ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุมุสลิม จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • นรานุช ขะระเขื่อน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชนนี นครศรีธรรมราช สถาบันพระบรมราชชนก
  • ดลปภัฎ ทรงเลิศ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชนนี นครศรีธรรมราช สถาบันพระบรมราชชนก
  • บุญประจักษ์ จันทร์วิน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชนนี นครศรีธรรมราช สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

ปัจจัยทำนาย, พฤติกรรมการดูแลสุขภาพ, ผู้สูงอายุมุสลิม, จังหวัดนครศรีธรรมราช

บทคัดย่อ

บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุมุสลิม 2) สามารถทำนายพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุมุสลิม           จากปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยทางจิตและปัจจัยทางสังคมของจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นการวิจัย เชิงปริมาณ โดยข้อมูลได้จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้สูงอายุมุสลิม ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และอาศัยอยู่จริงในอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช ใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอนตามสัดส่วนประชากรจำแนกตามหมู่บ้าน จำนวน 185 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ได้แก่            1) แบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง                   3) แบบสอบถามปัจจัยทางจิตของผู้สูงอายุ 4) แบบสอบถามปัจจัยทางสังคม แบบสอบถามได้ ค่าดัชนีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา 0.97 และทดสอบความเชื่อมั่นค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของ           ครอนบาคเท่ากับ 0.867 ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณตามลำดับความสำคัญของตัวแปรที่นำเข้าสมการ (Stepwise Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุมุสลิม ปัจจัยทางจิตได้แก่ ด้านเจตคติ และการรับรู้ความสามารถของตนเองและปัจจัยทางสังคม การสนับสนุนด้านการดูแลสุขภาพตนเองจากครอบครัว การสนับสนุนด้านการดูแลสุขภาพจากบุคลากรทางการแพทย์มีผลต่อพฤติกรรม         การดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุระดับมาก 2) ความสามารถในการทำนายพฤติกรรม          การดูแลสุขภาพตนเอง คือ การศึกษาระดับมัธยมขึ้นไป รายได้ต่อเดือน ลักษณะครอบครัวขยาย เจตคติที่ดีต่อการดูแลสุขภาพตนเองและความเชื่ออำนาจภายใน - ภายนอกตนเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเอง สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุมุสลิมจังหวัดนครศรีธรรมราชได้ร้อยละ75.6 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

References

นิรัชรา ลิลละฮ์กุ และปัทมา สุพรรณกุล. (2563). พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของผู้สูงอายุชาวไทยมุสลิมที่มีภาวะติดบ้าน: กรณีศึกษาจังหวัดยะลา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 7(2), 194-205.

นิราศศิริ โรจนธรรมกุล. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ ชมรมครุรัตน์มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร กรุงเทพมหานคร. วารสารนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา, 5(ฉบับเพิ่มเติม), 115-128.

พัชรี รัศมีแจ่ม และคณะ. (2561). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของชาวไทยมุสลิมที่มีภาวะความดันโลหิตสูงมีพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม, 19(37),56-68.

ภาสิต ศิริเทศ และณพวิทย์ ธรรมสีหา. (2562). ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเองกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ. วารสารทหารบก, 20(2), 58-65.

ยุภาพร นาคกลิ้ง และปราณี ทัดศรี. (2560). ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมการรับรู้ความสามารถตนเองต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้. วารสารสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 6(1), 27-35.

สรวงสุดา เจริญวงศ์ และคณะ. (2561). สถานการณ์การดูแลและความต้องการการดูแลระยะยาว สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในชุมชนมุสลิมเขตชนบทภาคใต้ของไทย. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 5(2), 231-246.

สโรชา อยู่ยงสินธุ์ และสุจิตรา สุคนธทรัพย์. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่ออำนาจควบคุมทางสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพ และคุณภาพชีวิต ของผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ, 16(2), 63-75.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). รายงานการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2557. กรุงเทพมหานคร: เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น จำกัด.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช. (2562). ประชากรผู้สูงอายุจังหวัดนครศรีธรรมราช. เรียกใช้เมื่อ 8 กันยายน 2563 จาก https://www.nakhonsihealth.org/

สำนักอนามัยผู้สูงอายุ. (2563). รายงานประจำปี 2563 การส่งเสริมสุขภาพดีดูแลตนเองได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดี. กรุงเทพมหานคร: สำนักอนามัยผู้สูงอายุ.

Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis. New York: 7th Edition, Pearson.

Bandura, A. (1986). Social Foundations of Thought and Action: A Social Cognitive Theory. Englewood Cliffs. New Jersey: Prentice-Hall.

Cohen, J. (1969). Statistical Power Analysis for the Behavioral Sciences. New York: Academic Press.

House, J. S. (1981). Work Stress and Social Support. Reading, Mass: Addison-Wesley.

Orem, D. E. (1991). Nursing Concepts of Practice. (4nd ed). New York: Mc Graw Hill Book.

Rotter, J. B. (1981). Generallized Expectancies for Internal versus External control of Reinforcement. Psychological Monographs: General and Applied, 80(1) ,1-28.

Schaefer, C. et. al. (1981). The health-related functions of social support. J Behav Med Dec, 4(4), 381-406.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

06/30/2022

How to Cite

ขะระเขื่อน น. ., ทรงเลิศ ด. ., & จันทร์วิน บ. . (2022). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุมุสลิม จังหวัดนครศรีธรรมราช . วารสารมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 7(6), 488–501. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/view/256328

ฉบับ

บท

บทความวิจัย