รูปแบบเครือข่ายชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และการทำงานเป็นทีมของครูในสถานศึกษาสังกัดเทศบาลนครสงขลา

ผู้แต่ง

  • พัศรเบศวณ์ เวชวิริยะสกุล มหาวิทยาลัยทักษิณ

คำสำคัญ:

ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ, สมรรถนะการจัดการเรียนรู้, การทำงานเป็นทีม

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบเครือข่ายชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และการทำงานเป็นทีมของครูในสถานศึกษาสังกัดเทศบาลนครสงขลา และ 2) ศึกษาประสิทธิผลของการใช้รูปแบบเครือข่ายชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โดยใช้รูปแบบวิธีวิจัยแบบการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างคือ ครูวิทยาศาสตร์จำนวน 42 คน จากสถานศึกษา สังกัดเทศบาลนครสงขลา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 ที่ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) คู่มือรูปแบบเครือข่ายชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 2) แบบประเมินสมรรถนะการจัด การเรียนรู้และการทำงานเป็นทีม 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ 4) แบบสำรวจบรรยากาศการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที และพรรณนาความ ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบเครือข่ายชุมชนแห่งการเรียนรู้ ทางวิชาชีพ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และการทำงานเป็นทีมของครู ในสถานศึกษาสังกัดเทศบาลนครสงขลา มี 4 องค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการดำเนินงานและเงื่อนไขความสำเร็จในการนำรูปแบบใช้ 2) ประสิทธิผลของการใช้รูปแบบ พบว่า สมรรถนะการจัดการเรียนรู้และการทำงานเป็นทีมของครูวิทยาศาสตร์ หลังทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักเรียนผลการเรียนวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ครูสามารถจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ อยู่ในระดับมาก และครูมีความ พึงพอใจต่อรูปแบบเครือข่ายชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด

References

ชัยวัฒน์ สิทธิรัตน์. (2552). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพมหานคร: แดเน็กซ์อินเตอร์คอร์ปปอเรชั่น.

ทิศนา แขมมณี. (2563). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญยฤทธิ์ ปิยะศรี และมาเรียม นิลพันธุ์. (2558). รูปแบบการพัฒนาวิชาชีพครูเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการสอนที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคล. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 7(1), 97-109.

วรลักษณ์ ชูกำเนิดและคณะ. (2557). รูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 บริบทโรงเรียนในประเทศไทย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี, 12(2), 123-134.

วาสนา ทองทวียิ่งยศ. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

วิมลฑนา หงส์พานิช. (2560). ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน 2 เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และการทำงานเป็นทีม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2556). คู่มือการดำเนินงานการขยายผลการเรียนการ สอนวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีตามมาตรฐานหลักสูตรและตัวชี้วัด. กรงเทพมหานคร: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สำนักการศึกษาเทศบาลนครสงขลา. (2563). รายงานการวิเคราะห์สภาพปัญหาระดับเครือข่ายสถานศึกษาสังกัดเทศบางนครสงขลา องค์การบริหารการปกครองส่วนท้องถิ่น. สงขลา: หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักการศึกษาเทศบาลนครสงขลา.

สำนักงานการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 - 2564. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2543). แนวทางการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพร้อมรับการ ประเมินภายนอก. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2562). แนวทางการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษาในบทบาทคณะทำงาน กำกับติดตามและประเมินผลการจัดกิจกรรมพัฒนาวิชาชีพแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ของเครือข่ายที่รับเงินอุดหนุนการจัดกิจกรรมพัฒนาวิชาชีพแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชี. ใน รายงานการประชุม. สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.

อรทัย แก่นจันทร์ และคณะ. (2559). ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการใช้แผนผังความคิด เรื่อง สารในชีวิตประจำวันที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล 3 “เทศบาลอนุสรณ์” จังหวัดสุรินทร์. ใน การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 3 วิทยาลัยนครราชสีมา (หน้า 708-715). นครราชสีมา: วิทยาลัยนครราชสีมา.

Hord, S. M. (2007). What is a PLC? Shared beliefs, values, and vision. SEDL Letter, 19(1), 3-5.

. (2009). Professional Learning Community: Educators work together toward a shared purpose – improved student learning. National Staff Development Council, 30(1), 40-43.

Murphy, M. & Timmins, F. (2009). Experience based learning (EBL): Exploring professional teaching through critical reflection and reflexivity. Nurse Education in Practice, 9(1), 72-80.

Stoll, L. et al. (2006). Professional learning communities: A review of the literature. Journal of Education Change, 7(4), 221-258.

Takahashi, A. (2014). Supporting the effective implementation of a new mathematics curriculum: a case study of school-based lesson study at a Japanese public elementary school. In I. Y. Li & G. Lappan (Eds.), Mathematics curriculum in school education (417-441). New York: Springer.

Verbiest, E. (2008). Sustainable school development: Professional learning communities. Netherland: Fontys University.

Yoshida, M. (2006). An overview of Lesson Study. Philadelphia: Research for better school.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

05/31/2022

How to Cite

เวชวิริยะสกุล พ. (2022). รูปแบบเครือข่ายชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และการทำงานเป็นทีมของครูในสถานศึกษาสังกัดเทศบาลนครสงขลา. วารสารมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 7(5), 278–294. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/view/253896

ฉบับ

บท

บทความวิจัย