การพัฒนาบทเรียนออนไลน์บนคลาวด์ คอมพิวติง เพื่อเสริมสร้างทักษะสร้างสรรค์ของผู้เรียนในระดับปริญญาตรี

ผู้แต่ง

  • มหาชาติ อินทโชติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • เกียรติศักดิ์ พันธ์ลำเจียก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

คลาวด์ คอมพิวติง, ทักษะสร้างสรรค์ , บทเรียนออนไลน์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนออนไลน์บนคลาวด์ คอมพิวติง เพื่อเสริมสร้างทักษะสร้างสรรค์ของผู้เรียนในระดับปริญญาตรี 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทาง               การเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วย บทเรียนออนไลน์บนคลาวด์ คอมพิวติง และ 3) ศึกษาทักษะสร้างสรรค์ของผู้เรียนที่เรียนด้วยบทเรียนออนไลน์บนคลาวด์ คอมพิวติง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักศึกษาปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำนวน 30 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ 1) บทเรียนออนไลน์บนคลาวด์ คอมพิวติง             เพื่อเสริมสร้างทักษะสร้างสรรค์ 2) แบบประเมินคุณภาพบทเรียน 3) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ4)แบบประเมินทักษะสร้างสรรค์ของผู้เรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า               1) คุณภาพของบทเรียนออนไลน์บนคลาวด์ คอมพิวติง เพื่อเสริมสร้างทักษะสร้างสรรค์ของผู้เรียน มีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก ( gif.latex?\bar{x}= 3.33) 2) คุณภาพเนื้อหาบทเรียนออนไลน์บนคลาวด์คอมพิวติง มีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก ( gif.latex?\bar{x}= 3.46) 3) ประสิทธิภาพของบทเรียนออนไลน์บนคลาวด์ คอมพิวติง มีผลคะแนนการทำแบบฝึกหัดระหว่างเรียน (E1) คิดเป็นคะแนนร้อยละ 82.33 และผลคะแนนจากแบบทดสอบหลังเรียน (E2) คิดเป็นคะแนนร้อยละ 80.78 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 4) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์บนคลาวด์ คอมพิวติง      ก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยผลการเรียน    หลังเรียน (gif.latex?\bar{x} = 25.07, S.D. = 2.31) สูงกว่าก่อนเรียน (gif.latex?\bar{x} = 12.43, S.D. = 2.66) และ                5) คะแนนทักษะสร้างสรรค์ของผู้เรียน อยู่ในระดับดี มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 14.02

References

กรมวิชาการ. (2545). เอกสารประกอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 การวิจัย เพื่อพัฒนาการเรียนร้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว.

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2559). แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม/ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 (ฉบับที่ 2) และที่แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2545. กรุงเทพมหานคร: บริษัทสยามสปอรต์ ซินดิเค จำกัด.

กิดานันท์ มลิทอง. (2543). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพมหานคร: อรุณการพิมพ์.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากร ศึกษาศาสตร์, 5(3), 7-20.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร : บริษัท. สุวีริยาสาส์น จำกัด.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่21. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

ส.วาสนา ประวาลพฤกษ์. (2544). หลักการและเทคนิคการประเมินผลการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: เดอะ มาสเตอร์กรุ๊ฟ.

Knowles, S. M. . (1975). Self-directed learning: A guide for learners and teachers. New York: Follett.

Seel B. & Glasgow Z. . (1990). Exercise in Instructional Design. Columblus: Merrill Publishing Company Bell & Howell Information Company.

Yunjuan. B. et al. (2011). Cloud Learning: A new learning style. In Proceedings International Conference on Multimedia Technology. China: Hangzhou.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

05/31/2022

How to Cite

อินทโชติ ม. . ., & พันธ์ลำเจียก เ. (2022). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์บนคลาวด์ คอมพิวติง เพื่อเสริมสร้างทักษะสร้างสรรค์ของผู้เรียนในระดับปริญญาตรี . วารสารมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 7(5), 112–124. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/view/255083

ฉบับ

บท

บทความวิจัย