ผลของการจัดการเรียนการสอนด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบ MIAP ต่อผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ ทักษะการทำงานเป็นทีม และความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช ในรายวิชาการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์ 1
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนการสอนด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบ MIAP, ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้, ทักษะการทำงานเป็นทีม,, วิชาการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์ 1บทคัดย่อ
บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบ MIAP ก่อนและหลังเรียนเรื่องหลักการพยาบาลมารดาและทารกแบบองค์รวม 2) เปรียบเทียบทักษะการทำงานเป็นทีมก่อนและหลังเรียน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจหลังจัดการเรียนการสอน เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลบรมราชนนี จักรีรัช จำนวน 82 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องหลักการพยาบาลมารดาและทารกแบบองค์รวมด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบ MIAP 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ 3) แบบประเมินทักษะการทำงานเป็นทีม และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจ ได้ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา .67 - 1.00 และทดสอบความเชื่อมั่นค่าสัมประสิทธิแอลฟาของครอนบาคของแบบประเมินทักษะการทำงานเป็นทีมเท่ากับ .80 และแบบประเมินความพึงพอใจเท่ากับ .82 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติ Pair t - test ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของนักศึกษาหลังเรียน (M = 18.10, SD = 1.00) สูงกว่าก่อนเรียน (M = 14.62, SD = 3.42) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ทักษะการทำงานเป็นทีมของนักศึกษาหลังเรียน (M=4.45, SD=0.54) สูงกว่าก่อนเรียน (M = 3.70, SD = 0.73) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) ความพึงพอใจของนักศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมาก (M = 4.48, SD = 0.53) คณาจารย์ในสถาบันการศึกษาสามารถนำการสอนด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบ MIAP ไปใช้เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้และทักษะการทำงานเป็นทีมของนักศึกษาได้
References
กมลรัตน์ เทอร์เนอร์ และคณะ. (2558). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 นักศึกษาพยาบาลในวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 25(2), 178-193.
ขจรพงษ์ พู่ภมรไกรภพ และคณะ. (2563). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยกระบวนการสอนแบบ MIAP ร่วมกับบทเรียนผ่านเครือข่ายเรื่อง การออกแบบเงื่อนไข ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 19(2), 110-117.
ชวลิต ศุภศักดิ์ธำรง. (2561). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการใช้เหตุผลในการเรียนวิชาสัมมนาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของนักศึกษาสาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ โดยใช้วิธีการสอนแบบ MIAP. Veridian E Journal, 11(3), 506-518.
ณัฐพล ธนเชวงสกุล และณมน จีรังสุวรรณ. (2561). การออกแบบรูปแบบการเรียนการสอนด้วยกระบวนการเรียนร็แบบ MIAP บนเทคโนโลยีการประมวลผลแบบคลาวด์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 20(4), 58-69.
ทักษพร เชื้อสา. (2559). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการให้เหตุผลวิชาหลักการตลาดของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ที่ใช้การสอนแบบ MIAP และการสอนตามกระบวนการคิด ฮิวริสติกส์. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
นงนุช เสือพูมี และจรัสศรี เพ็ชรคง. (2559). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทักษะการทำงานเป็นทีมของนักศึกษาพยาบาล โดยการจัดการเรียนรู้แบบประสบการณ์ในวิชาการพยาบาลครอบครัวและชุมชน 1. ใน รายงานการวิจัย. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ สุวีริยาสาส์น.
รัชพล กลัดชื่น และกฤช สินธนะกุล. (2562). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์แบบผสมผสานตามแผนการสอนฐานสมรรถนะด้วยกระบวนการ MIAP รายวิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย. วารสารวิจัยและนวัตกรรม สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร, 2(2), 117-127.
วิจารณ์ พาณิชย์. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ตถาตา พับลิเคชั่น จำกัด.
วิจารณ์ พาณิชย์. (2560). ทักษะด้านความร่วมมือการทำงานเป็นทีม. เรียกใช้เมื่อ 2 พฤษภาคม 2564 จาก http://ascspetcharat.blogspot.com/2017/05/blog-post.html
โศรตรีย์ แพน้อย และคณะ. (2563). ผลของการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลักในรายวิชาการพยาบาลครอบครัวและชุมชน 2 ต่อผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ ทักษะการแก้ปัญหา การทำงานเป็นทีม และความพึงพอใจของนักศึกษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 7(2), 219-231.
สุชาติ ศิริสุขไพบูลย์. (2554). เทคนิคและวิธีการสอนวิชาชีพ MIAP. (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
อพันตรี พูลพุทธา. (2562). การเปรียบเทียบทักษะการสร้างเครื่องมือประเมินผลการเรียนรู้ ทักษะการทำงานเป็นทีมและผลสัมฤทธิ์การเรียน วิชาการวัดและประเมินผลการศึกษาของนิสิตระหว่างการเรียนโดยใช้แบบฝึกประกอบการจัดการเรียนรู้กับกลุ่มร่วมมือแบบ LT กับการสอนแบบกลุ่มปกติ. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชัฏภาคเหนือ, 9(2), 107-120.
Howe, N. & Strauss, W. (2000). Millennial Rising: The Next Great Generation. New York: Random House.