ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดนครปฐม
คำสำคัญ:
ปัจจัยเชิงสาเหตุ, คุณภาพชีวิต, ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2บทคัดย่อ
บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับปัจจัยเชิงสาเหตุและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่พัฒนาขึ้นจากข้อมูลเชิงประจักษ์และอธิบายเส้นทางอิทธิพลของปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ใช้การวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรคือผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) จังหวัดนครปฐม อายุ 45-79 ปี ตัวอย่าง 833 คน สุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิและสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือใช้แบบสอบถามมีความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและเส้นทางอิทธิพล ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยเชิงสาเหตุทุกตัวและคุณภาพชีวิต อยู่ในระดับปานกลาง โมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มี relative Chi-Square = 1.99 CFI = 1.00 GFI = 0.98 AGFI = 0.95 RMSEA = 0.04 และ SRMR = 0.03 และปัจจัยความรอบรู้โรคเบาหวาน แรงจูงใจในการป้องกันภาวะแทรกซ้อน การสนับสนุนทางสังคมมีอิทธิพลทางตรงต่อวิถีชีวิตเพื่อสุขภาพ สัมประสิทธิ์อิทธิพล 0.11 0.16 และ 0.26 มีอิทธิพลทางอ้อมต่อคุณภาพชีวิต สัมประสิทธิ์อิทธิพล 0.09 0.14 และ 0.23 วิถีชีวิตเพื่อสุขภาพมีอิทธิพลทางตรงต่อคุณภาพชีวิต สัมประสิทธิ์อิทธิพล 0.88 ตัวแปรในโมเดลเส้นทางอิทธิพลสามารถอธิบายความแปรปรวนของคุณภาพชีวิตได้ร้อยละ 79 เสนอแนะให้ผู้รับผิดชอบงานโรคเบาหวานของ รพ.สต. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีวิถีชีวิตเพื่อสุขภาพ โดยสร้างโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้โรคเบาหวาน แรงจูงใจในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนและสร้างการมีส่วนร่วมสนับสนุนทางสังคม ซึ่งส่งผลให้ผู้ป่วยมีระดับคุณภาพชีวิตสูงขึ้น
References
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563). กลุ่มรายงานมาตรฐานการป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อสำคัญ. เรียกใช้เมื่อ 18 มกราคม 2563 จาก https://www.hdcservice. moph.go.th
__________. (2563). แนวทางการดำเนินงาน NCD Clinic Plus ปี 2563. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.
ปัฐยาวัชร ปรากฎผลและคณะ. (2558). คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีและไม่มีภาวะแทรกซ้อนและแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคเรื้อรัง. ใน รายงานการวิจัย วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีพระพุทธบาท. สถาบันพระบรมราชชนก.
วิชัย เอกพลากร. (2559). การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. นนทบุรี: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.
สุนทรี สุรัตน์. (2561). ผลของการประยุกต์ใช้โปรแกรมทฤษฎีแรงจูงใจต่อพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตำบลแม่คำ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น, 25(3), 11-18.
สุภมาส อังศุโชติ. (2557). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ : เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: เจริญมั่นคงการพิมพ์.
สุวรรณี สร้อยสงค์และคณะ. (2562). คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารโรคและภัยสุขภาพ, 13(2), 37-49.
อภิญญา ศิริพิทยาคุณกิจ. (2010). แรงสนับสนุนทางสังคม: ปัจจัยสำคัญในการดูแลผู้ที่เป็นเบาหวาน. วารสารRama Nurs, 16(2), 309-322.
อัจฉรา สุวรรณนาคินทร์. (2559). คู่มือการพยาบาล การดูแลเท้าเพื่อป้องกันการเกิดแผลในผู้เป็นเบาหวาน. มหาวิทยาลัยมหิดล: คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล.
American College. (2019). Lifestyle Medicine. Retrieved September 20, 2019, from http://www.lifestylemedicine.org
Bishwajit, G. et al. (2016). Lifestyle Behaviors, Subjective Health, and Quality of Life amongChinese Men Living With Type 2 Diabetes. American Journal of Men s Health, 8(1), 1-8.
Bloom, B. et al. (1971). Hand book on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw-Hill.
Dunn, S. & Rogers, R. W. (1988). Protection Motivation Theory and preventive health : Beyondthe Health Belief Model. Health Education Research, 1(3), 153–161.
Eun Hyun, L. et al. (2016). A Structural Equation Model Linking Health Literacy to Self - efficacy, Self-care Activities, and Health-related Quality of Life in Patients with Type 2 Diabetes. Asian Nursing Research Journal, 10(2), 82-87.
House, J. S. et al. (1988). Structures and Processes of Social Support. Annual Review of Sociology, 14(1), 293-318.
International Diabetes Federation. (2019). IDF DIABETES ATLAS Nine Edition. Retrieved July 15, 2020, from http://www.diabetesatlas.org
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educationand Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Nutbeam, D. (2000). Health Literacy as a public health goal: a challenge for contemporaryhealth education and communication strategies into health 21st century. London: Health Promotion International.
World Health Organization. (1998). Healthy Living adopted by the WHO Regional Committee for Europe at its forty-eighth session. Copenhagen: World Health Organization.
__________ (2012). WHOQOL User Manual. Copenhagen: World Health Organization.
__________ (2019). Classification of Diabetes Mellitus 2019. Copenhagen: World Health Organization.
Yin Mon, M. K. (2016). Factors Predicting Health-Related Quality of Life in Patients with Type 2Diabetes in Myanmar. Nursing Science, 36(4), 18-27.