อิทธิพลของการเข้ารับบริการด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ ในเขตอำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี
คำสำคัญ:
การเข้ารับบริการด้านสุขภาพ, พฤติกรรมการดูแลสุขภาพ, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการเข้ารับบริการด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ และ 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของ การเข้ารับบริการด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุในอำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ใน อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 383 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามการเข้ารับบริการด้านสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง มีค่าความเชื่อมั่น .94 โดยวิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์ แอลฟ่า (Alpha Coefficient) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย การเข้ารับบริการ ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ มีการปฏิบัติโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 1.81, S.D. = .45168) ด้านพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ มีการปฏิบัติโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (
= 1.87, S.D. = .42590) และพบว่าทุกด้านมีระดับการปฏิบัติปานกลาง ได้แก่ การบริโภค สิ่งเสพติด (
= 2.76, S.D. = .53723) การออกกำลังกาย (
= 1.97, S.D. = .56168) อาหารและโภชนาการ (
= 1.92, S.D. = .47921) การจัดการความเครียด (
= 1.84, S.D. = .47706) และการดูแลสุขภาพเบื้องต้น (
= 1.84, S.D. = .44874) การทดสอบสมมติฐาน พบว่า การรับบริการด้านสุขภาพแต่ละด้านมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 1 หน่วย พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุจะมีการดูแลที่เปลี่ยนไปหรือเพิ่มขึ้น 1 หน่วย อย่างมีระดับนัยสำคัญ ทางสถิติ 0.01 ดังนั้น ควรส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีการดูแลตนเองก่อนการเข้าสู่วัยสูงอายุเพื่อลดความเสี่ยงสำหรับโรคต่าง ๆ และสถานพยาบาลหรือหน่วยบริการสุขภาพอาจต้องจัดตั้งหน่วยการให้บริการสุขภาพเคลื่อนที่ไว้บริการตรวจสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ
References
กรมสนับสนุนบริการด้านสุขภาพ. (2563). คู่มือมาตรฐาน ระบบบริการสุขภาพ ปี 2563. เรียกใช้เมื่อ 20 สิงหาคม 2563 จาก www.hss.moph.go.th
กระทรวงสาธารณสุข. (2560). รายงานการสาธารณสุขไทย เรื่องระบบสุขภาพของประเทศไทยใน รายงานวิชาการ. เรียกใช้เมื่อ 20 สิงหาคม 2563 จาก www.bps.moph.go.th
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2557). การวิเคราะห์สถิติ. (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จังหวัดสุพรรณบุรี. (2563). ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดสุพรรณบุรี ข้อมูลทั่วไปของจังหวัด. เรียกใช้เมื่อ 20 ธันวาคม 2563 จาก ww1.suphanburi.go.th.
พิมพิสุทธิ์ บัวแก้ว และรติพร ถึงฝั่ง. (2559). การดูแลสุขภาพและภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุไทย.วารสารสมาคมนักวิจัย. 21(2), 94-10.
พูลศักดิ์ พุ่มวิเศษ. (2554). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ จังหวัดนนทบุรี ใน รายงานการวิจัย. วิทยาลัยราชพฤกษ์.
มัณฑนา จริยรัตน์ไพศาล และอรอนงค์ แจ่มผล. (2554). การเข้าถึงบริการสุขภาพของประชาชนในตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ใน รายงานการวิจัยในการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2556). รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2555 สนับสนุนโดยกองทุนผู้สูงอายุคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ทีคิว พี จํากัด.
ริณทร์วสา ภัทร์พรวัชรสิน และปริญญา หรุ่นโพธิ์. (2560). แนวทางพฤติกรรมความสามารถของผู้สูงอายุในการดูแลตนเองทางด้านร่างกายและจิตใจ อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี. เรียกใช้เมื่อ 20 ธันวาคม 2563 จาก www.repository.rmutr.ac.th/ bitstream/handle.
วัชพลประสิทธิ์ ก้อนแก้ว. (2557). พฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่อาศัยในเขตเทศบาลตำบลคลองตำหรุ อำเภอเมืองชลบุรี. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป. มหาวิทยาลัยบูรพา.
ศิริพร งามขำ และคณะ. (2561). การเข้าถึงบริการสุขภาพของผู้สูงอายุเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร. วารสารการวิจัยเกื้อการุณย์, 25(2), 91-104.
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. (2563). ห้องเรียนระบบสุขภาพ. เรียกใช้เมื่อ 20 สิงหาคม 2563 จาก www.hsri.or.th.
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม. (2563). รูปแบบการอยู่อาศัยกับความเปราะ บางของผู้สูงอายุ. เรียกใช้เมื่อ 20 สิงหาคม 2563 จาก www.researchcafe.org.
สำนักงานสถิติจังหวัดสุพรรณบุรี. (2563). รายงานสถิติประจำจังหวัดสุพรรณบุรี, ประชากรจากการทะเบียน จำแนกตามหมวดอายุ เป็นรายอำเภอ พ.ศ. 2562. เรียกใช้เมื่อ 20 ธันวาคม 2563 จาก www.suphan.nso.go.th.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562ก). รายงานการศึกษาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อการ พัฒนาประเทศจากผลการคาดประมาณประชากรของประเทศไทย (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562ข). รายงานการคาดประมาณประชากรของประเทศไทย พ.ศ. 2553 - 2583 (ฉบับปรับปรุง). (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).
องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี. (2563). แผนพัฒนาท้องถิ่น (2561-2565). เรียกใช้เมื่อ 12 กรกฎาคม 2564 จาก www.suphan.go.th/customers/content/download/ 202003105835.pdf.
Best, J. W. (1977). Research in Education. (3rd ed.). New Jersey: Prentice Hall Inc.
Orem, D. E. (1991). Nursing Concepts of Practice. (4th ed.). St. Louise: Mosby Year Book.
Pender, N. J. et al. (2006). Health Promotion in Nursing Practice5th (ed). New Jersey: Pearson Education, Inc.
Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis (3rded.). New York: Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.