ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิจัยของนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • วนิดา หอมจันทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • สุชาติ หอมจันทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • วัชราภรณ์ เรืองสิทธิ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

คำสำคัญ:

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ปัจจัย, นักศึกษาครู

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิจัยของนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบเชิงปริมาณ ประชากรคือนักศึกษาครู ระดับปริญญาตรี ภาคปกติ ชั้นปีที่ 3 และ 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ปีการศึกษา 2564 จำนวน 1,582 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาครูมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ จำนวน 204 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม มีตัวแปรเชิงสาเหตุ จำนวน 5 ตัว ได้แก่ คุณภาพของการสอน การรับรู้การใช้เทคโนโลยี เจตคติต่อ วิชาวิจัย แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และความตั้งใจเรียน ส่วนตัวแปรตาม คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิจัย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบวัดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เส้นทาง (Path Analysis) ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป LISREL 8.80 ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิจัย คือ ความตั้งใจเรียน มีค่าอิทธิพลเท่ากับ 0.26 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิจัย ได้แก่ เจตคติต่อวิชาวิจัย คุณภาพของการสอน และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ มีอิทธิพลเท่ากับ 0.87, 0.54 และ 0.96 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ตามลำดับ และปัจจัยที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้แก่ การรับรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเท่ากับ 0.30 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ตัวแปรเชิงสาเหตุทั้งหมดร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิจัย ได้ร้อยละ 84.00

References

จุฑามาศ ศรีจำนงค์. (2561). การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาตนเองในการทำวิจัยในชั้นเรียนของนักศึกษาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 12(2), 31-42.

ทิพวัลย์ เรืองเดชสิริพงศ์. (2561). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการศึกษาระดับปริญญาตรีของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. ใน วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล: สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประกาศคณะกรรมการคุรุสภาเกี่ยวกับมาตรฐานความรู้และประสบการวิชาชีพครู. (2563). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 137 ตอนที่ 109 ง หน้า 10 (7 พฤษภาคม).

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2546). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

ปัญจา ชูช่วย. (2551). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวัดผลและวิจัยการศึกษา. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

พิมพ์ปวีณ์ สุวรรณโณ และปราณี หลําเบ็ญสะ. (2562). ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านด้วยการเรียนรู้ที่ใช้การวิจัยเป็นฐานของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 14(1), 1-10.

พูลพงศ์ สุขสว่าง. (2560). โมเดลสมการโครงสร้าง. ชลบุรี: เอ.พี. บลูปริ้นท์.

ภักดิ์วิภา สมเพ็ง. (2558). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1. วารสารวิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี, 4(2), 31-43.

วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2542). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพมหานคร: เลิฟแอนด์เลิฟเพรส.

สุชาติ หอมจันทร์ และคณะ. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิจัยการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต, 18(1), 93-102.

อภิภา ปรัชญพฤทธิ์. (2560). การพัฒนารูปแบบการผลิตครูเพื่อรองรับยุค 4.0. วารสารร่มพฤกษ์มหาวิทยาลัยเกริก, 35(3), 114-136.

Anastasi, A. (1970). Psychological Testing. New York: McGraw-Hill,Inc.

Bloom, B. S. (1976). Human Characteristics and School Leaning. New York: McGraw z Hill Book.

Chu, A. Z-C. & Chu, R. J-C. (2011). The intranet’s role in newcomer socialization in hotel industry in Taiwan-technology acceptance model analysis [Electronics version]. The International Journal of Human Resource Management, 22(5), 1163-1179.

Hair, J. F. et al. (2010). Multivariate data analysis: A global perspectives. Upper Saddle River, New Jersey: Pearson Education, International.

McClelland, D. C. (1953). Human Motivation. New York: Cambridge Univerity Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

05/31/2022

How to Cite

หอมจันทร์ ว., หอมจันทร์ ส., & เรืองสิทธิ์ ว. (2022). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิจัยของนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. วารสารมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 7(5), 384–397. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/view/258788

ฉบับ

บท

บทความวิจัย