แบบจำลองปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจเชิงพฤติกรรม ในการใช้งานแอปพลิเคชันถุงเงินของผู้ประกอบการในจังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • นิษา ศักดิ์ชูวงษ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

คำสำคัญ:

แอปพลิเคชันถุงเงิน, การรับรู้ประโยชน์, การรับรู้ความยากง่าย, การรับรู้ความเสี่ยง, ความตั้งใจเชิงพฤติกรรม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบจำลองปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจเชิงพฤติกรรมในการใช้งานแอปพลิเคชันถุงเงินของผู้ประกอบการในจังหวัดอุดรธานี 2) ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจเชิงพฤติกรรมในการใช้งานแอปพลิเคชัน       ถุงเงิน งานวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ประกอบการในจังหวัดอุดรธานีที่ใช้งานแอปพลิเคชันถุงเงิน จำนวน 400 คน สุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามแบบ 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงอนุมานด้วยวิธีวิเคราะห์แบบจำลองความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างตามความแปรปรวนร่วม ผลการวิจัย พบว่า ตัวแปรแฝงที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจเชิงพฤติกรรมในการใช้งานแอปพลิเคชันถุงเงินของผู้ประกอบการในจังหวัดอุดรธานี ประกอบไปด้วย ตัวแปรการรับรู้ประโยชน์ในการใช้งาน ตัวแปรการรับรู้ความยากง่ายในการใช้งาน และตัวแปรการรับรู้ความเสี่ยงในการใช้งาน สรุปความสัมพันธ์ของตัวแปรในแบบจำลองดังนี้ 1) การรับรู้ประโยชน์และการรับรู้ความยากง่ายในการใช้งานมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความตั้งใจเชิงพฤติกรรมในการใช้งาน 2) การรับรู้ความยากง่ายในการใช้งานมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อการรับรู้ประโยชน์ในการใช้งาน และ 3) การรับรู้ความเสี่ยง       ในการใช้งานมีอิทธิพลทางตรงเชิงลบต่อความตั้งใจเชิงพฤติกรรมและการรับรู้ประโยชน์ในการใช้งาน นอกจากนี้ ตัวแปรการรับรู้ประโยชน์ในการใช้งานเป็นตัวแปรส่งผ่านของอิทธิพลทางอ้อมระหว่างตัวแปรการรับรู้ความเสี่ยงและการรับรู้ความยากง่ายในการใช้งานไปยังตัวแปรความตั้งใจเชิงพฤติกรรมในการใช้งาน

References

ข่าวสด. (2564). แม่ค้า คนละครึ่ง โวย! ขายของยาก แถมเงินอีกครึ่งของรัฐโอนให้ไม่ครบ. เรียกใช้เมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2564 จาก https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_5885856

พีพีทีวี ออนไลน์. (2564). เราชนะ คนละครึ่ง ม33 เรารักกัน" กระตุ้นเศรษฐกิจ 2.5 แสนล้านบาท. เรียกใช้เมื่อ 26 มีนาคม 2564 จาก https://www.pptvhd36.com/news/เศรษฐกิจ/144452

สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง. (27 มกราคม 2564). ประชาสัมพันธ์ขอให้ยืนยันตัวตนและใช้จ่ายโครงการคนละครึ่ง. ข่าวกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 15/2564, น.1.

สำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. (2561). มาตรการสวัสดิการแห่งรัฐเพื่อแก้ปัญหาความยากจน. วารสารไทยคู่ฟ้า สำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, 4(2), 1-44.

Azmi, A. C. & Kamarulzaman, Y. (2012). Perceived Risk and the Adoption of Tax E-Filing. World Applied Sciences Journal, 20(4), 532-539.

Chin, J. & Lin, S. C. (2016). Investigating Users’ Perspectives in Building Energy Management System with an Extension of Technology Acceptance Model: A Case Study in Indonesian Manufacturing Companies. Procedia Computer Science, 72(2015), 31-39.

Dachyar, M. & Liska, B. (2010). Factors influencing purchase intention towards consumer-to-consumer e-commerce. Intangible Capital, 13(5), 948-970.

Davis, F. D. et al. (1989). User Acceptance of Computer Technology: A Comparison of Two Theoretical Models. Management Science, 35(8), 982-1003.

Featherman, M. & Pavlou, P. (2003). Predicting E-Services Adoption: A Perceived Risk Facets Perspective. International Journal of Human-Computer Studies, 59(4), 451-474.

Galib, M. H. et al. (2018). Predicting Consumer Behavior: An Extension of Technology Acceptance Model. International Journal of Marketing Studies, 10(3), 73-90.

Hair Jr., J. F. et al. (2010). Multivariate Data Analysis: A Global Perspective (7th ed.). NY: Pearson Education.

Kamarulzaman, Y. (2007). Adoption of travel e-shopping in the UK. International Journal of Retail & Distribution Management, 35(9), 703-719.

Kim, D. J. et al. (2008). A trust-based consumer decision-making model in electronic commerce: The role of trust, perceived risk, and their antecedents. Decision Support Systems. Research Collection Lee Kong Chian School of Business, 44(2), 544-564.

Kock, N. & Hadaya, P. (2018). Minimum sample size estimation in PLS-SEM: The inverse square root and gamma-exponential methods: Sample size in PLS-based SEM. Information Systems Journal, 28(4), 227-261.

Neda, A. & Saeedeh, R. H. (2017). The effects of perceived risk on social commerce adoption based on the tam model. International Journal of Electronic Commerce Studies, 8(2), 173-196.

Nguyen, T. D. & Nguyen, T. C. (2017). The Role of Perceived Risk on Intention to Use Online Banking in Vietnam. Mangalore, India: ICACCI.

Null, K. D. et al. (2011). The Role of Perceived Risk in Consumer Acceptance of Health-related Technologies (Poster presentation). Seattle, WA: American Pharmacist’s Association Annual Meeting.

Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. NY: Harper. & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

02/28/2022

How to Cite

ศักดิ์ชูวงษ์ น. (2022). แบบจำลองปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจเชิงพฤติกรรม ในการใช้งานแอปพลิเคชันถุงเงินของผู้ประกอบการในจังหวัดอุดรธานี. วารสารมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 7(2), 294–309. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/view/253563