ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อครีมบำรุงผิวบนเพจเฟซบุ๊กไอยูคลินิกของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
คำสำคัญ:
ไอยูคลินิก, ปัจจัยเชิงสาเหตุ, การรับรู้ประโยชน์, การตัดสินใจซื้อ, ความตั้งใจซื้อบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการตัดสินใจซื้อครีมบำรุงผิวบนเพจเฟซบุ๊กไอยูคลินิกของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และเพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธพลต่อการตัดสินใจซื้อครีมบำรุงผิวบนเพจ เฟซบุ๊กไอยูคลินิกของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ที่เคยซื้อครีมบำรุงผิวบนเพจเฟซบุ๊กไอยูคลินิก และพักอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 250 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และโมเดลสมการโครงสร้าง ผลการวิจัย พบว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการรับรู้ประโยชน์ 2) ด้านการกระตุ้นทางการตลาด 3) ด้านปัจจัยทางสังคม 4) ด้านความตั้งใจซื้อ 5) ด้านการตัดสินใจซื้อ และโมเดลที่พัฒนาขึ้นสอดคล้องกับข้อมูล เชิงประจักษ์เป็นอย่างดี โดยพิจารณาจากค่าสถิติไค-สแควร์ (χ2) = 243.56, ค่าองศาอิสระ (df) = 235, ค่า CMIN/df = 1.04, ค่า GFI = 0.93, ค่า AGFI = 0.90, ค่า SRMR = 0.05, ค่า RMSEA = 0.01 ค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ = 0.73 แสดงว่าตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของการตัดสินใจซื้อครีมบำรุงผิวบนเพจเฟซบุ๊กไอยูคลินิก ได้ร้อยละ 73 และปัจจัยด้านความตั้งใจซื้อ ปัจจัยด้านสิ่งกระตุ้นทางการตลาด ปัจจัยด้านทางสังคม มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อ จึงสามารถนำโมเดลนี้ไปประยุกต์ใช้ในสร้างกลยุทธ์ให้มีความเหมาะสม และมีความสอดคล้องสำหรับการตัดสินใจซื้อครีมบำรุงผิวบนเพจเฟซบุ๊กไอยูคลินิกได้ให้เหมาะสมกับผู้บริโภคในอนาคต
References
กริช แรงสูงเนิน. (2554). การวิเคราะห์ปัจจัยด้วย SPSS และ AMOS เพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: บริษัท วี.พริ้นท์ (1991) จำกัด.
ชไมพร กาญจนกิจสกุล. (2555). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. ตาก: โพรเจ็คท์ไฟฟ์-โฟว์.
ชาพิฆมณฑ์ ทับจันทร์ และนลินี เหมาะประสิทธิ์. (2564). การตัดสินใจซื้อสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดคราบน้ำผ่าน Facebook ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. ใน การนำเสนอผลงานวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยนเรศวร ประจำปี พ.ศ. 2564 วันที่ 1 เมษายน 2564. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2555). สถิติชวนใช้. กรุงเทพมหานคร: ไอคอนพริ้นติ้ง.
บุษกร มโนตรัยรัตน์. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ Personalized gift ประเภทของใช้ผ่านทางออนไลน์. ใน วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการตลาด. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พสชนันท์ บุญช่วย และ ธีระวัฒน์ จันทึก. (2019). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุด้านความสนใจที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าออนไลน์ของเจนเนอเรชั่น Y. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 39(1), 22-36.
รัตนา แซ่ลิ้ม และสมชาย เล็กเจริญ. (2563). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการตัดสินใจใช้บริการออกแบบโลโก้ผ่านเฟซบุ๊กของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสาร มจรพุทธปัญญาปริทรรศน์, 5(2), 116-125.
Conbach, L. J. (1984). Essential of Psychology and Education. New York: Mc-Graw Hill.
Eukeik.ee. (2563). คนไทยใช้อินเทอร์เน็ต 52 ล้านคน บนโลกออนไลน์ 9.01 ชั่วโมง ทำอะไร. เรียกใช้เมื่อ 1 กรกฎาคม 2564 จาก https://marketeeronline.co/archives /146960
Fayossy. (2016). คาดมูลค่าการเติบโตของตลาดน้ำผลไม้ในไทยปี 59 แตะ 14,000 ล้านบาท. เรียกใช้เมื่อ 1 กรกฎาคม 2564 จาก https://www.marketingoops.com/reports /behaviors/insight-and-opportunities-juice/
Lupang. (2020). กรณีศึกษา CRC กับรุก Omni Channel เพื่อแก้เกมธุรกิจรีเทล. เรียกใช้เมื่อ 1 กรกฎาคม 2564 จาก https://www.marketingoops.com/news/case-study-crc-omni-channel-model/
Sonwaney, V. & Chincholkar, S. (2019). Identifying the factors impacting online consumer buying behaviour. International Journal of Scientific and Technology Research, 8(8), 445-456.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.