การพัฒนารูปแบบหลักสูตรฝึกอบรมตามทฤษฎีการเรียนรู้ สู่การเปลี่ยนแปลงเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการเป็นที่ปรึกษา โครงงานคุณธรรมของพระสอนศีลธรรม

ผู้แต่ง

  • พระมหานพดล สีทอง มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • สมบัติ คชสิทธิ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • กันต์ฤทัย คลังพหล มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

รูปแบบหลักสูตรฝึกอบรม, การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง, สมรรถนะการเป็นที่ปรึกษาโครงงานคุณธรรม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบหลักสูตรฝึกอบรมตามทฤษฎี             การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการเป็นที่ปรึกษาโครงงานคุณธรรมของพระสอนศีลธรรม และ 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบหลักสูตรฝึกอบรมตามทฤษฎีการเรียนรู้สู่ การเปลี่ยนแปลงเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการเป็นที่ปรึกษาโครงงานคุณธรรมของพระสอนศีลธรรม การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่าง คือ พระสอนศีลธรรมที่ปฏิบัติการสอนในระดับมัธยมศึกษา จำนวน 10 รูป ได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ รูปแบบหลักสูตรฝึกอบรม แบบประเมินสมรรถนะการเป็นที่ปรึกษาโครงงานคุณธรรม แบบสรุปการเรียนรู้ แบบบันทึกสะท้อนคิด แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมการให้คำปรึกษาของพระสอนศีลธรรม และแบบสอบถามความคิดเห็น สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบหลักสูตรฝึกอบรมตามทฤษฎีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการเป็นที่ปรึกษาโครงงานคุณธรรมของพระสอนศีลธรรม มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) โครงสร้างหลักสูตร                 4) กระบวนการฝึกอบรม ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 4.1) สร้างศรัทธา 4.2) พัฒนาปัญญา 4.3) ปฏิบัติการชี้แนะ และ 4.4) สะท้อนการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง 5) สื่อการฝึกอบรม และ 6) การวัดและประเมินผล ผลการทดลองใช้รูปแบบหลักสูตรฝึกอบรม พบว่า 1) พระสอนศีลธรรมมีสมรรถนะการเป็นที่ปรึกษาโครงงานคุณธรรมหลังการใช้รูปแบบหลักสูตรฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) พระสอนศีลธรรมที่เข้ารับ                   การฝึกอบรมได้คะแนนความรู้ความเข้าใจจากการจัดกิจกรรมทั้ง 7 หน่วยการเรียนรู้โดยผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 3) ความคิดเห็นของพระสอนศีลธรรมต่อรูปแบบหลักสูตรฝึกอบรมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\bar{x}= 4.52)

References

ชมนาด พรมมิจิตร. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพโครงงานวิทยาศาสตร์ของสถาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วารสารรมยสาร, 16(3), 234-235.

ชูชัย สมิทธิไกร. (2556). การฝึกอบรมบุคลากรในองค์กร. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทัศนี ทิพย์คงคา. (2558). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูเพื่อบูรณาการจริยธรรมในการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. วารสารบริหารการศึกษา มศว, 12(22), 1-11.

ทิพวรรณ เดชสงค์. (2561). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจบทบาทการเป็นครูที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์ของนิสิตนักศึกษาครูวิทยาศาสตร์. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์, 19(1), 59-60.

ธารทิพย์ นรังศิยา. (2559). การวิเคราะห์โมเดลเชิงสาเหตุของความสำเร็จของการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยงครู. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 11(2), 235-250.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

พระเอนก บุญโยประการ. (2561). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการสอนสำหรับพระสอนศีลธรรมระดับชั้นประถมศึกษาตามโครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนของกระทรวงศึกษาธิการ. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม, 14(1), 237-246.

พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2562). สร้างนวัตกรรมบนฐานการวิจัย PLC & Logbook. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภูมิพงศ์ จอมหงส์พิพัฒน์. (2564). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(7), 334-349.

วิจารณ์ พานิช. (2558). เรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง Transformative Learning. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.

วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุฒ พัฒผล. (2562). การโค้ชเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียน. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.

ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน). (2562). 10 ปรากฏการณ์ คุณธรรมจริยธรรมในสังคมไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: 1924 สตูดิโอ จำกัด.

สำนักงานพระสอนศีลธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2563). รายงานผลการนิเทศติดตามการดำเนินงานโครงการพัฒนาโครงงานคุณธรรมส่งเสริมอัตลักษณ์วิถี

พุทธ. เรียกใช้เมื่อ 20 มกราคม 2563 จาก https://www.krupra.net/v3 /index.php?url=download&type_do=2

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา. (2562). บันทึกความสำเร็จโครงงานคุณธรรมเยาวชนไทย ทำดี ถวายในหลวง ปีที่ 13. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สื่อและสิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอม.

หฤทัย อนุสสรราชกิจ และญาณิศา บุญพิมพ์. (2562). การพัฒนากระบวนการผลิตครูในเขตภาคตะวันออกโดยใช้แนวคิดจิตตปัญญาศึกษาและการชี้แนะ. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 47(4), 487-505.

อิสรี สะอีดี. (2562). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของครูพลศึกษาในศตวรรษที่ 21 โดยประยุกต์ใช้การอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ร่วมกับการสอนแบบเสริมศักยภาพ. ใน ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Knight, J. (2009). Coaching. Journal of Staff Development, 30(1), 18-22.

Mezirow, J. (1997). Transformative learning: Theory to practice. New Directions for Adult and Continuing Education, 74(Summer), 5-12.

Onchwari, G. & keengwe, J. (2008). The impact of a mentoring-coaching model on teacher professional development. Early Childhood Education Journal, 36(1), 19-24.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

05/31/2022

How to Cite

สีทอง พ. ., คชสิทธิ์ ส. ., & คลังพหล ก. . (2022). การพัฒนารูปแบบหลักสูตรฝึกอบรมตามทฤษฎีการเรียนรู้ สู่การเปลี่ยนแปลงเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการเป็นที่ปรึกษา โครงงานคุณธรรมของพระสอนศีลธรรม . วารสารมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 7(5), 261–277. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/view/257585

ฉบับ

บท

บทความวิจัย