ผลกระทบที่เกิดจากการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครอง ข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

ผู้แต่ง

  • ภูมิ มูลศิลป์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • พรเพ็ญ ไตรพงษ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • พิชชา ใจสมคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

ผลกระทบ, การบังคับใช้กฎหมาย, พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาหลักการทางกฎหมายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวในต่างประเทศ 2) ศึกษาผลกระทบในมิติทางสังคมและเศรษฐกิจที่เกิดจากการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 และ 3) จัดทำข้อเสนอแนะต่อการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีกระบวนการเก็บข้อมูลแบบพหุวิธีเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า 1) กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมีหลักการเกี่ยวกับสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล สร้างมาตรฐานการรักษาข้อมูลส่วนบุคคล และนำไปใช้ให้ถูกวัตถุประสงค์ตามคำยินยอมที่ได้รับอนุญาต สหภาพยุโรปมี The General Data Protection Regulation (GDPR) ส่งผลกระทบต่อภาระต้นทุนดำเนินการของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม สหรัฐอเมริกามีกฎหมายคุ้มครองข้อมูลทั้งกฎหมายกลางและระดับมลรัฐทำให้การบังคับใช้กฎหมายมีความแตกต่างกัน สิงคโปร์ให้ความสำคัญกับการรักษาความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าทำให้เกิดความไว้ใจจากภาคธุรกิจ ส่วนออสเตรเลียมีคำจำกัดความ “ข้อมูลส่วนบุคคล” ที่ยืดหยุ่นทำให้สามารถเปลี่ยนแปลงวิธีการจัดการข้อมูลเมื่อเวลาผ่านไป 2) ในกรณีของประเทศไทย ผลกระทบด้านสังคมพบว่า ทุกภาคส่วนยังขาดความรู้ความเข้าใจ รวมทั้งยังไม่มีแนวปฏิบัติที่ชัดเจนจึงอาจเกิดปัญหาภายหลังการบังคับใช้ ผลกระทบด้านเศรษฐกิจพบว่า กฎหมายดังกล่าวส่งผลต่อภาระและต้นทุนของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมซึ่งอาจมีปัญหาต่อความน่าเชื่อถือ การตลาดและการค้าระหว่างประเทศ 3) ควรส่งเสริมความรู้ความเข้าใจถึงแนวทางการดำเนินงานตามกฎหมายแบบเชิงรุกเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการบังคับใช้กฎหมายฉบับดังกล่าวให้เกิดประสิทธิภาพ

References

กิตติพงศ์ กมลธรรมวงศ์. (2563). ประสบการณ์ของกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์: บทเรียนสำหรับประเทศไทย. วารสารสังคมวิจัยและพัฒนา, 2(2), 7-29.

คณาธิป ทองรวีวงศ์. (2564). ผลกระทบทางลบอันเกิดจากกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรปและพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562. วารสารรัชต์ภาคย์, 15(38), 42-57.

จีระ พุ่มพวง และราณี อินทศร. (2556). แนวคิดใหม่เกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเอกชน. เรียกใช้เมื่อ 20 ตุลาคม 2564 จาก https://www.krisdika.go.th/data/civil_ procedure_law_ division/02.pdf

ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล. (2565). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 139 ตอนพิเศษ 12 ง. หน้า 1-2 (18 มกราคม 2565).

วิทวัส มงคลนวเสถียร. (2562). การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล. เรียกใช้เมื่อ 18 ตุลาคม 2564 จาก https://www.gotoknow.org/posts/661602

สินีนาถ ภะวัง. (2563). กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล: การเตรียมความพร้อม การตระหนักรู้และแนว ทางการพัฒนา. เรียกใช้เมื่อ 24 พฤศจิกายน 2564 จาก https://www.krisdika. go.th/data/activity/act13702.pdf

สุนทรีย์ ส่งเสริม. (2564). พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562. เรียกใช้เมื่อ 24 พฤศจิกายน 2564 จาก https://bit.ly/32mWnxR

อัญธิกา ณ พิบูลย์. (2563). ความท้าทายทางกฎหมายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในบริบทของเมืองอัจฉริยะ (SMART CITY). วารสารบัณฑิตศึกษานิติศาสตร์, 2(13), 271-294.

เอเชีย ดาต้า เดสตรัคชั่น. (2562). สาระสำคัญของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562. เรียกใช้เมื่อ 15 มิถุนายน 2565 จาก https://asiadatadestruction.com /th/pdpa

Buckley, G. et al. (2021). “It may be a pain in the backside but…” Insight into the impact of GDPR on business after three years. Retrieved October 28, 2020, from https://arxiv.org/pdf/2110.11905.pdf

Cavey, S. (2020). Australia Data Protection Law: What is It. Ground Labs. Retrieved October 24, 2020, from https://www.groundlabs.com/blog/australia-data-protection

European Commission. (2021). Data protection in the EU. Retrieved October 16, 2021, from https://ec.europa.eu/info/law/law-topic/data-protection/data-protection-eu_en

European Parliament. (2020). The impact of GDPR on artificial intelligence. Brussels: Scientific Foresight Unit, EPRS.

Gal, M. S. & Aviv, O. (2020). The Competitive Effects of the GDPR. Journal of competition lawand economics, 16(3), 349-391.

Irwin, L. (2021). How much does GDPR compliance cost in 2021. Retrieved November 26, 2021, from https://www.itgovernance.eu/blog/en/how-much-does-gdpr-compliance-cost-in-2020

Kin, L. C. (2021). Singapore: Privacy. Retrieved December 16, 2021, from https://www.lexology.com/library/detail.aspx?g=e59ea167-8457-48cd-bb77-b5160c0287c0

McQuinn, A. & Castro D. (2019). The Costs of an Unnecessarily Stringent Federal Data Privacy Law. Retrieved November 26, 2021, from https://itif.org/publications /2019/08/05/costs-unnecessarily-stringent-federal-data-privacy-law

Downloads

เผยแพร่แล้ว

06/30/2022

How to Cite

มูลศิลป์ ภ. ., ไตรพงษ์ พ. ., & ใจสมคม พ. . (2022). ผลกระทบที่เกิดจากการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครอง ข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 . วารสารมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 7(6), 556–574. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/view/259114

ฉบับ

บท

บทความวิจัย