกลุ่มผู้ประกอบการค้าขายในชุมชน รวมทั้งหมด 49 คน จากวิธีการแบบลูกโซ่ เครื่องมือที่ใช้วิจัยเป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์กึ่งไม่มีโครงสร้าง สถิติการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) การมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ต่อการพัฒนาทักษะเยาวชนไทย 4.0 โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{x} = 3.29, S.D. = 1.07) 2) แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ต่อการพัฒนาทักษะเยาวชนไทย 4.0 ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจอยู่ในลักษณะคณะกรรมการ ด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติด้วยการเปิดโอกาส เปิดใจ ให้ทุกภาคส่วนได้ร่วมแสดงความคิดเห็น เพื่อพัฒนาศักยภาพและสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเยาวชน ด้านการมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ มีทั้งในเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ ด้านการมีส่วนร่วม ในการประเมินผลอยู่ในลักษณะแบบเป็นพี่เป็นน้องกัน ปัญหาของการมีส่วนร่วม การถูกจำกัดด้วยสถานที่ งบประมาณมีไม่เพียงพอ และความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐบาล

References

กนกอร บุญกว้าง และจิณณวัตร ปะโคทัง. (2557). การมีส่วนร่วมการจัดการศึกษาของชุมชน กรณีศึกษา: โรงเรียนบ้านเหมือดขาว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1. Buabandit Journal of Educational Administration, 16(1), 217-226.

กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ ประจำประเทศไทย. (2560). รายงานประชากรไทย พ.ศ. 2561: การลงทุนกับเยาวชน. เรียกใช้เมื่อ 13 ธันวาคม 2562 จาก http://1ab.in/9sc

เกษตรชัย และคณะ. (2560). การพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของเยาวชนไทย 4.0 อย่างครบวงจรและยั่งยืน. เรียกใช้เมื่อ 23 ธันวาคม 2562 จาก http://1ab.in/9r0

จงดี โพธิ์สลัด. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการหมู่บ้านเศรฐกิจพอเพียงต้นแบบ ของอำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.

จินตวีร์ เกษมศุข. (2561). การใช้หลักการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน. วารสารวิชาการมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 26(50), 169-186.

ชวลิต เกตุมงคลสิทธิ์. (2562). การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการชุมชนในการดูแลสิ่งแวดล้อมของชุมชนเขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร. เรียกใช้เมื่อ 9 พฤศจิกายน 2564 จาก http://shorturl.asia/h1CJP

นวมณฑ์ อุดมรัตน์. (2558). การศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ประเพณีตักบาตรพระร้อยทางเรือ: กรณีศึกษาชุมชนเลียบคลองมอญ แขวงทับยาว เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร. เรียกใช้เมื่อ 23 ธันวาคม 2562 จาก http://shorturl.asia/tDHpT

นุชา สระสม. (2560). การมีส่วนร่วมใน “การบริหารแบบบ้าน วัด โรงเรียน” ของโรงเรียนวัด สังกัด กรุงเทพมหานคร. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปมณฑ์ สุภาพักตร์ และคณะ. (2562). การพัฒนาคุณลักษณะผู้นำเยาวชนด้านเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 21(2), 165-175.

พิชญ์สิณี รัตนานุพงศ์ และคณะ. (2564). การพัฒนาศักยภาพกลุ่มแม่บ้านผู้ผลิตภัณฑ์ชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนร่วมพัฒนา เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, 39(1), 61-84.

พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2562). การเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลัง กับ PLC เพื่อการพัฒนา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ลัดดาวรรณ นนปะติ และวัลลภ รัฐฉัตรานนท์. (2559). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลวัดละมุด อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม. วารสารการบริหารปกครอง (Governance Journal), 5(2), 289-305.

วิยาณี ลำลอง. (2560). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาสามปีของเทศบาลตำบลลำพาน อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ศราวุฒิ ดาวกรงแก้ว. (2563). การมีส่วนรวมของประชาชนในการจัดทำแผนชุมชน: กรณีศึกษาเขตประเวศ กรุงเทพมหานคร. เรียกใช้เมื่อ 9 พฤศจิกายน 2564 จาก http://shorturl.asia/IwNzP

สาลี อุตมุล และคณะ. (2560). รูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคีชุมชนในเขตเทศบาลตำบลกุดดินจี่เพื่อเสริมสร้างบทบาทเยาวชนในการพัฒนาท้องถิ่น อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.). เรียกใช้เมื่อ 5 มกราคม 2563 จาก http://shorturl.asia/d7bhI

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ. (2561). โครงการบริการวิชาการเพื่อสร้างสรรค์สังคม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561. เรียกใช้เมื่อ 3 ตุลาคม 2563 จาก http://shorturl.asia/SzLtO

อมรวิชช์ นาครทรรพ. (2549). เด็กไทยในมิติวัฒนธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.

อาภรณ์ ดีนาน. (2551). แนวคิดและวิธีการส่งเสริมสุขภาพวัยรุ่น. ชลบุรี: ไฮเดน กรุ๊ป ปริ้นท์แอนด์มีเดีย.

Cohen, J. M. & Uphoff, N. T. (1977). Rural Development Participation: Concepts and Measures for Project Design, Implementation and Evaluation. New York: the Rural Development Committee Center for international studies, Cornell University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

12/29/2021

How to Cite

ใจเที่ยง ธ. . . (2021). การมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ต่อการพัฒนาทักษะเยาวชนไทย 4.0. วารสารมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(12), 330–346. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/view/251837

ฉบับ

บท

บทความวิจัย