คุณลักษณะและโครงสร้างราคาห้องชุดพักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

  • ประเสริฐ สุมะนัสชัย วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • ถนอมศักดิ์ สุวรรณน้อย วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • กอบกูล จันทรโคลิกา วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • ธาตรี จันทรโคลิกา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • พาสน์ ทีฆทรัพย์ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด

คำสำคัญ:

สังคมผู้สูงอายุ, ที่พักสำหรับผู้สูงอายุ, แบบจำลอง ฮีโดนิคส์, การบริการทางการแพทย์

บทคัดย่อ

            บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างราคาและคุณลักษณะกายภาพของห้องชุดพักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งการศึกษาคุณลักษณะทางกายภาพอาคาร จะประกอบด้วย พื้นที่ใช้สอยสิ่งอำนวยความสะดวก และการบริการต่าง ๆ โดยวิธีวิจัยจะศึกษาเปรียบเทียบและความสัมพันธ์ระหว่าง ราคากับคุณลักษณะทางกายภาพ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (สุ่มแบบขยายพื้นที่จากพื้นที่ศูนย์กลาง) สุ่มได้ประชากรกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 194 ตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างคือห้องพัก จาก 62 โครงการ ซึ่งแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ โดยกลุ่มแรกมี 1 โครงการ มีคุณลักษณะเฉพาะและการบริการสำหรับผู้สูงอายุ คือ Jin Wellbeing County มีห้องพักอาศัย 4 ประเภทโครงการนี้นับเป็นพื้นที่ศูนย์กลางของการสุ่ม และกลุ่มที่ 2 มี 61 โครงการที่มีคุณลักษณะทางกายภาพอาคารใกล้เคียงกับกลุ่มแรกแต่ไม่มีการบริการสำหรับผู้สูงอายุกลุ่มที่ 2 แบ่งเป็น 3 กลุ่มย่อยจากการแบ่งพื้นที่ 3 โซนจากศูนย์กลางแต่ละโซนประมาณ 20 โครงการ โดยเลือกโดย Google map ใช้ functionnear by รวบรวมได้ 24 ตัวแปรการเก็บข้อมูลวิจัยจากราคาขายจากเว็ปไซต์ต่าง ๆ ในกรณีโครงการใหม่,ราคาขายห้องพัก เครื่องมือวิจัยได้แก่ แบบสำรวจ การสังเกต Hedonic Pricing Model (HPM) และใช้การวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการสมการเชิงเส้นผลการวิจัย พบว่า คุณลักษณะห้องพักผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์กับราคาที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุในประเทศไทยประกอบด้วย 4 คุณลักษณะหลัก 1) การบริการทางการแพทย์และการพยาบาล 2) พื้นที่สันทนาการและกิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุ 3) ความเป็นอาคารสูงสะท้อนถึงภาวะความเป็นส่วนตัวและเพื่อนบ้านและ 4) ค่าส่วนกลาง สะท้อนระดับความหรูหราของโครงการ ซึ่งในแต่ละปัจจัยมีมูลค่าทางด้านราคาที่แตกต่างกัน

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2564). มาตรการขับเคลื่อนระเบียบวาระแห่งชาติ เรื่อง สังคมสูงอายุ (ฉบับปรับปรุง). เรียกใช้เมื่อ 21 กรกฎาคม 2564 จาก http://www.dop.go.th/download/knowledge/th1551432930-155_0.pdf

กรมสุขภาพจิต. (2563). ก้าวย่างของประเทศไทยสู่‘สังคมผู้สูงอายุ’อย่างสมบูรณ์แบบ. เรียกใช้เมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2564 จาก https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30476

จุฑาทิพย์ บำเพ็ญบุญ. (2559). ปัจจัยกำหนดราคาคอนโดมิเนียมแนวรถไฟฟ้าสายสีม่วง. ใน วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์. มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.

บุษยากรณ์ ดรุณวัต. (2560). การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยหลังเกษียณอายุ กรณีศึกษาประชากรกลุ่ม B ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. ใน สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงกลยุทธ์. มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2562). รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ปี 2562. เรียกใช้เมื่อ 24 มีนาคม 2563 จาก https://www.dop.go.th/download/knowledge/th1610945020-322_0.pdf

เสาวลักษณ์ กิตติญาณปัญญา. (2562). การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกที่อยู่อาศัยผู้สูงอายุของกลุ่มผู้สูงอายุในอนาคตในกรุงเทพมหานคร. ใน สารนิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Antti, T. K. & Tanja, T. (2016). The impact of senior house developments onsurrounding residential property values. PropertyManagement, 34(5), 415-433.

Chaulagain, S. et al. (2021). Factors affecting seniors’ decision to relocate to senior living communities. Retrieved January 24, 2021, from https://doi.org/10.1016/j.ijhm.2021.102920

Chen, C. & Rothschild, R. (2010). An application of hedonic pricing analysis to the case of hotel rooms in Taipei. Tourism Economics, 16(3), 685-694.

EnviorLiving.org a Centerfield Media Company. (2021). Types of Senior Living and Levels of Senior Car. Retrieved December 11, 2020, from http://www.seniorliving.org/infographics/senior-living-type-versus-cost/

Fischer, M. M. & Nijkamp, P. (2014). Housing Choice Residential Mobility and Hedonic Approaches. Retrieved December 11, 2020, from https://ur.booksc.eu/book/22311108/70f71b

Google. (2021). Near by jin wellbeing county. Retrieved January 24, 2021, from https://www.google.co.th/maps

J.M.A.I.K. Jayalath. (2016). Determinants of Market Value for Condominium Properties: Case Study in Dehiwala, Colombo. Retrieved December 11, 2020, from https://papers.ssrn.com/sol3/papers.cfm?Abstractid=2909745

Li, H. et al. (2018). Analyzing housing prices in Shanghai with open data: Amenity, accessibility and urban structure. Retrieved January 24, 2021, from https://doi.org/10.1016/j.cities.2018.11.016

Murphy, R. E. (1975). The American City: An Urban Geography. (2nd Ed.). Newyork: McGrawHill.

Rosen, S. (1974). Hedonic Prices and Implicit makets: product differentiation in pure competition. Journal of Political Economy, 82(1), 34-55.

Sutthichai, J. & Suvinee, W. (2009). National Policies and Programs for the Aging Population in Thailand. Ageing Int, 33(1-4), 62-74.

Yuan, F. et al. (2019). Amenity effects of urban facilities on housing prices in China: Accessibility, scarcity, and urbanspaces. Retrieved February 18, 2021, from https://doi.org/10.1016/j.cities.2019.102433

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01/31/2022

How to Cite

สุมะนัสชัย ป. ., สุวรรณน้อย ถ., จันทรโคลิกา ก., จันทรโคลิกา ธ., & ทีฆทรัพย์ พ. (2022). คุณลักษณะและโครงสร้างราคาห้องชุดพักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุ. วารสารมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 7(1), 45–59. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/view/252518

ฉบับ

บท

บทความวิจัย