การศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของการบริหารจัดการเชิงรุกโรงเรียนผู้สูงอายุเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันทางใจและประสิทธิผลของโรงเรียน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คำสำคัญ:
องค์ประกอบ, ตัวบ่งชี้, การบริหารจัดการเชิงรุก, โรงเรียนผู้สูงอายุ, ภูมิคุ้มกันทางใจบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของการบริหารจัดการเชิงรุกโรงเรียนผู้สูงอายุเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันทางใจและประสิทธิผลของโรงเรียนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบแบบผสานวิธีโดยการวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้การบริหารจัดการเชิงรุกของโรงเรียนผู้สูงอายุเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันทางใจและประสิทธิผลของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน เจ้าหน้าที่ พนักงานและวิทยากรจิตอาสาในโรงเรียนผู้สูงอายุ จำนวน 520 คน สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามแบบสัมภาษณ์สถิติที่ใช้ คือค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปผลการวิจัยพบว่าองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของการบริหารจัดการเชิงรุกโรงเรียนผู้สูงอายุเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันทางใจและประสิทธิผลของโรงเรียนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมี 3 องค์ประกอบ 12 ตัวบ่งชี้ดังนี้ 1) องค์ประกอบการบริหารจัดการเชิงรุก ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ 1.1) การสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ 1.2) สมรรถนะของโรงเรียน 1.3) ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหาร และ 1.4) การจัดกระบวนการการเรียนรู้ 2) องค์ประกอบการสร้างภูมิคุ้มกันทางใจ ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ 2.1) การควบคุมสมาธิ 2.2) การเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรค 2.3) การควบคุมเจตคติ และ 2.4) ความมั่นใจตนเอง 3) องค์ประกอบประสิทธิผลของโรงเรียนผู้สูงอายุ ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ 3.1) ผู้เรียนมีทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่น 3.2) ผู้เรียนมีสุขภาวะทางจิตที่ดี 3.3) ผู้เรียนมีทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ และ 3.4) ผู้เรียนมีสุนทรียภาพโมเดลสมการโครงสร้างประสิทธิผลของโรงเรียนผู้สูงอายุมีค่าความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างตามเกณฑ์ที่กำหนด ได้แก่ χ2 = 52.246, df = 36, P - Value = 0.087, CFI = 0.968, TLI = 0.972, SRMR = 0.035, RMSEA = 0.039 และ χ2/df = 1.451<2 และมีความเชื่อมั่นเชิงโครงสร้าง เท่ากับ 0.981>0.60 แสดงว่าโมเดลประสิทธิผลของโรงเรียนผู้สูงอายุมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์
References
กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2559). การดำเนินงานด้านผู้สูงอายุของประเทศไทยตามแผนปฏิบัติการระหว่างประเทศมาดริดว่าด้วยเรื่องผู้สูงอายุ พ.ศ. 2545 - 2559. เรียกใช้เมื่อ 14 กันยายน 2562 จาก http://www.dop.go.th/upload/laws/law_th_20161107085040_1.pdf
กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2560). ยุทธศาสตร์กรมกิจการผู้สูงอายุ 20 ปี ประจำปี พ.ศ. 2561 - 2580. เรียกใช้เมื่อ 10 กันยายน 2562 จาก http://www.dop.go.th/download/knowledge/th1539326153-138_0.pdf
โกสินล์ ชี้ทางดี. (2562). แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานโรงเรียนผู้สูงอายุในจังหวัดลพบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 11(2), 325-336.
จารุกัญญา อุดานนท์ และสุกัญญา เอมอิ่มธรรม. (2562). ตัวชี้วัดการประเมินผลการดำเนินงานของโรงเรียนผู้สูงอายุต้นแบบในประเทศไทย. วารสารการบริหารปกครอง, 8(2), 107-136.
ชมพูนุท พรหมภักดิ์. (2556). การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.
ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน. (2556). การประยุกต์ใช้ SPSS วิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัย. มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.
เบญจมาศ เมืองเกษม. (2562). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุในการพัฒนาคุณภาพชีวิต จังหวัดเชียงราย. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 11(1), 49-58.
ประเวศ เวชชะ และคณะ. (2563). แนวทางการจัดกิจกรรมและการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของโรงเรียนผู้สูงอายุที่มีผลการปฏิบัติเป็นเลิศ วัดหัวฝาย อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 14(4), 14-24.
สุภมาส อังศุโชติ และคณะ. (2551). สถิติการวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์: เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL. กรุงเทพมหานคร: มิสชั่นมีเดีย.
Black, K. (2010). Business Statistics: Contemporary Decision Making. (6th edition). New Jersey: John Wiley & Sons.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.