แนวทางการบริหารจัดการความเสี่ยงงานวิชาการของสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คำสำคัญ:
แนวทาง, การบริหารจัดการความเสี่ยง, งานวิชาการ, องค์การบริหารส่วนจังหวัดบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และ ความต้องการจำเป็นของการบริหารจัดการความเสี่ยงงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 2) แนวทางการบริหารจัดการความเสี่ยงงานวิชาการของสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นงานวิจัยแบบผสานวิธี ได้แก่ เชิงปริมาณใช้แบบสอบถามสุ่มแบบหลายขั้นตอน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 352 คน ใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นด้วยค่าดัชนี PNI Modified และเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์และสนทนากลุ่ม เลือกแบบเจาะจง ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ 1) ผู้บริหาร และ 2) ครู โดยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 คน วิเคราะห์เชิงเนื้อหาและสรุปเป็นภาพรวม ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันและที่พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.77, S.D. = 0.61), (
= 4.35, S.D. = 0.56) มี 5 ด้าน ได้แก่ 1.1) ด้านผลผลิต (
= 3.76, S.D.= 0.63), (
= 4.40, S.D.= 0.58) 1.2) ด้านผู้รับบริการ (
= 3.75, S.D.= 0.73), (
= 4.38, S.D.= 0.61) 1.3) ด้านปัจจัยนำเข้า (
= 3.79, S.D.= 0.53), (
= 4.34, S.D.= 0.54) 1.4) ด้านกระบวนการ (
= 3.79, S.D.= 0.61), (
= 4.34, S.D.= 0.53) และ 1.5) ด้านผู้ส่งมอบ (
= 3.77, S.D.= 0.58), (
= 4.32, S.D.= 0.55) และ 2) แนวทางการบริหารจัดการความเสี่ยงงานวิชาการ มี 7 ด้าน ได้แก่ 2.1) การจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา 2.2) การวิจัย วัดผล ประเมินผล การเทียบโอนผลการเรียน 2.3) การพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา 2.4) การประสานความร่วมมือพัฒนาสาระหลักสูตรท้องถิ่นร่วมกับสถานศึกษาและองค์กรอื่น 2.5) การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพในและมาตรฐานการศึกษา 2.6) การวางแผนงานด้านวิชาการ และ 2.7) การนิเทศการศึกษา
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2554). การใช้ SPSS for windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. (พิมพ์ครั้งที่ 18). กรุงเทพมหานคร: ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ครูคนที่ 2. (9 มีนาคม 2561). แนวทางการบริหารความเสี่ยงงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (ราตรี เลิศหว้าทอง, ผู้สัมภาษณ์)
ครูคนที่ 3. (9 มีนาคม 2561). แนวทางการบริหารความเสี่ยงงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (ราตรี เลิศหว้าทอง, ผู้สัมภาษณ์)
ครูคนที่ 5. (9 มีนาคม 2561). แนวทางการบริหารความเสี่ยงงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (ราตรี เลิศหว้าทอง, ผู้สัมภาษณ์)
ณัฐสิฏ รักษ์เกียรติวงศ์. (2561). การปฏิรูปอาชีวศึกษาของประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ).
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2551). กรอบโครงสร้างการบริหารความเสี่ยงขององค์กรเชิงบูรณาการ: แนวทางการปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 2. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาการพิมพ์.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพมหานคร.
ผู้บริหารคนที่ 1. (9 มีนาคม 2561). แนวทางการบริหารความเสี่ยงงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (ราตรี เลิศหว้าทอง, ผู้สัมภาษณ์)
ผู้บริหารคนที่ 2. (9 มีนาคม 2561). แนวทางการบริหารความเสี่ยงงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (ราตรี เลิศหว้าทอง, ผู้สัมภาษณ์)
ลือชัย แก้วสุข. (2555). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาเพื่อตอบสนองความต้องการกําลังคนของสถานประกอบการ. ใน ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต วิชาบริหารการศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิทยาลัยการอาชีพกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2561). สถิติข้อมูลบุคลากร. เรียกใช้เมื่อ 14 มกราคม 2561 จาก http://www. techno.vec.go.th
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2551). พระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย. (2550). คู่มือการบริหารความเสี่ยง. สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานปลัดกระทรวง.
สำนักงานมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ. (2555). คู่มือการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาอาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพมหานคร: แผนกวิชาการพิมพ์วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
สุภาวดี ดวงจันทร์ และคณะ. (2559). รูปแบบการบริหารความเสี่ยงของงานวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคใต้. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 3(3), 35-51.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). New York: Harper Collins.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. Reading in Fishbeic, M (Ed.), Attitude Theory and Measurement. New York: Wiley & Son.