การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของชุดความคิดแบบเติบโต สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู
คำสำคัญ:
การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน, ชุดความคิดแบบเติบโต, นักศึกษาวิชาชีพครูบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของชุดความคิดแบบเติบโต ของนักศึกษาวิชาชีพครู 2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโครงสร้างองค์ประกอบของชุดความคิดแบบเติบโต ใช้รูปแบบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน โดยเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน และ นักศึกษาวิชาชีพครู ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน จำนวน 300 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย โดยใช้วิธีการการสัมภาษณ์ เชิงลึก และการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม จำนวน 1 ชุด สถิติที่ใช้ คือ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่า 1) องค์ประกอบของชุดความคิดแบบเติบโต ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ มีความสำคัญเท่ากัน โดยมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ .88, .95, .95, .92, และ .89 2) ผลการตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลองค์ประกอบกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ( 2 = 119.86 df = 62, p-value = 0.00001 ; Relative
2 = 1.93, RMSEA = 0.056, GFI = 0.951, AGFI = 0.905, CFI = 0.986 , RMR = 0.008) แสดงว่า โมเดลขององค์ประกอบชุดความคิดแบบเติบโต ของนักศึกษาวิชาชีพครู มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผลการวิจัยนี้ พบว่า 1) องค์ประกอบของชุดความคิดแบบเติบโต ของนักศึกษาวิชาชีพครู ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ 1.1) เชื่อว่าบุคคลสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ 1.2) ชอบความท้าทาย 1.3) กล้าเผชิญกับความล้มเหลว 1.4) มีความพยายาม และ 1.5) รับฟังและเรียนรู้คำวิจารณ์ 2) แบบวัดชุดความคิดแบบเติบโต ของนักศึกษาวิชาชีพครู มีความเหมาะสม และสามารถวัดชุดความคิดแบบเติบโต ของนักศึกษาวิชาชีพครู เพื่อเป็นแนวทางในการนำมาวางแผนการพัฒนาชุดความคิดแบบเติบโตของนักศึกษาวิชาชีพครู ซึ่งจะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ และสามารถพัฒนานักศึกษาวิชาชีพครูให้มีชุดความคิดแบบเติบโตมากยิ่งขึ้น
References
ธนะดี สุริยะจันทร์หอม. (2561). การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างโกรว์ธ มายด์เซต สำหรับนักศึกษาหลักสูตรวิชาชีพครู. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณทิต สาขาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พิณสุดา สิริรังธศรี. (2557). การยกระดับคุณภาพครูไทยในศตวรรษที่ 21. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพของเยาวชน.
วิโรจน์ ลักขณาอดิศร. (2559). พฤติกรรม 9 อย่างของพ่อแม่ ที่งานวิจัยระบุว่า "ทำให้ลูกพบกับความล้มเหลว". เรียกใช้เมื่อ 27 ตุลาคม 2563 จาก https://www.facebook.
com/education.facet/posts/1106118612793406/
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลักกระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2560 - 2564. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ.
Annie, B. & Heather, H. (2016). The Growth mindset coach There’s a difference between not knowing and not knowing yet. Berkeley, CA: Ulysses Press.
Comrey, A. L. & Lee, H. B. (1992). A First Course in Factor Analysis. (2nd ed). Hillsdale, New Jersey: Lawrence Erlbaum Associated.
Dweck, C. S. (2006). Mindeset: The new psychology of success. New York: Random House.
Dweck, C. S. (2012). Mindset: How You Can Fulfil Your Potential. Lodon: Constable & Robinson Limited.
Esparza, J. et al. (2014). Growth mindset of gifted seventh grade students in science. NCSSSMST Journal, 19(1), 6-12.
Hair, J. F. et al. (2010). Multivariate Data Analysis. (7th ed). Pearson: New York.
Mangels, J. A. et al. (2006). Why Do Beliefs About Intelligence Influence Learning Success? A Social Cognitive Neuroscience Model. Social Cognitive and Affective Neuroscience, 1(2), 75-86.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.