การตรวจสอบแบบจำลองโครงสร้างเจดีย์วัดชิโนรสารามวรวิหาร

ผู้แต่ง

  • ศิรเดช สุริต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • เบญจพล เวทย์วิวรณ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ธนภูมิ อัตตฤทธิ์ สำนักสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร

คำสำคัญ:

การตรวจสอบ, ไฟไนต์เอลิเมนต์, แบบจำลองโครงสร้าง, โครงสร้างโบราณสถาน

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาแบบจำลองโครงสร้างเพื่อใช้ในการประเมินความปลอดภัยทางด้านวิศวกรรมโครงสร้างสำหรับการบูรณะโบราณสถานและนำเสนอกระบวนการตรวจสอบความถูกต้องของแบบจำลองไฟไนต์เอลิเมนต์ของโครงสร้างเจดีย์วัดชิโนรสารามวรวิหาร เป็นงานวิจัยเชิงประยุกต์ สืบเนื่องจากการที่แบบจำลองไฟไนต์เอลิเมนต์ของโครงสร้างสามารถพัฒนาได้หลายระดับความละเอียดขึ้นกับสมมุติฐานการพัฒนาแบบจำลอง และ โปรแกรมที่ใช้ แบบจำลองซึ่งมีรายละเอียดมากเกินไปอาจสร้างภาระที่เกินจำเป็นแก่ผู้พัฒนาแบบจำลองและกระบวนการวิเคราะห์โครงสร้าง ระดับรายละเอียดที่น้อยเกินไปอาจทำให้ผลลัพธ์จากที่ได้คลาดเคลื่อนจากโครงสร้างจริง โดยในรายงานวิจัยนี้มีการเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์โครงสร้างซึ่งได้จากแบบจำลองที่มีความละเอียดต่างกันเพื่อเป็นแนวทางพิจารณาในการพัฒนาและวิเคราะห์แบบจำลองโครงสร้าง กระบวนการวิจัยดำเนินการโดยสร้างแบบจำลองไฟไนต์เอลิเมนต์ที่มีระดับความละเอียดแตกต่างกัน 3 ระดับได้แก่ แบบจำลองเป้าหมายการตรวจสอบซึ่งมีรายละเอียดสูง (HDM) แบบจำลองแบบง่าย (SDM) สร้างจากกรอบปริมาตร (Boundary Volume) ของแบบจำลองรายละเอียดสูง และ แบบจำลองรายละเอียดต่ำ (LDM) ซึ่งลดรายละเอียดเรขาคณิตเป็นชิ้นส่วนท่อนเหลือพื้นที่หน้าตัด ความยาว และ มวล จากนั้นจึงวิเคราะห์หน่วยแรงที่เกิดขึ้นโดยการศึกษาหน่วยแรงตั้งฉากในแบบจำลองทั้งหมดและทำการสร้างแผนภูมิความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยแรงที่ความสูงต่าง ๆ ผลการวิจัย พบว่า การสร้างแบบจำลองซึ่งมีระดับความละเอียดต่างกันสามารถสร้างกรอบอ้างอิงของผลเฉลยของการวิเคราะห์โครงสร้างได้ โดยแบบจำลอง LDM ให้ค่าขอบเขตล่างร้อยละ -6 และ แบบจำลอง SDM ให้ค่าขอบเขตบนที่ร้อยละ 17 โดยยังต้องมีการศึกษาระเบียบวิธีการสร้างกรอบปริมาตรอย่างเป็นระบบในลำดับต่อไป

References

กนกวรรณ ยานะถนอม. (2553). พฤติกรรมเชิงสถิติศาสตร์และพลศาสตร์ภายใต้แรงแผ่นดินไหวของเจดีย์ในเขตเมืองเชียงใหม่โดยวิธีไฟไนต์อิลิเมนต์. ใน วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโยธา. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

คณะกรรมการดำเนินงานจัดทำศัพทานุกรมด้านโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์. (2550). ศัพทานุกรมโบราณคดี. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร.

ณรงค์ฤทธิ์ จันทน์วัฒนวงษ์ และกริสน์ ชัยมูล. (2563). พฤติกรรมเชิงพลศาสตร์ของเจดีย์คอนกรีตเสริมเหล็ก. วิศวกรรมสารฉบับวิจัยและพัฒนา, 31(1), 101-110.

ธนภูมิ อัตตฤทธิ์. (2563). การวิเคราะห์หน่วยแรงของโครงสร้างเจดีย์อิฐก่อเพื่อหาส่วนปลอดภัยกรณียกปรับระดับความสูง. ใน วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นวลลักษณ์ วัสสันตชาติ. (2561). ปูนในโบราณสถานของนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาแหล่งมรดกโลก. วารสารหน้าจั่วว่าด้วยสถาปัตยกรรมการออกแบบและสภาพแวดล้อม, 33(2018), B43-B92.

ภคพงศ์ ภัทราคม และนคร ภู่วโรดม. (2560). การตรวจวัดสมบัติเชิงพลศาสตร์ของพระเจดีย์ วัดใหญ่ชัยมงคล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 25(4), 670-682.

รณนภา พจนา. (2550). ปฏิสัมพันธ์ระหว่างดินและโครงสร้างโบราณสถานจังหวัดเชียงใหม่ภายใต้สภาวะการกระทำของแรงแผ่นดินไหว. ใน ดุษฎีนิพนธ์วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโยธา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมศักดิ์ ธรรมเวชวิถี. (2559). การบูรณะอาคารมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม. วารสารวิชาการ การออกแบบสภาพแวดล้อม, 3(1), 3-19.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563). จำนวนวัดจำแนกตามนิกายเป็นรายภาคและจังหวัด พ.ศ.2552-2561. เรียกใช้เมื่อ 15 ตุลาคม 2563 จาก http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/04.aspx

สุดชาย พานสุวรรณ. (2543). การวิเคราะห์โบราณสถานก่ออิฐในเชิงวิศวกรรม. ใน วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโยธา. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Bolognese, J. (2009). Finite Element Model Validity Checks. Retrieved July 31, 2021, from https://femci.gsfc.nasa.gov/validitychecks

Hansapinyo, C. (2014). Seismic performances of brick masonry inverted bell-shaped Chedi. APCBEE Procedia, 9(2014), 217-221.

Hansapinyo, C. & Poovarodom, N. (2014). Ambient Vibration Tests and Finite Element Analysis for Dynamic Properties of Brick Masonry Inverted Bell-shaped Chedi. APCBEE Procedia, 9(2014), 212-216.

Ishida, Y. et al. (2021). Inhibitory Effect Of Ground Improvement On The Settlement Of The Leaning Pagoda. International Journal of GEOMATE, 20(79), 111-118.

Marks, D. (2011). Climate change and Thailand: Impact and response. Contemporary Southeast Asia: A Journal of International and Strategic Affairs, 33(2), 229-258.

Roca, P. et al. (2010). Structural analysis of masonry historical constructions. Classical and advanced approaches. Archives of computational methods in engineering, 17(3), 299-325.

Serpieri, R. et al. (2017). A 3D microstructured cohesive–frictional interface model and its rational calibration for the analysis of masonry panels. International Journal of Solids and Structures, 122(2017), 110-127.

Trisirisatayawong, I. et al. (2011). Sea level change in the Gulf of Thailand from GPS-corrected tide gauge data and multi-satellite altimetry. Global and Planetary Change, 76(3-4), 137-151.

Wethyavivorn, B. et al. (2016). Model verification of Thai historic masonry monuments. Journal of Performance of Constructed Facilities, 30(1), 1-14.

Wonganan, N. et al. (2020). Ancient Materials and Substitution Materials Used in Thai Historical Masonry Structure Preservation. Journal of Renewable Materials, 9(2), 179-204.

Yazgan, I. O. & Unay, A. I. (2020). Planning a Relocation Method to Preserve Structural Integrity During the Holistic Relocation of Historical Buildings. Journal of Architectural Engineering, 26(4), 1-10.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

12/29/2021

How to Cite

สุริต ศ., เวทย์วิวรณ์ เ., & อัตตฤทธิ์ ธ. (2021). การตรวจสอบแบบจำลองโครงสร้างเจดีย์วัดชิโนรสารามวรวิหาร. วารสารมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(12), 63–79. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/view/255473

ฉบับ

บท

บทความวิจัย